เหตุจลาจลสโตนวอลล์
เหตุจลาจลสโตนวอลล์ | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ เหตุการณ์ที่นำไปสู่ ขบวนการปลดปล่อยเกย์ | |||
วันที่ | 28 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1969[1][2][3] | ||
สถานที่ | สโตนวอลล์อินน์ 40°44′01.67″N 74°00′07.56″W / 40.7337972°N 74.0021000°W | ||
เป้าหมาย | การปลดปล่อยชาวเกย์ และ สิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศในสหรัฐ | ||
วิธีการ | จลาจล เดินขบวน | ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
จำนวน | |||
|
เหตุจลาจลสโตนวอลล์ (อังกฤษ: Stonewall riots) หรือชื่ออื่น ๆ การก่อการกำเริบสโตนวอลล์ (อังกฤษ: Stonewall uprising) หรือ กบฏสโตนวอลล์ (อังกฤษ: Stonewall rebellion) เป็นกลุ่มเหตุการณ์ประท้วงรุนแรงโดยสมาชิกของชุมชนเกย์ (บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ)[note 1] เพื่อเป็นการตอบกลับการจู่โจมของตำรวจที่เริ่มต้นขึ้นในเช้าตรู่วันที่ 28 มิถุนายน 1969 ที่สโตนวอลล์อินน์ ในย่านเกรนิชวิลเลจ แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก เหล่าผู้คนของสโตนวอลล์, บาร์เกย์และเลสเบียนแห่งอื่นในวิลเลจ และผู้คนบนถนนในย่านได้ออกมาต่อสู้กลับเมื่อตำรวจเริ่มใช้ความรุนแรง การจลาจลนั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดที่นำไปสู่ขบวนการปลดปล่อยเกย์[4][5][6][7] และเป็นการต่อสู้ในยุคใหม่เพื่อสิทธิบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสหรัฐ[8][9]
ชาวเกย์อเมริกันในทศวรรษ 1950s และ 1960s เผชิญหน้ากับระบบกฎหมายที่ต่อต้านเกย์[note 2][10] กลุ่มคนรักร่วมเพศแรก ๆ ในสหรัฐเสาะหาการพิสูจน์ว่าชาวเกย์สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้ และสนใจในการศึกษาแบบไม่รุนแรง (non-confrontational) สำหรับประเด็นการรักร่วมเพศและการรักเพศตรงข้ามให้เหมือน ๆ กัน ในช่วงปลายทศวรรษ 1960s ได้มีการเคลื่อนไหวทางสังคม/การเมืองที่เกิดขึ้นซึ่งออกไปในทางการถกเถียง เช่น ขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมือง, วัฒนธรรมต้านขนบ และขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามของสหรัฐ อิทธิพลเหล่านี้ร่วมไปกับสภาพแวดล้อมเสรีนิยมของเกรนิชวิลเลจได้เป็นเหมือนตัวเร่งเร้าให้เกิดการจลาจลสโตนวอลล์
มีองค์กรต่าง ๆ น้อยมากที่เปิดต้อนรับชาวเกย์ในช่วงทศวรรษ 1950s และ 1960s ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่เป็นบาร์ ถึงแม้เจ้าของบาร์เหล่านั้นแทบจะไม่ใช่ชาวเกย์ก็ตาม ในขณะนั้น สโตนวอลล์อินน์มีเจ้าของเป็นมาเฟียชาวอเมริกัน[13][14][15] สโตนวอลล์อินน์เป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้คนที่ยากจนและชายของที่สุดของชุมชนเกย์: บุตช์เลสเบียน, ชายหนุ่มออกสาว, แดรกควีน, โสเภณีชาย, บุคคลข้ามเพศ และ เยาวชนไร้บ้าน บาร์เกย์ต่าง ๆ ต้องเผชิญกับบุกของตำรวจ (Police raids) เป็นกิจวัตรในทศวรรษ 1960s แต่เจ้าหน้าที่เสียการควบคุมอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ที่สโตนวอลล์อินน์ ความตึงเครียดระหว่างตำรวจนครนิวยอร์กกับผู้อยู่อาศัยชาวเกย์ในเกรนิชวิลเลจได้แตกออกและนำไปสู่การประท้วงอีกในเย็นวันถัดมา และอีกครั้งในหลายคืนถัดมา ในอาทิตย์ถัด ๆ มา ชาววิลเลจได้จัดกลุ่มกันอย่างรวดเร็วขึ้นเป็นกลุ่มนักกิจกรรมเพื่อมุ่งเน้นไปยังการสร้างสถานที่สำหรับชาวเกย์และเลสเบียนได้สามารถเปิดเผยเกี่ยวกับเพศวิถีของตนโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกจับ
หลังเหตุจลาจล ชาวเกย์และเลสเบียนในนิวยอร์กซิตีได้เผชิญกับอุปสรรคทางเพศ เชื้อชาติ ชนชั้น และช่วงอายุ ในการรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนที่เหนียวแน่น ภายในระยะเวลาหกเดือน องค์กรนักิจกรรมเกย์สองแห่งได้ก่อตั้งขึ้นในนิวยอร์กโดยมีมุ่งยุทธวิธีที่รุนแรง (confrontational tactics) และมีหนังสือพิมพ์สามเจ้าที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สิทธิของชาวเกย์และเลสเบียน หนึ่งปีหลังเหตุจลาจล ไอ้มีการจัดไพรด์พาเรดครั้งแรกขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน 1970 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ ในนิวยอร์กซิตี, ลอสแอนเจลิส และซานฟรานซิสโก[16] ในปี 2016 ได้มีการตั้งอนุสรณ์สถานแห่งชาติสโตนวอลล์ขึ้นที่บริเวณเกิดเหตุจลาจล[17]
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2019 อธิบดีกรมตำรวจนิวยอร์กซิตี เจมส์ พี. โอนีลล์ ได้แถลงรายงานขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของกรมตำรวจนิวยอร์กสำหรับการกระทำของเจ้าหน้าที่ในเหตุจลาจลสโตนวอลล์เมื่อปี 1969[18][19]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Grudo, Gideon (June 15, 2019). "The Stonewall Riots: What Really Happened, What Didn't, and What Became Myth". The Daily Beast.
- ↑ "New-York Historical Society commerates 50th anniversary of Stonewall Uprising with special exhibitions and programs". New-York Historical Society. April 23, 2019.
- ↑ "Movies Under the Stars: Stonewall Uprising". New York City Department of Parks and Recreation. June 26, 2019.
- ↑ Julia Goicichea (August 16, 2017). "Why New York City Is a Major Destination for LGBT Travelers". The Culture Trip. สืบค้นเมื่อ February 2, 2019.
- ↑ "Brief History of the Gay and Lesbian Rights Movement in the U.S". University of Kentucky. สืบค้นเมื่อ September 2, 2017.
- ↑ Nell Frizzell (June 28, 2013). "Feature: How the Stonewall riots started the LGBT rights movement". Pink News UK. สืบค้นเมื่อ August 19, 2017.
- ↑ "Stonewall riots". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ August 19, 2017.
- ↑ U.S. National Park Service (October 17, 2016). "Civil Rights at Stonewall National Monument". Department of the Interior. สืบค้นเมื่อ August 6, 2017.
- ↑ "Obama inaugural speech references Stonewall gay-rights riots". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ May 30, 2013. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
- ↑ 10.0 10.1 Carter 2004, p. 15.
- ↑ Katz 1976, pp. 81–197.
- ↑ Adam 1987, p. 60.
- ↑ Duberman 1993, p. 183.
- ↑ Carter 2004, p. 79–83.
- ↑ "Stonewall Uprising: The Year That Changed America - Why Did the Mafia Own the Bar?". American Experience. PBS. April 2011. สืบค้นเมื่อ June 5, 2019.
- ↑ "Heritage | 1970 Christopher Street Liberation Day Gay-In, San Francisco". SF Pride. June 28, 1970. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ October 22, 2014. สืบค้นเมื่อ June 28, 2014.
- ↑ Nakamura, David; Eilperin, Juliet (June 24, 2016). "With Stonewall, Obama designates first national monument to gay rights movement". Washington Post. สืบค้นเมื่อ June 24, 2016.
- ↑ Gold, Michael; Norman, Derek (June 6, 2019). "Stonewall Riot Apology: Police Actions Were 'Wrong,' Commissioner Admits". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
- ↑ "New York City Police Finally Apologize for Stonewall Raids". advocate.com. June 6, 2019. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน หรือไม่มีการปิด </ref>