ดุสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดุสิต[1] คือสวรรค์ชั้นที่ 4 ในฉกามาพจร มีพระศรีอริยเมตไตรยเป็นจอมเทพ เนื่องจากท้าวสันดุสิตร่วมมือกับท้าวสักกะและท้าวเวสสุวัณมาขัดขวางการบำเพ็ญเพียรราหูจนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เลยตกนรก ในตำนาน ราหูเป็นลูกท้าวเวปจิตติที่ท้าวสักกะใช้เหลี่ยมถีบเทวดาที่ปกครองอยู่ตกสวรรค์ โลภอยากได้ของคนอื่นไม่ปกครองตามวาระ อสูรพิภพกับเทวดาสู้กันมาช้านานต้นเหตุคือท้าวสักกะ

ความเชื่อ[แก้]

พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นดุสิต ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ 4 อยู่สูงกว่ายามา แต่ต่ำกว่านิมมานรดี มีพระศรีอริยเมตไตรยเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่าชั้นยามาไป 168,000 โยชน์ มีปราสาทแก้ว ปราสาททอง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีสวน สระบัวสวยงามยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นที่อยู่ต่ำกว่า เป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายและว่าที่พระอัครสาวก ในปัจจุบันพระศรีอริยเมตไตรยและว่าที่พระอัครสาวกของพระองค์จึงประทับอยู่ ณ ภูมินี้[2]

อายุของเทวดาในชั้นดุสิตยาวนานถึง 4,000 ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ 576,000,000 ของปีมนุษย์[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546, หน้า 904
  2. พระสัทธัมมโชติกะ. ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, 2546. 252 หน้า. หน้า 129. ISBN 974-575-941-5 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  3. พญาลิไทย, ไตรภูมิกถา ฉบับถอดความ, กรุงเทพฯ : คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสารสนเทศ สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้, 2528, หน้า 163