ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลเกาะสาหร่าย

พิกัด: 6°39′56.9″N 99°51′00.0″E / 6.665806°N 99.850000°E / 6.665806; 99.850000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเกาะสาหร่าย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ko Sarai
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ประเทศไทย
จังหวัดสตูล
อำเภอเมืองสตูล
พื้นที่
 • ทั้งหมด218.08 ตร.กม. (84.20 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด5,290 คน
 • ความหนาแน่น24.25 คน/ตร.กม. (62.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 91000 (ยกเว้นเกาะที่อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา),
91110 (เฉพาะเกาะที่อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา)
รหัสภูมิศาสตร์910106
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
อบต.เกาะสาหร่ายตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล
อบต.เกาะสาหร่าย
อบต.เกาะสาหร่าย
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
พิกัด: 6°39′56.9″N 99°51′00.0″E / 6.665806°N 99.850000°E / 6.665806; 99.850000
ประเทศ ไทย
จังหวัดสตูล
อำเภอเมืองสตูล
พื้นที่
 • ทั้งหมด218.08 ตร.กม. (84.20 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด5,290 คน
 • ความหนาแน่น24.25 คน/ตร.กม. (62.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06910111
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 6 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล 91000
เว็บไซต์www.kohsarai.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เกาะสาหร่าย เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสตูลประมาณ 35 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดสตูลประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเกาะสำคัญ มีเกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ เกาะอาดัง-เกาะราวี และอีก 57 เกาะที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย

อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา
ชายหาดของเกาะตะรุเตา
หาดซันเซ็ต (หาดประมง)
เกาะอาดังยามพระอาทิตย์อัสดง
เกาะตะรุเตา
ทิวทัศน์ช่องแคบมะละกา ในเกาะตะรุเตา
ชายหาดและผาบริเวณเกาะตะรุเตา

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลเกาะสาหร่าย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ชายหาดฝั่งตะวันตกของเกาะตะรุเตา
ทิวทัศน์ของเกาะหลีเป๊ะ

ประวัติ

[แก้]

เกาะสาหร่าย เป็นตำบลที่อยู่ในความปกครองของอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ตำบลเกาะสาหร่าย เดิมชื่อว่า ตำบล “เกาะโตด" ต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น ตำบล “ยะระโตด" คำว่า "โตด" มาจากภาษามาลายู "ระโตด" หรือ "ลาโตด" แปลว่า สาหร่ายทะเล ต่อมาเกาะนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นตำบล “เกาะสาหร่าย" จนถึงปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าในอดีตคงมีสาหร่ายมากที่เกาะแห่งนี้ คาดว่าประมาณ 150-250 ปีก่อน กับมีผู้คนมาอยู่อาศัยที่เกาะนี้ มีนายเปน ปราบยาวา หรือขุนยะระราษฎ์ เป็นกำนันคนแรกของตำบล

ในอดีต ณ ที่เกาะนี้มีด่านตรวจศุลกากรเช่นเดียวกัน มีโรงงานกลั่นน้ำมันมะพร้าว โรงงานป่นปลา เปลือกหอยเป็นอาหารเป็ดไก่ โรงหมักปลา ทำปลาเค็ม หอยแห้ง มีบ้านเรือนคับคั่งกว่าเกาะอื่นๆ บริเวณใกล้เกาะนี้ มีเกาะเล็กๆอีกหลายเกาะ มีเกาะปุเลาออ เกาะยะระโตดนุ้ย ซึ่งแต่ละเกาะเต็มไปด้วยสวนมะพร้าวอันยาวเหยียด สุดลูกตาเช่นเดียวกับเกาะสาหร่าย ที่บ้านหมู่ 6 ตำบลเกาะสาหร่าย มีต้นมะพร้าวประหลาดอยู่ต้นหนึ่ง มียอดที่แตกออกจากต้นเป็นค่าคบถึง 4 ยอด และมีลูกดกทุกๆยอด นับเป็นต้นมะพร้าวประหลาดที่มียอดมากผิดปกติกับมะพร้าวอื่น ๆ ที่เห็นมา มีลำต้นสูงประมาณ 20 เมตรเศษ ๆ ผลของมันใช้การได้เช่นเดียวกับมะพร้าวอื่น ๆ ชาวบ้านหวงแหนถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์

ตำบลเกาะสาหร่ายทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่ายซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเกาะสาหร่ายในปี พ.ศ. 2517[1] ก่อนที่ต่อมาจะได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่ายในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[2]

อ่าวสน ภายในเกาะตะรุเตา
หาดในเกาะตะรุเตา

การปกครอง

[แก้]
  • หมู่บ้านและประชากร

พื้นที่ตำบลเกาะสาหร่าย ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 5,290 คน แบ่งเป็นชาย 2,565 คน หญิง 2,725 คน (เดือนธันวาคม 2563) เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 9 จาก 12 ตำบลในอำเภอเมืองสตูล

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2563 [3] พ.ศ. 2562[4] พ.ศ. 2561[5] พ.ศ. 2560[6] พ.ศ. 2559[7] พ.ศ. 2558[8] พ.ศ. 2557[9] พ.ศ. 2556[10] พ.ศ. 2555[11]
เกาะสาหร่าย 1,494 1,505 1,505 1,518 1,528 1,529 1,523 1,527 1,529
*เกาะอาดัง 947 932 1,277 1,278 1,261 1,253 1,225 1,206 1,105
ตะโล๊ะน้ำ 837 848 857 867 855 855 864 859 848
ตันหยงกลิง 658 657 649 653 656 656 662 663 666
ตันหยงอุมา 434 427 424 417 416 426 422 418 414
**หลีเป๊ะพัฒนา[12] 366 357 - - - - - - -
ยะระโตดนุ้ย 297 299 301 305 313 315 318 320 329
บากันใหญ่ 257 259 259 260 253 257 263 261 255
รวม 5,290 5,284 5,272 5,298 5,282 5,291 5,277 5,254 5,146

**ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่ 7 บ้านเกาะอาดัง (เกาะหลีเป๊ะ) จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก 1 หมู่บ้าน ชื่อว่า "หมู่บ้านหลีเป๊ะพัฒนา" และกำหนดให้เป็นพื้นที่หมู่ 8 ของตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล[12]

  • รายชื่อเกาะในเขตตำบลเกาะสาหร่าย

ตำบลเกาะสาหร่ายเป็นตำบลที่มีเกาะมากที่สุดในจังหวัดสตูล มีมากถึง 62 เกาะจาก 106 เกาะ มีเกาะหลักคือ เกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับสี่ของประเทศไทย รองลงมาจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย และเกาะช้าง มีเนื้อที่ประมาณ 150.84 ตารางกิโลเมตร และเกาะเล็ก ๆ อีก 61 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย ทุกเกาะมีพื้นที่ทั้งหมด 232.463 ตารางกิโลเมตร[13][14]

ลำดับที่ ชื่อเกาะ ตำบล พื้นที่ (ตร.กม.) หน่วยงาน
1 บูบู เกาะสาหร่าย 0.005 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
2 อุเสน เกาะสาหร่าย 0.005 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
3 บงกัง เกาะสาหร่าย 0.005 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
4 ปละปลัง เกาะสาหร่าย 0.006 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
5 หินใบ เกาะสาหร่าย 0.006 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
6 หินรู เกาะสาหร่าย 0.007 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
7 ลอกอ เกาะสาหร่าย 0.008 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
8 จะบัง เกาะสาหร่าย 0.008 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
9 ลันจา เกาะสาหร่าย 0.011 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
10 เล็ก เกาะสาหร่าย 0.012 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
11 บัน เกาะสาหร่าย 0.013 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
12 ตูนัน เกาะสาหร่าย 0.014 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
13 บุทราด เกาะสาหร่าย 0.015 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
14 ตุกุนโต๊ะโพ เกาะสาหร่าย 0.016 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
15 กา เกาะสาหร่าย 0.019 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
16 ราบา เกาะสาหร่าย 0.019 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
17 กละ เกาะสาหร่าย 0.021 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
18 ซารัง เกาะสาหร่าย 0.023 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
19 ปะลัย เกาะสาหร่าย 0.024 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
20 ตะรัง เกาะสาหร่าย 0.027 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
21 ซามวง เกาะสาหร่าย 0.029 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
22 ซาไก เกาะสาหร่าย 0.032 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
23 ลอกวย เกาะสาหร่าย 0.033 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
24 ใหญ่ เกาะสาหร่าย 0.039 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
25 แดงน้อย เกาะสาหร่าย 0.047 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
26 มดแดง เกาะสาหร่าย 0.047 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
27 บุโล เกาะสาหร่าย 0.056 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
28 หอขาว เกาะสาหร่าย 0.057 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
29 แดง เกาะสาหร่าย 0.062 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
30 บุโล เกาะสาหร่าย 0.068 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
31 สิงหะ เกาะสาหร่าย 0.07 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
32 ตารัง เกาะสาหร่าย 0.078 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
33 สาหนา เกาะสาหร่าย 0.081 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
34 กลัวเลาะ เกาะสาหร่าย 0.082 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
35 แลน เกาะสาหร่าย 0.102 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
36 เหล็ก เกาะสาหร่าย 0.111 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
37 กลาง เกาะสาหร่าย 0.113 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
38 ลูกบีบี เกาะสาหร่าย 0.114 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
39 ละ เกาะสาหร่าย 0.116 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
40 เปลากอ เกาะสาหร่าย 0.129 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
41 โต๊ะเส้น เกาะสาหร่าย 0.141 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
42 แรดน้อย เกาะสาหร่าย 0.262 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
43 เปลายัน เกาะสาหร่าย 0.267 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
44 กาตา เกาะสาหร่าย 0.268 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
45 แลตอง เกาะสาหร่าย 0.326 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
46 ปาหนัน เกาะสาหร่าย 0.365 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
47 บิสสี เกาะสาหร่าย 0.42 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
48 หาดทรายขาว เกาะสาหร่าย 0.429 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
49 คำเป้ เกาะสาหร่าย 0.439 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
50 ชูกู เกาะสาหร่าย 0.544 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
51 แรด เกาะสาหร่าย 0.663 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
52 ยะระโตดนุ้ย เกาะสาหร่าย 0.791 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
53 แดง เกาะสาหร่าย 0.894 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
54 เปลาออ เกาะสาหร่าย 0.956 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
55 ตะงาห์ เกาะสาหร่าย 1.178 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
56 หลีเป๊ะ เกาะสาหร่าย 1.957 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
57 ยะระโตดใหญ่ เกาะสาหร่าย 2.475 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
58 บาตวง เกาะสาหร่าย 4.045 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
59 ตันหยงอุมา เกาะสาหร่าย 6.149 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
60 อาดัง เกาะสาหร่าย 28.82 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
61 ราวี เกาะสาหร่าย 28.504 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
62 ตะรุเตา เกาะสาหร่าย 150.84 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
มุมสูงจากผาชะโด เกาะอาดัง ตะรุเตา
เกาะหลีเป๊ะ
เกาะอาดัง
เกาะอาดัง

สถานที่สำคัญ

[แก้]
  • อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นอุทยานแห่งชาติอยู่ในช่องแคบมะละกา เขตตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล อุทยานประกอบไปด้วยเกาะจำนวน 51 เกาะ มีพื้นที่ประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร มีชื่อเสียงที่โด่งดังทางด้านธรรมชาติ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม้ และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คำว่า “ตะรุเตา” นี้ เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก
  • เกาะตะรุเตา เป็นเกาะหลัก เกาะใหญ่ที่สุดในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ห่างจากเกาะลังกาวี ของมาเลเซีย 4.8 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2479 มีการประกาศพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นโจรผู้ร้าย กรมราชทัณฑ์จึงหาสถานที่ที่มีภูมิประเทศเหมาะสม ซึ่งในที่สุดได้เลือกเกาะตะรุเตาและจัดตั้งขึ้นเป็นทัณฑสถาน โดยเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 กลุ่มบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์ ภายใต้การนำของขุนพิธานทัณฑทัย ได้ขึ้นสำรวจเกาะตะรุเตาบริเวณอ่าวตะโละอุดังและอ่าวตะโละวาว เพื่อจัดทำเป็นทัณฑสถาน โดยฟันฝ่าอุปสรรคทางธรรมชาตินานัปการเป็นเวลา 11 เดือน งานบุกเบิกจึงสิ้นสุดลง หลังจากเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2481 เกาะตะรุเตาก็เป็นทัณฑสถานและเป็นนิคมฝึกอาชีพของนักโทษเด็ดขาด และนักโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะนี้ เพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า 566 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ปลายปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมืองจากคดีกบฏบวรเดช (พ.ศ. 2476) และกบฏนายสิบ (พ.ศ. 2478) จำนวน 70 นาย มายังเกาะตะรุเตาซึ่งถูกกักบริเวณไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง โดยจำนวนนักโทษทั้งหมดมีราว 4,000 คน ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484 - 2488) เกาะตะรุเตาถูกตัดขาดออกจากแผ่นดินใหญ่ เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ยา และเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้นปี พ.ศ. 2487 ผู้คุมนักโทษได้ทำตัวเป็นโจรสลัดเข้าปล้นสะดมเรือบรรทุกสินค้าชาวไทยและต่างประเทศที่แล่นแผ่นไปมา ในที่สุดรัฐบาลไทยและทหารอังกฤษได้เข้าปราบโจรสลัดเกาะตะรุเตาสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2489 และอีกสองปีต่อมากรมราชทัณฑ์ จึงได้ยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตาในที่สุด ในเกาะมีนักโทษการเมืองรวมกว่า 4,000 คน นักโทษเหล่านี้ถูกทารุณกรรมหลายรูปแบบ ทั้งการเฆี่ยนตี สมอบก การใช้แรงงานอย่างทารุณกรรม รวมถึงการฆาตกรรม เช่น การยิงทิ้ง ทั้งนี้ยังเจอกับนักการเมืองคณะราษฎร ที่ฉ้อราชบังหลวง กักตุนยารักษาโรค อาหาร เป็นเหตุให้ต้องมีความอดอยาก เจ็บป่วยเหมือนขังลืม นักโทษที่หลงเหลือได้รับการอภัยโทษ ตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่บรรดานักการเมือง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 โดย นายควง อภัยวงศ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 จึงได้มีการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล
