ดิว ไปด้วยกันนะ
ดิว ไปด้วยกันนะ | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล |
เขียนบท | ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, สรวิชญ์ เมืองแก้ว |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | นิกร ศรีพงศ์วรกุล |
ดนตรีประกอบ | ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล พงศ์ธร เตชะบุญอัคโข วุฒิพล อธิพงศ์กิจ |
บริษัทผู้สร้าง | ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คำม่วน-แฮปปี ฮับ สตูดิโอ ซีเจ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ สแลป มอนสเตอร์ เอ็ม พิคเจอร์ส |
ผู้จัดจำหน่าย | ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ |
วันฉาย | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 |
ความยาว | 125 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ดิว ไปด้วยกันนะ (อังกฤษ: Dew) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวโรแมนติก ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2562 กำกับและเขียนบทโดยชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล สร้างโดยซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ นำแสดงโดยศุกลวัฒน์ คณารศ, ญารินดา บุนนาค, ภวัต จิตต์สว่างดี, ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์, ดริสา การพจน์, อาภาศิริ นิติพน และวราพรรณ หงุ่ยตระกูล[1]
ดิว ไปด้วยกันนะ มีเรื่องราวเกิดขึ้น ณ ปางน้อย ปี พ.ศ. 2539 ของเด็กหนุ่มวัย 17 ปี สองคนที่ชื่อ ดิวกับภพ ที่เป็นคนใกล้ชิดกัน แต่ก็ต้องปกปิดไว้เนื่องจากสังคม ณ ตอนนั้นยังไม่ยอมรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ จนเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ทั้งคู่ต้องแยกจากกัน จนหลังจากนั้นอีก 23 ปีถัดมา ในปี พ.ศ. 2562 ภพได้กลับมายังปางน้อยอีกครั้ง[2]
นักแสดง
[แก้]- ภวัต จิตต์สว่างดี รับบท ดิว
- ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์ รับบท ภพ
- ศุกลวัฒน์ คณารศ รับบท ภพ ตอนโต
- ญารินดา บุนนาค รับบท อร
- ดริสา การพจน์ รับบท หลิว
- พันธุ์ธัช กันคำ รับบท ท็อป
- อาภาศิริ นิติพน รับบท แม่ดิว
- วราพรรณ หงุ่ยตระกูล รับบท ครูรัชนี
เนื้อเรื่อง
[แก้]ณ ปางน้อย ปี พ.ศ. 2539 ดิว (ภวัต จิตต์สว่างดี) ซึ่งเป็นเด็กใหม่กำลังเดินทางไปโรงเรียน ได้พบกับภพ (ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์) ที่ขี่จักรยานยนต์มา จึงได้อาสาไปส่งที่โรงเรียน แต่เมื่อฝนตกจึงทำให้รถล้มลงไปในคูข้างทาง มาถึงโรงเรียนจึงต้องเปลี่ยนชุด โดยดิวให้ยืมชุดพละของตน ส่วนดิวใส่ชุดเชียร์ลีดเดอร์ ที่หน้าเสาธง ครูประกาศเรื่องการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ จึงได้ให้นักเรียนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง มาลงทะเบียน
ดิวกับภพ เริ่มทำความรู้จักมากขึ้นหลังจากคลาสเต้นลีลาศ ที่ได้จับคู่เต้นกัน เวลาผ่านไปทั้งคู่เริ่มสนิทสนมกันมากขึ้น และชวนกันไปเชียงใหม่เพื่อเรียนพิเศษ โดยทั้งคู่อยู่ร่วมห้องกันที่เชียงใหม่ ที่โรงเรียนสอนพิเศษมีโครงการให้แปลเพลงไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยดิว แปลเพลง "ก่อน" ของวงโมเดิร์นด็อกเพื่อหวังเป็นผู้ชนะเลิศไปกระโดดบันจีจัมพ์ที่นิวซีแลนด์ จนวันหนึ่งภพสอนดิวขี่จักรยานยนต์ แต่ก็ได้ทะเลาะกัน ไล่ภพกลับ แต่ท้ายสุดภพก็กลับมากอดดิว จูบกันในตู้โทรศัพท์ขณะฝนตก ทั้งคู่กลับไปที่ห้องพัก ภาพที่เห็นคือทั้งคู่เปลือยในห้องน้ำ แต่พอออกจากห้องน้ำ เพื่อนร่วมห้องอีกคนก็เข้ามาเห็นพอดี
