ข้ามไปเนื้อหา

รอยประสานหน้าผาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอยประสานหน้าผาก
(Frontal suture)
กระดูกหน้าผาก มุมมองจากด้านนอก ("ส่วนเหลือของรอยประสานหน้าผาก" อยู่ตรงกลางของภาพ)
มุมมองทางด้านบนของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินsutura frontalis
TA98A02.1.03.007
TA21585
FMA52989
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

รอยประสานหน้าผาก (อังกฤษ: frontal suture) คือโครงสร้างที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนาแน่นที่แบ่งระหว่างครึ่งซ้ายและขวาของกระดูกหน้าผาก (frontal bone) ของกะโหลกศีรษะในทารกและเด็ก เมื่ออายุประมาณ 6 ปีรอยประสานนี้มักจะหายไป และครึ่งซีกซ้ายและขวาของกระดูกหน้าผากจะรวมเป็นกระดูกชิ้นเดียวกัน แต่ในผู้ใหญ่บางคนอาจยังคงอยู่ เรียกว่า "metopic suture" หากซูเจอร์นี้ไม่มีในเด็กแรกเกิดอาจทำให้กะโหลกศีรษะผิดรูป มีรูปร่างแหลมเหมือนกระดูกงูเรือ เรียกว่า "trigonocephaly"

รอยประสานนี้มีประโยชน์เมื่อทารกคลอด กะโหลกศีรษะจะสามารถงอและยืดหยุ่นได้เล็กเล็กน้อย ทำให้ศีรษะทารกโค้งเข้าเมื่อผ่านช่องคลอด

อ้างอิง

[แก้]
  • "Frontal Suture." Stedman's Medical Dictionary, 27th ed. (2000).
  • Moore, Keith L. and T.V.N. Persaud. The Developing Human: Clinically Oriented Embryology, 7th ed. (2003).
  • pediatric plastic surgery, mathes and Hetz. chapter 92; nonsyndromic craniostosis.