นกตะขาบทุ่ง
![]() |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
|
นกตะขาบทุ่ง | |
---|---|
![]() |
|
นกตะขาบทุ่ง (ชนิดย่อย benghalensis) ที่พบในประเทศอินเดีย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Coraciiformes |
วงศ์: | Coraciidae |
สกุล: | Coracias |
สปีชีส์: | C. benghalensis |
ชื่อทวินาม | |
Coracias benghalensis (Linnaeus, 1758) |
|
![]() |
|
ชื่อพ้อง | |
|
นกตะขาบทุ่ง หรือ นกขาบ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Coracias benghalensis; อังกฤษ: Indian roller, Blue jay) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) ที่พบในประเทศไทย ซึ่งอีกชนิดคือ นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง[2]
เนื้อหา
ลักษณะ[แก้]
เป็นนกขนาดกลาง มีขนาดลำตัวประมาณ 33 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน รูปร่างไม่เพรียวลม ลำตัวตั้งตรง คอสั้น หัวโต ปากสีดำด้านยาวปานกลาง สันปากบนโค้ง จะงอยเป็นตะของุ้ม ปีกกว้างแต่ยาวและปลายปีกแหลม ปลายปีกมีขน11เส้น ขนปลายปีกเส้นที่ 11 สั้นกว่าขนเส้นอื่นๆจึงเห็นได้ชัดเพียง 10 เส้น ปลายหางเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือเว้าเล็กน้อย หลายชนิดมีหางแฉกลึก และบางชนิดมีหางแบบปลายแหมขึ้นอยู่กับชนิด ขาสั้น นิ้วเท้าสั้นและไม่แข็งแรง เล็บโค้ง นิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว นิ้วที่ 2 และนิ้วที่ 3 เชื่อมติดกันตรงโคนนิ้ว เรียกเท้าที่มีลักษณะดังกล่าวว่า Syndactyly foot ลักษณะนิ้วมีความคล้ายคลึงกับนกกะรางหัวขวาน ในวงศ์ Upupidae
สีสัน[แก้]
ปากสีดำด้าน ม่านตาสีน้าตาลแกมเขียว ตัวผู้มีคิ้วยาวสีขาวลายดำละเอียด ตัวเมียมีคิ้วสั้นกว่าตัวผู้เล็กน้อย [3]ขนหางสีฟ้า ปลายหางสีน้ำเงินเข้ม ขนปีกมีหลายสีเหลื่อมกัน คือ ขนคลุมหัวปีกมีสีฟ้าอมเทา ขนกลางปีกและขนปลายปีกสีน้ำเงินที่โคนขนมีสีฟ้าสด คางและใต้คอสีม่วงแดงเข้มและมีขีดสีฟ้าเด่นชัด อกและท้องตอนบนสีน้ำตาลแกมม่วง ท้องตอนล่างจนถึงขนคลุมใต้โคนหางเป็นสีฟ้าสดแกมเขียว ใต้หางสีฟ้าสดและมีแถบสีน้ำเงินตอนปลายหาง ขาและนิ้วเท้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง เล็บสีดำ
นกวัยอ่อนหัวจะมีสีเขียวและหลังคอจะมีสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย หลังคอมีสีหม่นกว่า คอสีเนื้อแกมม่วง ท้องสีฟ้าอมเขียว ขนคลุมปีกสีน้ำตาล
พฤติกรรมและการขยายพันธุ์[แก้]
ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว เหยื่อของนกตะขาบทุ่งได้แก่ ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงหางหนีบ ผีเสื้อกลางคืน บุ้ง ต่อ ด้วง แมลงปอและแมงมุม และสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวเล็กๆ เช่น กิ้งก่า จิ้งเหลน คางคก งู หนู หนูผีและลูกนก นกตะขาบทุ่งนับว่าเป็นนกล่าเหยื่อที่พิเศษกว่านกล่าเหยื่ออื่นๆ เช่น นกอีเสือ นกกระเต็น หรือนกแซงแซว เพราะมันสามารถล่าเหยื่อที่นกชนิดอื่นๆไม่กล้าแตะต้องเนื่องจากมีพิษได้ อย่างเช่น ตั๊กแตนหรือผีเสื้อกลางคืนที่มีสีเตือนภัย แมงป่อง ตะขาบหรืองูพิษเป็นต้น นกตะขาบทุ่งจะล่าเหยื่อตั้งแต่ตอนเช้าจนกระทั่งพลบค่ำ หรือแม้กระทั่งในเวลากลางคืน นกตะขาบทุ่งเป็นนกที่หวงถิ่นมาก ถ้าหากมีนกตัวอื่นบุกรุกเข้ามา