ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซีกโลกวัฒนธรรม)
แผนที่โลกเน้น "โลกตะวันออก" ซึ่งหมายถึงทวีปเอเชีย หรือ "ตะวันออกไกล" ซึ่งประกอบด้วยภูมิภาควัฒนธรรมซ้อนทับกันสามแห่ง ได้แก่ เอเชียตะวันออก, เอเชียใต้ และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สีเขียว, ส้มและน้ำเงินตามลำดับ)

ในวิชาสังคมวิทยา ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตก เป็นความแตกต่างที่รับรู้ระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก เขตแดนของตะวันออกและตะวันตกไม่มีการเจาะจง แต่เป็นการแบ่งทางวัฒนธรรมมากกว่าทางภูมิศาสตร์ ซึ่งแตกต่างกันตามเกณฑ์ที่แต่ละคนใช้ ในอดีต ทวีปเอเชีย (ยกเว้นไซบีเรีย) ถือเป็นตะวันออก และทวีปยุโรปถือเป็นตะวันตก ทุกวันนี้ "ตะวันตก" มักหมายถึงออสตราเลเซีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกา มโนทัศน์ดังกล่าวมีอภิปรายในการศึกษาอย่างการจัดการ เศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และภาษาศาสตร์ แนวคิดนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากละเลยความเป็นลูกผสมของภูมิภาค

การแบ่ง[แก้]

เขตแดนตามแนวคิดเป็นเขตแดนทางวัฒนธรรมมากกว่าภูมิศาสตร์ ผลคือ ออสเตรเลียตรงแบบได้รับการจัดกลุ่มเป็นตะวันตก แม้ในทางภูมิศาสตร์อยู่ในซีกโลกตะวันออก ส่วนชาติอิสลามไม่ว่าอยู่ที่ใดจะจัดเป็นตะวันออก[1] เส้นแบ่งวัฒนธรรมอาจจัดวางได้ยากในที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งพลเมืองอาจระบุตนเองว่าเป็นตะวันออกหรือตะวันตกขึ้นอยู่กับภูมิหลังทางชาติพันธุ์หรือศาสนา[1] ยิ่งไปกว่านั้น ผู้อยู่อาศัยในส่วนต่าง ๆ ของโลกอาจรับรู้เขตแดนต่างออกไป เช่น นักวิชาการยุโรปนิยามรัสเซียว่าเป็นตะวันออก แต่ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าเป็นส่วนเติมเต็มที่สองของตะวันตก[2] และชาติอิสลามถือว่าตนและชาติที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์เป็นตะวันตก[1] คำถามที่ยังไม่มีคำตอบอีกคำาถามหนึ่งคือไซบีเรีย (เอเชียเหนือ) เป็น "ตะวันออก" หรือ "ตะวันตก"

ความแตกต่างในประวัติศาสตร์ระหว่างตะวันออกและตะวันตก[แก้]

ระหว่างยุคกลาง อารยธรรมมากมายที่ปรากฏทั้งในโลกตะวันออกและตะวันตกมีความคล้ายคลึงกันในหลายแง่ แต่บางแง่ก็แตกต่างกันมากจนเข้ากันไม่ได้ ประเด็นสำคัญหนึ่งได้แก่ข้อแตกต่างในระบบชนชั้นทางสังคมซึ่งมีผลต่อชีวิตหลายด้านเมื่อสังคมทั้งสองมีอันตรกิริยา การแบ่งแยกระหว่างระบบเจ้าขุนมูลนายและระบบสังคมแบบตะวันออก วิธีการค้าและเกษตรกรรมที่แข่งขันกัน และเสถียรภาพของรัฐบาลที่ต่างกันทำให้เกิดช่องว่างกว่าขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างวิถีชีวิตทั้งสองแบบ อารยธรรมตะวันตกและตะวันออกไม่เพียงแตกต่างกันเพราะที่ตั้งเท่านั้น แต่ยังเพราะระบบชนชั้นทางสังคม วิธีทำกินและลีลาความเป็นผู้นำ[3]