  • เกาะอาดัง เป็นเกาะกลางช่องแคบมะละกา ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เป็นเกาะที่มีความใหญ่เป็นอันดับสองรองจากเกาะตะรุเตา อันเป็นส่วนหนึ่งในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตาหรืออุทยานแห่งชาติตะรุเตา อยู่ใกล้กับเกาะหลีเป๊ะหรือเกาะลีเป๊ะ มีความยาว 6 กิโลเมตร และกว้าง 5 กิโลเมตร จุดสูงสุดของเกาะคือ 690 เมตร สภาพของเกาะอาดังมีความสงบ สะอาด และเป็นสถานที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา บนเกาะไม่มีที่พักของเอกชนให้บริการ จะมีก็แต่บ้านพักของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ และจุดให้กางเต็นท์ ผู้ที่จะมาท่องเที่ยวจึงมักจะไปพักค้างแรมบนเกาะหลีเป๊ะที่อยู่ใกล้เคียงกันมากกว่า มีน้ำตกอยู่ 2 แห่งบนเกาะ ทางทิศตะวันออกของเกาะเป็นหาดทรายขาวยาวราว 200 เมตร ในน้ำเต็มไปด้วยปะการังโขดและปะการังชนิดอื่น ๆ รวมถึงสัตว์ทะเลต่าง ๆ ที่อาศัยตามแนวปะการัง เช่น ดาวทะเล, เม่นทะเล, ปลาสลิดหิน, ปลาขี้ตังเบ็ด, ปลานกแก้ว
  • เกาะหลีเป๊ะ หรือเกาะลีเป๊ะ เป็นเกาะกลางทะเลอยู่ในเขตตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล อยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดัง ห่างจากแผ่นดินของจังหวัดสตูล 85 กิโลเมตร เขตอำนาจการควบคุมของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตาในจังหวัดสตูล เป็นชายหาดบนเกาะที่อุดมไปด้วยท้องทะเลที่สดใสสะอาด สวยงาม เป็นเกาะที่เงียบสงบ และมีน้ำที่ตื้นเขิน จุดเด่นของทางเกาะหลีเป๊ะ คือ ความเป็นธรรมชาติของปะการังรายล้อมรอบเกาะ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายละเอียดนิ่มนวลขาวเหมือนแป้ง เกาะหลีเป๊ะ มีชายหาดที่สำคัญ ๆ อยู่ 4 หาด ได้แก่ "หาดพัทยา" ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะหลีเป๊ะ เป็นเกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปมากที่สุด "หาดซันไรส์" หรือ "ปาไตปาดัก" อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะหลีเป๊ะ ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านชาวเล "หาดคาร์มา" อยู่ทางตอนเหนือ ซึ่งหันหน้าเข้ากับเกาะอาดัง "หาดซันเซ็ต" หรือ "หาดประมง" อยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งหันหน้าเข้ารับแสงของพระอาทิตย์ ตามชื่อของหาด เกาะหลีเป๊ะ เป็นเกาะที่มีความกว้างระหว่างหัวเกาะไปถึงท้ายเกาะประมาณ 3 กิโลเมตร จัดเป็นเกาะขนาดเล็ก ถือเป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางตอนใต้ของช่องแคบมะละกาของไทย เนื่องจากพื้นที่ถัดไปคือทะเลสากลที่เชื่อมกับทะเลของประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย
  • เกาะสาหร่าย ห่างจากท่าเรือเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล ประมาณ 12 กิโลเมตร นั่งเรือ 2 ชั่วโมง หมู่เกาะสาหร่ายนี้มี 2 เกาะใกล้กัน ชาวเมืองเรียกเกาะยะระโตด และยะระโตดนุ้ย มีชายหาดโดยรอบเกาะ ใกล้เกาะยะระโตด มีเกาะหาดหอยงาม ซึ่งคลื่นซัดเปลือกหอยไปกองไว้เป็นเกาะ คล้ายสุสานหอย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. 22 พฤษภาคม 1974.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. 24 ธันวาคม 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  12. 12.0 12.1 "ประกาศจังหวัดสตูล เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (83 ง): 168–169. 31 ตุลาคม 2019.
  13. "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดสตูล". สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "เกาะในประเทศไทย - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).