นพดล มาตรศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นพดล มาตรศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กันยายน พ.ศ. 2509 (57 ปี)
อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา (พ.ค.2551—ปัจจุบัน)
คู่สมรสวาสนา มาตรศรี

นพดล มาตรศรี เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 2 สมัย ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยพัฒนา

ประวัติ[แก้]

นพดล มาตรศรี (ชื่อเล่น กิมเลี้ยง) เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอู่ทอง ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศิลปศาสตร์) และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (นโยบายสาธารณะ) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา[1]

นพดล สมรสกับนางวาสนา มาตรศรี[2]

การทำงาน[แก้]

นพดล มาตรศรี เคยเป็นผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด[3] และเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี นายนพดล เป็นนักการเมืองที่เป็นคนสนิทของ บรรหาร ศิลปอาชา[4]

กระทั่งในปี 2551 พรรคชาติไทยถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค จึงต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี นายนพดลจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นสมัยที่ 2 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 4 ของพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 3

นายนพดล ได้รับเลือกในการประชุมใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561[5] เป็นกรรมการบริหารพรรค

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สภาผู้แทนราษฎร
  2. ชื่นมื่น! 'กรวิทย์'หอบสินสอด3ล้านบาท สู่ขอลูกสาวส.ส.ดังเมืองสุพรรณบุรี
  3. "บิ๊กท็อป" ร่วมอวยพรวันคล้ายวันเกิด "ส.ส.นพดล"
  4. หามนพดลส.ส.สุพรรณคนสนิทเติ้งส่งรพ.
  5. ตามคาด'กัญจนา'หัวหน้าพรรคชทพ.'ประภัตร'นั่งเลขาฯ
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