ชีวิตประจำวันของสามัญชนในอารยธรรมตะวันตกและตะวันออกนั้นแตกต่างกันอย่างมากตามวิธีดำเนินการสังคมของพวกตน และสิ่งที่สังคมมุ่งเน้น ข้อแตกต่างสำคัญหนึ่งระหว่างอารยธรรมตะวันตกและตะวันออกได้แก่ระบบเจ้าขุนมูลนายและระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัล (manorialism)[4] ทั้งสองก่อให้เกิดชนการจัดช่วงชั้นทางสังคม และชีวิตในภาพรวมของสามัญชนในโลกตะวันออก ระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัลตั้งขึ้นโดยมีเจ้า (lord) อยู่บนสุดที่เป็นเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ เขามีทาสติดที่ดิน (serf) และชาวนาที่เขาว่าจ้าง ชาวนาจ่ายค่าเช่าเป็นธัญพืชเพื่อเป็นการตอบแทนที่ดินที่พวกเขาได้ทำงาน สังคมระบบเจ้าขุนมูลนายนี้เป็นระบบแก่งแย่งกันและไม่ช่วยขยายอารยธรรม[5] [6]

ระบบสังคมของโลกตะวันตกและตะวันออกต่างกัน มองโกเลียเจริญขึ้นมาจากเผ่าเร่ร่อนที่เจงกิส ข่านรวมเป็นหนึ่งเดียว เขาพิชิตดินแดนแวดล้อมกว้างใหญ่และตั้งจักรวรรดิไพศาล ชาวมองโกลให้ผู้ป้องกันมีทางเลือกระหว่างเข้าร่วมหรือตาย ทัศนะที่โหดเหี้ยมนี้แสดงออกมาเมื่อพวกเขาพิชิตทวีปเอเชียส่วนใหญ่และทวีปยุโรปและตะวันออกกลางบางส่วน สิ่งหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์ถังของจีนต่างจากราชวงศ์อื่น ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมที่เพิ่มขึ้น มีชุดการทดสอบซึ่งสามารถเข้ารับเพื่อให้ยกสถานภาพทางสังคม แทนที่จะสงวนตำแหน่งระดับสูงไว้สำหรับชนชั้นผู้ดีโดยเฉพาะ คนยากจนสามารถเข้าถึงตำแหน่งดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ในมองโกเลีย บุคคลสามารถได้ยศในกองทัพได้ผ่านทักษะทางทหารเพราะสังคมตั้งอยู่บนทักษะทางทหาร ในอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมเป็นไปได้ยากกว่า

อารยธรรมตะวันตกและตะวันออกมีความแตกต่างทางการเมืองเพราะสามัญชนในอารยธรรมตะวันออกไม่พอใจกับผู้นำของตนเสมอไป แม้อารยธรรมตะวันตกมีผู้ปกครองมากมายในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ไม่มีความไม่สงบในหมู่ประชาชน อารยธรรมตะวันออกมีกบฎและช่องว่างยาวระหว่างผู้ปกครองที่ทำให้เกิดความไม่สงบ ระหว่างสงครามใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 ประเทศอังกฤษมีการแย่งชิงบัลลังก์ซึ่งทำให้เกิดการนองเลือดหลายครั้ง ประเทศฝรั่งเศสก็มีปัญหาในการปกครองของตนเช่นกัน ตลอดเวลาดังกล่าว ประเทศอังกฤษยังสามารถต่อสู้ชาวฝรั่งเศสและเกือบชนะสงครามร้อยปี ในอารยธรรมตะวันออก รัฐบาลไม่มั่นคงเสมอไป[7] ในประเทศจีน เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งเกิดระหว่างราชวงศ์ถัง กบฏอันลูซันแสดงถึงความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลจีน

ด้านเศรษฐกิจ อารยธรรมตะวันตกและตะวันออกแตกต่างกันมากเพราะวิธีทำกินต่างกัน ในประเทศจีน ปัจจัยทางเศรษฐกิจสำคัญหนึ่งคือการค้า ประเทศจีนเชื่อมโยงกับทวีปยุโรปผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นชุดเส้นทางการค้าจากเอเชียตะวันออกสู่ทวีปยุโรป เส้นทางสายไหมไม่ได้ใช้ค้าขายสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นทางแลกเปลี่ยนสำหรับความคิดหรือศาสนาด้วย ชาวอังกฤษใช้ระบบเจ้าขุนมูลนายแบบพิเศษเรียก ระบบเจ้าขุนมูลนายปลอม (bastard feudalism)[8] ระบบนี้ซึ่งโดดเด่นในสงครามดอกกุหลาบ แตกต่างจากระบบเจ้าขุนมูลนายปกติเพราะระบบริเริ่มเงินเข้าสู่ลำดับชั้นทางสังคม[9] [10] ขุนนางสามารถจ่ายเงินอัศวินสำหรับการรับใช้แทนการมอบที่ดิน การนี้ทำให้ระบบเจ้าขุนมูลนายเข้มแข็งขึ้นเพราะหากมีผู้ปกครองอ่อนแอ รัฐบาลขุนนางใหม่ที่เข้มแข็งจะสนับสนุนประชาชน ขุนนางบริติชยังสร้างมหากฎบัตรเพื่อลดพระราชอำนาจอีก การนำเงินเข้าสู่ระบบชนชั้นเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองของอังกฤษและทำให้มันต่างจากอารยธรรมตะวันออกมาก[11]

มโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์[แก้]

มโนทัศน์นี้มีใช้ทั้งในชาติ "ตะวันออก" และ "ตะวันตก" นักจีนศึกษาชาวญี่ปุ่น ทาชิบานะ ชิรากิ ในคริสต์ทศวรรษ 1920 เขียนถึงความจำเป็นในการรวมทวีปเอเชียให้เป็นหนึ่ง อันประกอบด้วยเอเชียตะวันออก เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่รวมเอเชียกลางและตะวันออกกลาง และตั้ง "ตะวันออกใหม่" ซึ่งอาจรวมกันทางวัฒนธรรมเพื่อถ่วงดุลตะวันตก[12] ญี่ปุ่นยังคงใช้แนวคิดซึ่งเรียก แนวคิดรวมเอเชีย (Pan-Asianism) ตลอดสงครามโลกครั้งที่สอง ในโฆษณาชวนเชื่อ[13] ในประเทศจีนระหว่างสงครามเย็น ในสุนทรพจน์ปี 1957 ของเหมาเจ๋อตง[14] ที่เปิดตัวคำขวัญเมื่อเขากล่าวว่า "นี่เป็นสงครามระหว่างสองโลก ลมตะวันตกไม่อาจชนะลมตะวันออก ลมตะวันออกถูกกำหนดมาให้ชนะลมตะวันตก"[15]

สำหรับนักเขียนตะวันตกในคริสต์ทศวรรษ 1940 ทวิวิภาคดังกล่าวผูกมัดกับความคิดก้าวร้าว "ชาตินิยมไม่สำเร็จ" (frustrated nationalism) ซึ่งถูกมองว่า "ต่อต้านหรือไม่เป็นตะวันตกด้วยตัวมันเอง" นักสังคมนิยม แฟรงก์ ฟูเรดีเขียนว่า "การประเมินทางปัญญาที่มีอยู่แล้วของชาตินิยมยุโรปได้รับการดัดแปลงให้เข้ากับการเติบโตของชาตินิยมโลกที่สามโดยการพัฒนาคู่ชาตินิยมตะวันตกที่เติบโตเต็มที่กับชาตินิยมตะวันออกที่ยังไม่โตเต็มที่ ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกแบบนี้กลายเป็นทฤษฎีการเมืองตะวันตกที่ได้รับการยอมรับ"[16]

หนังสือ โอเรียนทัลลิซึม (Orientalism) ปี 1978 โดย เอ็ดเวิร์ด ซาอิด มีอิทธิพลอย่างสูงในการตั้งมโนทัศน์ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกเพิ่มเติมในโลกตะวันตก โดยนำญัตติตะวันออกที่ "มีลักษณะโดยสภาพสัมผัสได้ของศาสนา ระเบียบสังคมแบบครอบครัวและประเพณีไม่เคยแก่" ตรงข้ามกับ "ความเป็นเหตุผล พลวัติทางวัตถุและเทคนิค และปัจเจกชนนิยม" แบบตะวันตกเข้าสู่เล็กเชอร์มหาวิทยาลัย[17]