กลับมายังปางน้อย ภพเปลี่ยนไปเพราะกลัวมีใครรู้ ไม่ยอมคุยกับดิว แต่ดิวไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด จึงทะเลาะกันจนดิวต่อยภพ จนเพื่อนเข้ามาห้ามภายหลัง ครูได้ทำการสอบสวนต่อหน้าผู้ปกครองของทั้งคู่ว่าเกิดเรื่องอะไรขึ้น จนดิวเปิดเผยสถานะว่าตนเองเป็นเกย์ เรื่องนี้ทำให้รู้กันทั้งโรงเรียน ภพนัดดิวมาเจอเพื่อเอาจะขอบัตรนักเรียนไปรับการบำบัดแทน ทั้งคู่คุยกันว่าจะหนีออกจากปางน้อย แต่พ่อภพรู้ว่าภพไปค่ายบำบัดการเบี่ยงเบน มีปากเสียงจนภพหนีออกจากบ้าน และได้ส่งข้อความไปทางเพจเจอร์ให้หนีไปด้วยกัน ตอน 5 ทุ่มครึ่ง แต่แม่ดิวเข้ามาอ่านข้อความ แม่จึงเริ่มซักไซ้ ไม่อยากให้ดิวไปเพราะแม่อยู่คนเดียว ขณะที่กำลังคุยกันภพโทรเข้าบ้านดิว แต่ท้ายสุด ดิวตัดสินใจไม่ไป จะอยู่กับแม่ ภพบอกที่ภพทำทุกอย่างเพราะดิว จนต้องมาเจอเรื่องแบบนี้ แต่ภพก็ทิ้งท้ายว่า ที่ทำทุกอย่างเพราะแค่สงสารดิวเท่านั้น
ณ ปางน้อยปี พ.ศ. 2562 ภพ (ศุกลวัฒน์ คณารศ) กลับมายังปางน้อยอีกครั้งพร้อมภรรยาที่ชื่อ อร (ญารินดา บุนนาค) ได้กลับมาสอนที่โรงเรียนเก่าของตัวเอง ภพได้รับคำสั่งให้ดูแลนักเรียนหญิงเกเรที่ชื่อ หลิว (ดริสา การพจน์) ที่ซ่องสุมกับเด็ก ม.6 ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นแฟนของหลิว ที่ชื่อ ท็อป (พันธุ์ธัช กันคำ) ซึ่งภพต้องคอยดูแลหลิวที่มักโดดเรียนอยู่เสมอ ก่อนที่ภพจะผ่านการประเมินบรรจุเป็นครู ภพต้องหากิจกรรมให้นักเรียนทำเป็นผลงาน ภพได้ชวนหลิวไปแข่งตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ที่เชียงใหม่ ภพพูดคุยกับหลิวเรื่องที่ว่าเคยมาเชียงใหม่ตอนเด็ก แล้วภพก็ถามหลิวว่า เชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดหรือไม่ ขณะที่ท็อป แฟนของหลิว เริ่มรู้สึกว่าทั้งคู่เริ่มมีความใกล้ชิดกันเกินไป ภพยังได้ช่วยแปลเพลง "ก่อน" ของวงโมเดิร์นด็อก เพื่อไม่ให้หลิวตกซ้ำชั้น
ภาพตัดมาที่ภพวัยเด็ก หลังเหตุการณ์หนีออกจากบ้าน ภพกลับมายังปางน้อยอีกครั้ง จึงได้รู้ว่าดิวตายไปแล้ว ถูกรถชนในวันที่ภพหนีออกจากบ้าน ขณะที่หลิวเริ่มนึกได้ถึงเหตุการณ์ ความสัมพันธ์ของดิว ภพ ส่วนท็อปก็รู้สึกไม่พอใจ จึงหาเรื่องครูภพ หลิวเข้ามาอยู่ในเหตุการณ์ จนภพต่อยท็อป เมื่อมีการสืบสวน คณะครูว่าหากใครเริ่มก่อนฝ่ายนั้นจะถูกไล่ออก หลิวเข้าข้างภพ ทำให้ท็อปถูกไล่ออก
ภพไปหาหลิวที่ห้องที่แต่งห้องแบบยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 ภพพูดกับหลิวราวกับว่า หลิวนั้นคือดิว เพราะภพเชื่อว่าหลิวนั้นคือดิวกลับชาติมาอยู่ในร่างหลิว ท้ายสุดทั้งคู่สวมกอดกัน ในจังหวะเดียวกับที่ท็อปได้เข้ามาและได้ถ่ายทอดสดลงสังคมออนไลน์ เหตุนี้ทำให้รู้กันไปทั่ว รวมถึง อร ภรรยาภพ และได้บอกเลิกภพและเดินทางกลับกรุงเทพ ภพได้เก็บข้าวของจากโรงเรียนเพื่อออกจากโรงเรียน
ภาพตัดสลับไปมาเหตุการณ์ในอดีตกับปัจจุบัน หลิวขับจักรยานยนต์จะมาหาภพที่สถานีรถไฟ ส่วนดิวก็ขับมาที่สถานีรถไฟสถานีรถไฟเช่นกัน ทั้งดิวและหลิวประสบอุบัติเหตุ แต่ดิวเสียชีวิต ส่วนภาพปัจจุบัน หลิวกลับมาหาภพได้ ดิวกับภพคุยกันเรื่องว่าหายไปไหน จำเหตุการณ์อะไรได้บ้าง บนรถไฟ หลิวแทนตัวเองว่าดิว และได้เดินทางมายังเชียงใหม่ เพื่อมากระโดดบันจีจัมพ์ด้วยกัน ตามที่ทั้งดิวและภพอยากเมื่อตอนเด็ก ตอนจบของเรื่องเป็นภาพภพกับหลิวกระโดดลงมาโดยที่ไม่ได้ผูกเชือกไว้
งานสร้าง
