ข้ามไปเนื้อหา

ดาวใจ ไพจิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวใจ ไพจิตร
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด12 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
เตือนใจ ยุ่นฉลาด
คู่สมรสปรีดี สุจริตกุล
สังกัดวงดนตรีสุนทราภรณ์
จักรวาลแผ่นเสียง
ห้างแผ่นเสียงทองคำ
กรุงไทย
เมโทร แผ่นเสียง
ว.มิวสิคซาวด์
สิริรามา
นิธิทัศน์
โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์

ดาวใจ ไพจิตร หรือ ดาวใจไพจิตร สุจริตกุล (12 ธันวาคม พ.ศ. 2497 - ปัจจุบัน ) มีชื่อเล่น หมู เป็นนักร้องเพลงลูกกรุงที่มีชื่อเสียง เคยเป็นนักร้องประจำวงดนตรีสุนทราภรณ์ ของเอื้อ สุนทรสนาน แต่ไม่มีผลงานบันทึกแผ่นเสียง ผลงานเพลงแรกได้บันทึกแผ่นเสียงหลังปี พ.ศ. 2512 คือเพลงสิ้นหล้า และเพลงไม่อยากอยู่ ผลงานของศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ หลังจากนั้นเธอมีผลงานร้องเพลงเดี่ยวและเพลงร้องคู่มากกว่า 1,000 เพลง

ประวัติ

[แก้]

เตือนใจ ยุ่นสอาด เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี) ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนางเรณู เลอสิงห์ จบชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 4 ที่โรงเรียนวัดอุทัยธาราม และเรียนต่อที่โรงเรียนวรรณวิทย์ และโรงเรียนสตรีนนทบุรี จบการศึกษาประถมศึกษา 7 แล้วไปร้องเพลงหลังจากนั้นใช้เวลาว่างไปเรียน กศน.จนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นศึกษาต่อปริญญาโทคณะศิลปกรรมศาสตร์ (ภาคนอกเวลาราชการ) สาขานฤมิตศิลป์ แขนงวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาคนอกเวลาราชการ) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555 [1] สมรสกับนายปรีดี สุจริตกุล อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต (ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว)

ชีวิตนักร้อง

[แก้]

ดาวใจชอบและสนใจการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กขณะที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนวัดอุทัยธารามดาวใจเป็นนักล่ารางวัลตัวเต็งของโรงเรียนโดยส่วนใหญ่จะเลือกเพลงของรวงทอง ทองลั่นธมประกวด ต่อมาดาวใจได้มาสมัครเป็นนักร้องที่โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี ฝึกหัดการร้องเพลงกับครูเอื้อ สุนทรสนานอยู่ 2 ปี จึงลาออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว ใช้ชื่อว่า "ดาวใจ ไพจิตร" ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งให้โดย ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการแทนชื่อจริง "เตือนใจ ยุ่นสอาด" (นามสกุลจริงก่อนสมรส) ขับร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกด้วยเพลง "สิ้นหล้า" และ "ไม่อยากอยู่" ผลงานของครูศรีสวัสดิ์กับวงยูงทอง

ดาวใจ ไพจิตร ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด ระหว่างปี พ.ศ. 2515-2525 ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำ (ส.ส.ส. : สถานีวิทยุเสียงสามยอด) สาขาเพลงยอดนิยมยอดเยี่ยม จากเพลง "อย่ามารักฉันเลย" พ.ศ. 2518 และเพลง "หยาดน้ำฝนหยดน้ำตา" พ.ศ. 2521 และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในเพลง "น้ำตาดารา" เมื่อ พ.ศ. 2523 ปัจจุบัน ประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นเจ้าของโรงเรียนอนุบาล ดำรงตำแหน่งอุปนายก สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ช่วยเหลืองานสังคม

ผลงาน

[แก้]
  • เพลง
ดาวใจ ไพจิตร มีผลงานร้องเพลงบันทึกเสียงมากกว่า 1000 เพลง
  • ละคร

แสดงละครเรื่อง ความรักสีดำ (พ.ศ. 2538)

  • ผลงานเพลง
  • เพลง คืนทรมาน
  • เพลง ส่วนเกิน
  • เพลง คน
  • เพลง รักด้วยนํ้าตา
  • เพลง รักนี้สีดำ
  • เพลง คนใจมาร
  • เพลง ขยี้รัก
  • เพลง คนเดียวในดวงใจ
  • เพลง อีสานเศร้า
  • เพลง เพียงคำนั้น
  • เพลง ขอสูมาเต๊อะ
  • เพลง บุญเหลือเกิน
  • อัลบั้มเดี่ยว
  • อัลบั้มชุด ดาวใจ ไพจิตร 30 ต้นฉบับเพลงฮิตดีที่สุด
  • อัลบั้มชุด เสียงทิพย์จากดาวใจ
  • อัลบั้มชุด เพลงรักนิรันดร
  • อัลบั้มชุด รวมเพลงอมตะ
  • อัลบั้มชุด ต้นฉบับเพลงฮิต
  • อัลบั้มชุด สานตำนานรักเพลงสุนทราภรณ์
  • อัลบั้มชุด 30 ปีทอง
  • อัลบั้มชุด อย่ามารักฉันเลย
  • อัลบั้มชุด หัวใจยังสาว
  • อัลบั้มชุด ร้ายก็รัก
  • อัลบั่มชุด ส่วนเกิน
  • อัลบั้มชุด ทำไมทำฉันได้
  • อัลบั้มชุด อภิมหาอมตะนิรันดร์กาล (สังกัด นิธิทัศน์)
  • อัลบั้มชุด แฟนคลับ
  • อัลบั้มชุด คนเลวของเธอ
  • อัลบั้มชุด จับปู
  • อัลบั้มชุด จูบ
  • อัลบั้มชุด ซังคนใจร้าย
  • อัลบั้มชุด ตารางดวงใจ
  • อัลบั้มชุด รอยเล็บเหน็บรัก - รักที่ต้องห้าม
  • อัลบั้มชุด ใต้ร่มพระบารมี
  • อัลบั้มชุด อมตะเพลงทอง ความรักไม่รู้จบ (สังกัด โรสวิดีโอ ปัจจุบันคือ โรส มีเดีย)
  • อัลบั้มชุด สานอดีตเพลงทอง ขยี้รัก
  • อัลบั้มชุด มิติใหม่ดาวใจ 1-4

อ้างอิง

[แก้]
  1. ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. ISBN 978-974-8218-82-3

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]