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการวางการแบ่งว่าอิสลามเป็น "ตะวันออก" และอเมริกาและยุโรป "ตะวันตก"[18][19] นักวิจารณ์หมายเหตุว่าทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกระหว่างอิสลามกับศาสนาอื่นมีความยุ่งยากจากการแพร่กระจายของลัทธิมูลฐานนิยมอิสลามและความหลากหลายทางวัฒนธรรมในชาติอิสลาม โดยเคลื่อนการให้เหตุผล "นอกเหนือจากทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกและเข้าสู่สถานการณ์สามฝ่าย"[20]

การประยุกต์[แก้]

ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกมีใช้ในการศึกษาหัวข้อต่าง ๆ รวมถึงการจัดการ เศรษฐศาสตร์และภาษาศาสตร์ การสร้างสรรค์ละการจัดการ (ค.ศ. 2007) พิจารณาทวิวิภาคดังกล่าวว่าเป็นความแตกต่างในการเรียนรู้เชิงองค์การระหว่างวัฒนธรมตะวันตกและตะวันออก[21] มีการใช้อย่างกว้างขวางในการสำรวจช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่เรียก "ปาฏิหารย์เอเชียตะวันออก" ในบางส่วนของเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสือเอเชีย หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง[22] นักสังคมวิทยาบางคนรับรู้การขยายตัวทางเศรษฐกิจว่าเป็นสัญญาณว่าภูมิภาคนั้น "กลายเป็นตะวันตก" ตามแนวกับโลกตะวันตกเป็นแบบจำลองความทันสมัยที่วางโดย อาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี แต่คนอื่นมองหาคำอธิบายในคุณลักษณะทางวัฒนธรรมหรือเชื้อชาติในโลกตะวันออก โดยรับมโนทัศน์อัตลักษณ์วัฒนธรรมตะวันออกที่คงที่ในปรากฏการณ์ที่อธิบายว่าเป็น "คตินิยมแบบตะวันออกใหม่" (New Orientalism)[1][23] แนวทางการเข้าสู่ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกทั้งสองแนวได้รับคำวิจารณ์ว่าไม่ได้นำความเป็นลูกผสมทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคดังกล่าวมาคิดด้วย[24]