[แก้]ชูเกียรติได้หันมาทำละครหลังจากที่กำกับภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม จนในช่วงปี 2561 แฟนของชูเกียรติซึ่งมีส่วนร่วมในกองถ่ายด้วย ป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ทำให้เตรียมปั้นนักแสดงเพื่อทำหนังเรื่องใหม่ ซึ่งแฟนของเขาก็ยังมีส่วนร่วมในการถ่ายทำหนังเรื่อง ดิว ไปด้วยกันนะ ด้วยเช่นกัน[3]
ค่ายหนังซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ได้ให้บทภาพยนตร์ต้นฉบับกับชูเกียรติ เป็นบทภาพยนตร์เกาหลีเรื่อง Bungee Jumping of Their Own[4] บทดั้งเดิมเป็นเรื่องราวของอดีตหนุ่มสาวที่ไม่สมหวัง แต่ในบทที่ชูเกียรติแก้ไข เป็นเรื่องของดิวและภพ สองเด็กชายวัยมัธยมปลายในปางน้อย[5] ชูเกียรติได้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้จากภาพส่วนหนึ่งของความทรงจำตัวเอง ที่มีทั้งความสุขสนุกสนานไปกับเสียงเพลงและงานศิลปะ และช่วงจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตที่เห็นเพื่อนที่มีความหลากหลายทางเพศต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง[6] หนังมีชื่อลำลองในช่วงแรกว่า That March[7] ในช่วงเขียนบท ชูเกียรติได้วางคำสำคัญของหนังเรื่องนี้ว่า "เราต่างมีอดีตที่สวยงาม แล้วเราก็มีความผิดพลาดในชีวิต แต่อย่าให้มันมาฉุดรั้งเราไว้ ชีวิตมันต้องเดินไปข้างหน้า"[8]
การคัดเลือกนักแสดง ชูเกียรติ ยืนยันที่จะเลือกศุกลวัฒน์ คณารศมารับบท ภพ[9] ศุกลวัฒน์ยังได้ขอทีมงานเพื่อให้พบกับศดานนท์ ที่รับบท ภพตอนเด็ก เพื่อพูดคุยเรื่องจังหวะการพูดคุยให้คล้ายกัน[10] สถานที่ถ่ายทำ ถ่ายที่ตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่[11], โรงเรียนแม่อายวิทยาคม[12], อำเภอฝาง[13]
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มีรอบทดสอบฉาย 2 รอบ และได้มีการเปลี่ยนแปลงแล้วถึง 7 ฉบับ[3] เพลงประกอบที่ใช้ประกอบตัวอย่างภาพยนตร์ "I’m Not Alone" ดนตรีโดย SpringTree และขับร้องโดย Zach Holmes & Neny[14]
เพลงประกอบ
[แก้]- ดีเกินไป - Smile Buffalo
- ...ก่อน (Acoustic Version) - Modern Dog
- รบกวนมารักกัน - ทาทา ยัง
- รุ้ง - OMD
- ...ก่อน (Cover Version) - Pchy
การตอบรับ
[แก้]รายได้
[แก้]ดิว ไปด้วยกันนะ ทำรายได้ทั่วประเทศในสัปดาห์แรกที่ 8.8 ล้านบาท ที่อันดับ 5 ของตารางบ็อกซ์ออฟฟิศประเทศไทย[15]
คำวิจารณ์
[แก้]เนื่องจาก ดิว ไปด้วยกันนะ เป็นการดัดแปลงบทจากภาพยนตร์เกาหลี Bungee Jumping of Their Own สนุก.คอม เขียนไว้ว่า "ชูเกียรติเลือกตัดผ่ายกเครื่องบทหนังโดยหยิบยกจุดพีคที่คอหนังต้นฉบับซูฮกมาไว้ในครึ่งเรื่องแรกแทน...แต่บทสรุป ยังดูไม่น่าเชื่อถือเท่าใดนัก" และยังพูดถึงประเด็นบาดแผลระหว่างทางเติบโตของวัยรุ่นของหนังเรื่องก่อน ๆ ของชูเกียรติ ตั้งแต่ รักแห่งสยาม, เกรียน ฟิคชั่น หรือตอนแรกของ โฮม ความรัก ความสุข ความทรงจำ ว่า "ถูกนำมาเน้นย้ำผ่านเรื่องราวของดิวและภพจนสามารถเชื่อมต่อเป็นจักรวาลหนังวัยรุ่นของมะเดี่ยวได้อย่างไม่ขัดเขินเลยทีเดียว"[16] เดอะโมเมนตัมวิจารณ์ว่า "นี่อาจไม่ใช่หนังที่ดีที่สุดของ ชูเกียรติ แต่หนังกลับมีภาวะบางอย่างที่ทิ้งตะกอนตกค้างเอาไว้ในความอิหลักอิเหลื่อของมัน และร่องรอยเล็กน้อยเหล่านั้นทำให้เราไม่อยากมองข้ามหนังเรื่องนี้ไป"[17]
เดอะสแตนดาร์ด เขียนวิจารณ์ว่า สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้ผู้ชมเชื่อในสิ่งละอันพันละน้อยที่หนังบอกเล่า คือ "‘พล็อตเรื่องในส่วนที่พิลึกพิลั่น" และชื่นชมการแสดงของศุกลวัฒน์ คณารศ ถ่ายทอดบทบาทได้ดี และชม ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์ ที่รับในบทภพวัยรุ่น ว่า เป็นนักแสดงที่เปล่งประกายฉายแสง "ทำให้สัมผัสได้ถึงความเปราะบางอ่อนไหวของตัวละคร" และชมงานสร้างและงานกำกับภาพที่เนรมิตเมืองสมมติทางตอนเหนือได้ชวนฝัน[18] อะเดย์ วิจารณ์ถึงการถ่ายทอดภาพว่า "[สร้าง]องค์ประกอบของยุค 90 ทั้งหนัง เพลง และเทคโนโลยี ที่เข้ามาสร้างความรู้สึกโหยหาอดีตให้คนดูตลอดครึ่งแรก" รวมถึงความน่าสนใจคือ "จำลองภาพเหตุการณ์การปฏิบัติต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศในอดีตให้คนดูเห็น"[19]
