ช่องประสาทกล้ามเนื้อลิ้น
ช่องประสาทกล้ามเนื้อลิ้น (Hypoglossal canal) | |
---|---|
![]() กระดูกท้ายทอย มุมมองจากด้านใน | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | canalis nervi hypoglossi |
TA98 | A02.1.04.016 |
TA2 | 559 |
FMA | 75370 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก |
ช่องประสาทกล้ามเนื้อลิ้น (hypoglossal canal) เป็นช่องหรือคลองที่อยู่ในกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ของกะโหลกศีรษะ
กายวิภาคศาสตร์[แก้]
ช่องนี้เป็นทางผ่านของเส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 จากจุดทางเข้าใกล้ๆ กับเมดัลลา ออบลองกาตา (medulla oblongata) ไปยังทางออกจากฐานของกะโหลกศีรษะใกล้ๆ กับจูกูลาร์ ฟอราเมน ช่องนี้ทอดตัวอยู่ในรอยต่อเอพิไฟซิส (epiphyseal junction) ระหว่างส่วนเบซิออกซิปุท (basiocciput) และจูกูลาร์ โพรเซสของกระดูกท้ายทอย
ทฤษฎีบทบาทเกี่ยวกับการพูด[แก้]
ไม่นานมานี้มีงานวิจัยที่พยายามอธิบายความสามารถในการพูดที่เกี่ยวข้องกับช่องประสาทกล้ามเนื้อลิ้น นักวิจัยพบว่าพวกโฮโมนิดส์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 2 ล้านปีมาแล้วมีขนาดของช่องนี้เท่ากับลิงชิมแพนซีในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปว่าเอปเหล่านั้นไม่สามารถพูดได้ ในขณะที่ H. sapiens เมื่อประมาณ 400,000 ปีมาแล้วมีขนาดช่องนี้เท่ากับมนุษย์ปัจจุบัน จึงสันนิษฐานว่ามนุษย์ในสมัยนั้นน่าจะมีความสามารถในการพูด แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับไพรเมตหลายๆ ชนิดเมื่อเร็วๆ นี้ให้ผลสรุปว่าขนาดของช่องและการพูดไม่มีความเกี่ยวข้องระหว่างกัน[1]
ภาพอื่นๆ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- SUNY Figs 22:5b-15
- Norman/Georgetown cranialnerves (XII)
- Roche Lexicon - illustrated navigator, at Elsevier 34257.000-1
- Roche Lexicon - illustrated navigator, at Elsevier 34257.000-2
- Image at uwo.ca เก็บถาวร 2006-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน