ท่าอากาศยานนานาชาติฮูเซ็น ซัซตราเนอการา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติฮูเซ็น ซัซตราเนอการา
  • IATA: BDO
  • ICAO: WICC
    BDOตั้งอยู่ในเกาะชวา
    BDO
    BDO
    ที่ตั้งของท่าอากาศยานบนเกาะชวา
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ / การทหาร
เจ้าของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย
ผู้ดำเนินงานอังกาซาปูรา 2
พื้นที่บริการชวาตะวันตก (ไม่รวมพื้นที่จาโบเดตาเบิก)
สถานที่ตั้งบันดุง, ชวาตะวันตก, อินโดนีเซีย
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล742 เมตร / 2,436 ฟุต
พิกัด06°54′02″S 107°34′35″E / 6.90056°S 107.57639°E / -6.90056; 107.57639
เว็บไซต์http://www.huseinsastranegara-airport.co.id/
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
11/29 2,244 7,361 ยางมะตอย
สถิติ (2013)
จำนวนผู้โดยสาร2,650,687

ท่าอากาศยานนานาชาติฮูเซ็น ซัซตราเนอการา (อินโดนีเซีย: Bandar Udara Internasional Husein Sastranegara) (IATA: BDOICAO: WICC)[1] เป็นสนามบินแห่งหนึ่งในเมืองบันดุง จังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมือง 5 กิโลเมตร ห่างจากสถานีรถไฟกลาง 2.4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 145 เฮกตาร์ (358 เอเคอร์) เป็นหนึ่งในสนามบินนานาชาติที่เติบโตเร็วมาก ๆ

สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตเมืองบันดุง และล้อมรอบด้วยภูเขา ดังนั้นเครื่องบินจึงลงจอดในลักษณะที่ไม่เหมือนใคร สนามบินสามารถรองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ320 และโบอิง 737 ได้ด้วย[2] ในปี ค.ศ. 2016 ได้เปิดใช้งานส่วนต่อขยายอาคารใหม่ ทำให้มีผู้โดยสารถึง 3.4 ล้านคน รองรับด้วยเนื้อที่ 170,000 ตารางฟุต[3]

สนามบินแห่งนี้จะเป็น 1 ใน 2 สนามบินที่ให้บริการในเขตเมืองบันดุงและปริมณฑล อีกแห่งหนึ่งคือท่าอากาศยานนานาชาติบันดุง มาจาเลิงกา มีแผนทำให้เป็นฐานการบินหลักของสายการบินการูดาอินโดนีเซีย เช่นเดียวกันกับไลอ้อนแอร์และอินโดนีเซียแอร์เอเชีย[4]

อาคารผู้โดยสารและสิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

มีอาคารผู้โดยสาร 1 แห่ง รองรับทั้งเที่ยวบินภายในและระหว่างประเทศ มีเนื้อที่ 2,411.85 ตารางเมตร (25,961 ตารางฟุต) และมี 3 ชั้น นอกจากนี้ กำลังสร้างก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่สอง (สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมด) ซึ่งเมื่อมีครบสองอาคาร จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 3 ล้านคนต่อปี จากเดิมมีอาคารเดียวรองรับได้เพียง 1 ล้านคนต่อปี[5] สิ่งอำนวยความสะดวก มีห้องรับรองผู้โดยสาร 2 แห่ง, ไวไฟ, โทรทัศน์, ภัตตาคาร, ร้านค้า, เอทีเอ็ม

ทางด้านทิศเหนือของทางวิ่ง มีโรงเก็บเครื่องบิน นอกจากนี้ สนามบินยังติดตั้งระบบ PAPI (Precision Approach Path Indicator) และ VOR (VHF omnidirectional range) เพื่อช่วยให้เครื่องบินลงจอดในเวลากลางคืนได้

ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ผู้โดยสารระหว่างประเทศต้องเสียภาษี 75,000 รูปียะฮ์ ส่วนผู้โดยสารภายในประเทศ เสียภาษี 25,000 รูปียะฮ์[6]

อนาคต[แก้]

ท่าอากาศยานใหม่อีกแห่งหนึ่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติบันดุง มาจาเลิงกา ปัจจุบันกำลังก่อสร้าง อยู่ห่างจากบันดุงไปประมาณ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) กำหนดเปิดในปี ค.ศ. 2017 เพื่อใช้งานแทนท่าอากาศยานนานาชาติฮูเซ็น ซัซตราเนอการา

การเดินทางเข้า-ออกสนามบิน[แก้]

สนามบินอยู่สุดถนนปาจาจารัน มีรถแท็กซี่และรถโดยสารให้บริการ นอกจากนี้ยังมีรถรับ-ส่งไปยังโรงแรมในเขตเมืองบันดุงอีกด้วย สนามบินแห่งนี้มีที่จอดรถ สามารถจอดรถได้ถึง 100 คัน[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Great Circle Mapper: BDO / WICC – Bandung, Indonesia
  2. "Discover Bandung". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  3. "Nuansa Biru di Wajah Baru Bandara Husein Sastranegara Bandung". April 3, 2016.
  4. See: Indonesia AirAsia.
  5. "Perluasan Bandara Husein Sastranegara Ditargetkan Juli 2010", BisnisKeuangan.kompas.com, 26 January 2010.
  6. SK. DIREKSI:KEP.15.02 1 February 2009
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-07. สืบค้นเมื่อ 2016-04-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]