รางวัล
[แก้]ผู้มอบรางวัล | สาขารางวัล | ผล |
---|---|---|
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 16[20][21] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (CJ Major, คำม่วน-แฮปปี้ ฮับ เอ็นเตอร์เทนเมนท์) | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ศุกลวัฒน์ คณารศ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์) | ชนะ | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ญารินดา บุนนาค) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 28[22] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (CJ Major, คำม่วน-แฮปปี้ ฮับ เอ็นเตอร์เทนเมนท์) | เสนอชื่อเข้าชิง |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์) | ชนะ | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ศุกลวัฒน์ คณารศ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ภวัต จิตต์สว่างดี) | ชนะ | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ดริสา การพจน์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (อาภาศิริ จันทรัศมี) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, สรวิชญ์ เมืองแก้ว) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เพลงจากภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ("รุ้ง" ประพันธ์โดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 17[23] | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (CJ Major, คำม่วน-แฮปปี้ ฮับ เอ็นเตอร์เทนเมนท์) | เสนอชื่อเข้าชิง |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์) | ชนะ | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ศุกลวัฒน์ คณารศ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ดริสา การพจน์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2562-2563 | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (CJ Major, คำม่วน-แฮปปี้ ฮับ เอ็นเตอร์เทนเมนท์) | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์) | ชนะ | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (พันธุ์ธัช กันคำ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, สรวิชญ์ เมืองแก้ว) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ถ่ายถาพยอดเยี่ยม ( นิกร ศรีพงศ์วรกุล) | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ตัวอย่างหนัง Dew ดิว ไปด้วยกันนะ". bugaboo.tv. 18 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ""ดิว ไปด้วยกันนะ" พร้อมโชว์ตัวอย่างแรก ผลงานกำกับล่าสุด "มะเดี่ยว" คว้า "เวียร์ ศุกลวัฒน์" แสดงนำ". ผู้จัดการออนไลน์. 22 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส (21 กันยายน 2562). "มะเดี่ยว ชูเกียรติ แด่คนรักที่เพิ่งจากไป และหนุ่มสาวผู้ไม่หวาดกลัวความตาย". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "[Review] "ดิว ไปด้วยกันนะ" หนังรักที่ก้าวข้ามผ่านความแตกต่าง". ทรูไอดี. 29 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ดิวไปด้วยกันนะ รำลึกความหลังกับยุค 90 ช่วงเวลาแห่งความรักและความเจ็บปวด". สนุก.