มโนทัศน์ดังกล่าวยังหยิบยกขึ้นมาเพื่อให้สัมพันธ์กับการพิจารณาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มีการอธิบายอย่างกว้างขวางว่าชาวเอเชียรับ "รูปแบบคำพูดอุปนัย" ซึ่งจะเลี่ยงการพูดประเด็นหลักตรง ๆ แต่กล่าวกันว่าสังคมตะวันตกใช้ "คำพูดนิรนัย" ซึ่งผู้พูดสร้างประเด็นของพวกตนในทันที[25] สิ่งนี้มีการยกว่ามีความสำคัญสูงกว่าในหมู่ชาวเอเชียในความสัมพันธ์แบบสมานฉันท์ แต่ชาวตะวันตกกล่าวกันว่าให้ความสำคัญกับการสื่อสารโดยตรง[26] หนังสือ Intercultural Communication: A Discourse Approach ในปี 2001 อธิบายทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกทางภาษาศาสตร์ว่าเป็น "ทวิวิภาคเท็จ" โดยสังเกตว่าผู้พูดชาวเอเชียและตะวันตกใช้การสื่อสารทั้งสองแบบ[27]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Meštrovic, Stjepan (1994). Balkanization of the West: The Confluence of Postmodernism and Postcommunism. Routledge. p. 61. ISBN 0-203-34464-2.
  2. MacGilchrist, Felicitas. "Metaphorical politics: Is Russia western?". Nation in Formation: Inclusion and Exclusion in Central ….
  3. François Louis Ganshof (1944). Qu'est-ce que la féodalité. Translated into English by Philip Grierson as Feudalism, with a foreword by F. M. Stenton, 1st ed.: New York and London, 1952; 2nd ed: 1961; 3d ed: 1976.
  4. Andrew Jones, "The Rise and Fall of the Manorial System: A Critical Comment" The Journal of Economic History 32.4 (December 1972:938–944) p. 938; a comment on D. North and R. Thomas, "The rise and fall of the manorial system: a theoretical model", The Journal of Economic History 31 (December 1971:777–803).
  5. William Stubbs. The Constitutional History of England. Oxford: 1875.
  6. G. McMullan and D. Matthews, Reading the medieval in early modern England (Cambridge: Cambridge University Press, 2007), p. 231.
  7. H. Damico, J. B. Zavadil, D. Fennema, and K. Lenz, Medieval Scholarship: Philosophy and the arts: biographical studies on the formation of a discipline (Taylor & Francis, 1995), p. 80.
  8. Livery and Maintenance, Encyclopedia of The Wars of the Roses, ed. John A. Wagner, (ABC-CLIO, 2001), 145.
  9. "Feudalism", by Elizabeth A. R. Brown. Encyclopædia Britannica Online.
  10. "Feudalism?" เก็บถาวร 2014-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Paul Halsall. Internet Medieval Sourcebook.
  11. "The Problem of Feudalism: An Historiographical Essay", by Robert Harbison, 1996, Western Kentucky University.
  12. Li, Lincoln (1996). The China factor in Modern Japanese thought: the case of Tachibana Shiraki, 1881–1945. SUNY Series in Chinese Philosophy and Culture. SUNY Press. pp. 104–105. ISBN 0-7914-3039-1.
  13. Iriye, Akira (2002). Global community: the role of international organizations in the making of the contemporary world. University of California Press. p. 87. ISBN 0-520-23127-9.
  14. Kau, John K.; Leung (1992). "Notes". The Writings of Mao Zedong, 1949–1976: January 1956 – December 1957. Writings of Mao Zedong. Vol. 2. M. E. Sharpe. p. 773. ISBN 0-87332-392-0.
  15. Zedong, Mao (1992). Kau, Michael Y. M.; Leung, John K. (บ.ก.). The Writings of Mao Zedong, 1949–1976: January 1956 – December 1957. Writings of Mao Zedong. Vol. 2. M.E. Sharpe. p. 775. ISBN 0-87332-392-0.
  16. Füredi, Frank (1994). Colonial wars and the politics of Third World nationalism. I.B.Tauris. pp. 115–116.
  17. Barnett, Suzanne Wilson; Van Jay Symons (2000). Asia in the undergraduate curriculum: a case for Asian studies in liberal arts education. East Gate. M.E. Sharpe. p. 99. ISBN 0-7656-0546-5.
  18. Meštrovic, 63.
  19. ดูเพิ่ม Chahuán, Eugenio (2006). "An East-West dichotomy: Islamophobia". ใน Schenker, Hillel; Ziad, Abu Zayyad (บ.ก.). Islamophobia and anti-Semitism. A Palestine-Israel Journal Book. Markus Wiener Publishers. pp. 25–32. ISBN 1-55876-403-8.
  20. Khatib, Lina (2006). Filming the modern Middle East: politics in the cinemas of Hollywood and the Arab world. Library of Modern Middle East Studies, Library of International Relations. Vol. 57. I.B. Tauris. pp. 166–167, 173. ISBN 1-84511-191-5.
  21. Ichijō, Kazuo; Ikujirō Nonaka (2007). Knowledge creation and management: new challenges for managers. Oxford University Press US. p. 280. ISBN 978-0-19-515962-2.
  22. Norberg, Johan (2003). In defense of global capitalism. Cato Institute. p. 99. ISBN 1-930865-46-5.
  23. Berger, Mark T. (1997). "The triumph of the East? The East-Asian Miracle and post-Cold War capitalism". ใน Borer, Douglas A. (บ.ก.). The rise of East Asia: critical visions of the Pacific century. Routledge. pp. 260–261, 266. ISBN 0-415-16168-1.
  24. Berger, 275.
  25. Cheng, Winnie (2003). Intercultural conversation. Pragmatics & Beyond. Vol. 118. John Benjamins Publishing Company. p. 51. ISBN 90-272-5360-9.
  26. Cheng, 53.
  27. Scollon, Ronald (2001). Intercultural communication: a discourse approach. Language in Society. Vol. 21 (2 ed.). Wiley-Blackwell. pp. 94–95. ISBN 0-631-22418-1.

อ่านเพิ่ม[แก้]

Balancing the East, Upgrading the West; U.S. Grand Strategy in an Age of Upheaval by Zbigniew Brzezinski January/February 2012 Foreign Affairs