มันจะบินขึ้นไปบนเหนือยอดไม้ แล้วบินม้วนตัวลงมายังผู้บุกรุกอย่างรวดเร็วเพื่อขับไล่ โดยใช้เวลาราว 30 วินาที บางครั้งอาจบินผาดโผนพลิกแพลงราว 48 วินาที และจะร้องเสียงดัง "ค๊าบ แค๊บ ค๊าบ" ไปเรื่อยๆจนถึง 120 ครั้ง และเพราะเหตุที่นกตะขาบทุ่งมีความสามารถในการบินม้วนตัวกลางอากาศได้ ชาวตะวันตกจึงเรียกมันว่า "Roller" ซึ่งแปลว่า "ลูกกลิ้ง" หรือ"ผู้กลิ้งม้วนตัว"[4]นกตะขาบทุ่งผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ทำรังบนต้นไม้บริเวณโพรงไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในบางครั้งจะแย่งรัง หรือโพรงเก่าของนกอื่นเพื่อวางไข่ ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 2-5 ฟอง[5]
แหล่งอาศัย[แก้]
พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน อินโดจีน และในประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางตอนใต้ของภาคใต้ พบได้ที่ความสูงมากว่าหรือประมาณ 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทย พบในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าไผ่ ป่าฟื้นตัวที่ค่อนข้างทึบ มักพบที่ความสูงต่ำกว่า 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่ระดับ 1,500 เมตรพบได้บ้างจนถึงหายาก พบที่เทือกเขาของภาคตะวันออก เทือกเขาที่กั้นภาคกลางตอนบนกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือด้านตะวันออก และผืนป่าตะวันตกตอนบน[6]
การแพร่กระจาย[แก้]
แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่ของเขตสัตว์ภูมิศาสตร์ 3 เขต คือ เขตโอเรียลตัล (เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เขตพาลีอาร์กติก (เอเชียตะวันออก) และเขตออสเตรเลเชียน (ออสเตรเลีย และหมู่เกาะใกล้เคียง)
ชนิดย่อย[แก้]
พบในไทย 2 ชนิดย่อย ได้แก่
1. นกตะขาบดงพันธุ์ไทย (Eurystomus orientalis orientalis) นกประจำถิ่น พบค่อนข้างบ่อย ทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง และส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. นกตะขาบดงพันธุ์จีน (Eurystomus orientalis abundus) นกอพยพย้ายถิ่นนอกฤดูผสมพันธุ์จากประเทศจีน พบน้อย ในภาคกลางและภาคใต้ คล้ายคลึงกับนกตะขาบดงพันธุ์ไทย ยกเว้นขนคลุมขนปลายปีกและขนกลางปีกสีฟ้า ไม่ใช่สีดำ และสีสันโดยรวมจะจางกว่านกตะขาบดงพันธุ์ไทย[7]
สถานภาพ[แก้]
เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยมากทั่วประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ BirdLife International (2008). Coracias benghalensis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 04 July 2009.
- ↑ นกตะขาบทุ่ง, ทะเลไทย.คอม
- ↑ ข้อมูลเชิงชีววิทยา,thaibiodiversity.org
- ↑ นกตะขาบทุ่ง, birdsofthailand.net
- ↑ นกตะขาบทุ่ง (Indian Roller), chiangmaizoo.com
- ↑ แหล่งอาศัย, thaibiodiversity.org
- ↑ นกตะขาบทุ่ง, birdsofthailand.net
- ↑ นกตะขาบทุ่ง (สถานภาพ), chiangmaizoo.com
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Coracias benghalensis |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- รูปนกตะขาบทุ่ง
- เสียงร้องของนกตะขาบทุ่ง
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Coracias benghalensis จากวิกิสปีชีส์