คอม. 26 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส (13 กันยายน 2562). "'ดิว ไปด้วยกันนะ' หนัง LGBTQ ของ 'มะเดี่ยว' ที่จะพาย้อนสู่ยุคอัลเทอร์เนทีฟ และยืนยันว่า 'รักแท้' มีอยู่จริง". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "คำม่วนจับมือ CJ Major เปิดตัวหนังใหม่พี่มะเดี่ยว ดึง "เวียร์-ญารินดา" เปิดซิง "โอม - นนท์"". 27 เมษายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-04. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ทัศนีย์ สาลีโภชน์ (6 พฤศจิกายน 2562). "'ดิว ไปด้วยกันนะ' หนังโอมากาเสะของ 'มะเดี่ยว-ชูเกียรติ'". จุดประกาย. กรุงเทพธุรกิจ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-25. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ""ดิว ไปด้วยกันนะ" ทำ "เวียร์" ขนลุก!! เหมือนได้เจอพี่ชายตัวเอง". ผู้จัดการออนไลน์. 9 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เวียร์ ยิ้มแก้มปริ ลงรูปถอดเสื้อบ่อยจน เบลล่า ต้องเข้ามาแซวโชว์เก่ง". ข่าวสด. 18 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เพราะที่นี่มีความทรงจำ..รวมหนังที่มีโลเคชั่นถ่ายทำใน จังหวัดเชียงใหม่". เมเจอร์ซีนีเพลกซ์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "อวย! อุ๋ม ส่งอารมณ์จนน้ำตาแตก!". ไทยรัฐ. 10 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ฟินไปด้วยกันกับ โอม นนท์ ปั๋น จาก ดิวไปด้วยกันนะ. เด็กดี. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 13:13. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562.
{{cite AV media}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "I'm Not Alone เพลงแรกบรรยากาศเหงาๆ "ดิว ไปด้วยกันนะ " หนังจากผู้สร้างรักแห่งสยาม". Major Cineplex. 23 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "อันดับหนังทำเงินสูงสุดในไทย รายได้ประจำสัปดาห์ 5 พฤศจิกายน 2562". สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "[รีวิว]ดิว..ไปด้วยกันนะ-รีเมคเกาหลีด้วยบาดแผลก้าวข้ามวัยสไตล์มะเดี่ยว". สนุก.คอม. 1 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ดิว ไปด้วยกันนะ : ยูโทเปียชำรุด". เดอะโมเมนตัม. 11 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ประวิทย์ แต่งอักษร (4 พฤศจิกายน 2562). "'ดิว ไปด้วยกันนะ' เพื่อนเก่า วันก่อน และบางเรื่องที่ไม่เคยเลือนหาย". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ พัฒนา ค้าขาย (3 พฤศจิกายน 2562). "'ดิว ไปด้วยกันนะ' หนังแห่งการเริ่มต้นใหม่ เพราะไม่ควรมีใครถูกทิ้งไว้กับอดีต". อะเดย์. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "โผเข้าชิง 'คมชัดลึก อวอร์ดครั้งที่ 16' เพลงไทยสากล-หนัง-ละคร รางวัลกิตติมศักดิ์ ด้านส่งเสริมการแสดงดีเด่น (ใหม่ เจริญปุระ)". คมชัดลึก. 29 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ "ผลรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 16". กรุงเทพธุรกิจ. 4 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สรุปผู้เข้าชิงรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 28 Where We Belong และฮาวทูทิ้ง ชิงสูงสุด 11 รางวัล". เดอะสแตนดาร์ด. 18 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล Starpics Thai Film Awards#17". สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)