ท่อส่งจีน-พม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ท่อส่งจีน-พม่า หมายถึง ท่อส่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกเจาะพยูในอ่าวเบงกอล ประเทศพม่า กับคุนหมิงในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2552[1][2] ถึง 2556 (สำหรับท่อแก๊ส)[3][4][5] และปี 2557 (สำหรับท่อน้ำมัน)[6]

ท่อส่งน้ำมันมีความจุน้ำมันดิบ 12 ล้านตันต่อปี[7] ซึ่งจะช่วยให้จีนลดการน้ำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา และลดการสัญจรผ่านช่องแคบมะละกา[8] โดยจีนจะรับน้ำมันดิบไปแปรรูปเองในฉงชิ่ง มณฑลเสฉวนและมณฑลยูนนาน[9]

ด้านท่อส่งแก๊สธรรมชาติจะสามารถขนส่งแก๊สธรรมชาติจากบ่อนอกชายฝั่งไปยังประเทศจีนโดยมีความจุต่อปีที่คาดไว้ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร[10] โดยจะรับจากบ่อน้ำมันชเว (ในทะเลอันดามัน) เอ-1 และเอ-3[11] จีนจะเริ่มรับแก๊สธรรมชาติผ่านท่อดังกล่าวในเดือนเมษายน 2556[12]

คาดว่าโครงการนี้มีค่าใช้จ่าย 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. "China starts building Burma pipeline". Upstream Online. NHST Media Group. 2009-11-03. สืบค้นเมื่อ 2009-11-07.
  2. "China starts building Myanmar pipeline". Xinhua. Downstream Today. 2009-11-03. สืบค้นเมื่อ 2009-11-07.
  3. "Burma Gas Pipeline Complete but Cites China Delays". the irrawaddy. 2013-06-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.
  4. "BChina-Myanmar Gas Pipeline: Myanmar Once Again Getting A Bad Bargain In Chinese Investment". international business times. 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-14.
  5. Shin, Aung (27 October 2013). "Controversial pipeline now fully operational". The Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 31 October 2013.
  6. "China-Myanmar joint pipeline starts delivering gas". CCTV.com. 2014-06-08. สืบค้นเมื่อ 2014-11-11.
  7. Boot, William (2009-11-06). "Weekly Business Roundup (November 7, 2009). China Confirms its Plan to use Burma as a Mideast Oil Conduit". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 2009-11-07.
  8. Jenkins, Graeme (2008-01-16). "Burmese junta profits from Chinese pipeline". London: Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2008-07-20.
  9. "China To Build Refineries for Oil from Burma Pipeline". Downstream Today. 2009-06-25. สืบค้นเมื่อ 2009-07-18.
  10. "Construction of Sino-Myanmar O&G Pipelines to Begin in Sept". Downstream Today. 2009-06-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-18.
  11. "India and China Compete for Burma's Resources". World Politics Review. 2006-08-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-01. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21.
  12. "China May Start Receiving Myanmar Gas Through Pipeline in 2013". Bloomberg. 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2009-03-10.
  13. "China, Myanmar to Build $2.5 Billion Pipelines, Nikkei Says". Bloomberg. 2008-11-17. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.