ส่วนยื่นกระดูกขมับจดกระดูกโหนกแก้ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนยื่นกระดูกขมับจดกระดูกโหนกแก้ม
(Zygomatic process of temporal bone)
กระดูกขมับ มุมมองจากด้านนอก แสดงไซโกมาติก โพรเซสยื่นไปทางซ้ายของกระดูก
ข้อต่อของขากรรไกรล่าง มุมมองทางด้านข้าง (ไซโกมาติก โพรเซสอยู่ตรงกลางภาพ)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินprocessus zygomaticus ossis temporalis
TA98A02.1.06.067
TA2708
FMA52886
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

ส่วนยื่นกระดูกขมับจดกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic process of the temporal bone) เป็นส่วนยื่นของกระดูกที่ยาว โค้ง ยื่นออกไปจากส่วนล่างของส่วนสความา เทมพอราลิส (Squama temporalis) ของกระดูกขมับ ซึ่งเข้าไปเกิดข้อต่อกับกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic bone)

ส่วนยื่นนี้ในช่วงแรกจะชี้ไปทางด้านข้าง พื้นผิวทั้งสองมองดูชี้ขึ้นและชี้ลง จากนั้นจะมองดูคล้ายๆ กับมันบิดเข้าไปด้านใน แล้ววิ่งไปด้านหน้า พื้นผิวของมันจะมองดูชี้ไปทางด้านใกล้กลาง (medialward) และทางด้านข้าง

ขอบกระดูก[แก้]

  • ขอบด้านบน (superior border) ยาว แคบ และแหลม และให้เป็นจุดเกาะของพังผืดขมับ (temporal fascia)
  • ขอบด้านล่าง (inferior border) สั้น หนา และโค้ง เป็นจุดเกาะของใยกล้ามเนื้อบางส่วนของกล้ามเนื้อแมสซีเตอร์ (Masseter muscle)

พื้นผิว[แก้]

  • พื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) นูน และอยู่ชั้นใต้ผิวหนัง
  • พื้นผิวด้านใกล้กลาง (medial surface) เว้า และเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อแมสซีเตอร์

ปลาย[แก้]

  • ปลายทางด้านหน้า (anterior end) เป็นฟันเลื่อยลึกและเกิดข้อต่อกับกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic bone)
  • ปลายทางด้านหลัง (posterior end) เชื่อมกับส่วนสความาโดยราก 2 อัน รากด้านหน้าและรากด้านหลัง
    • รากด้านหลัง (posterior root) เป็นส่วนยื่นของขอบกระดูกบน มีลักษณะเด่น วิ่งจากด้านหลังเหนือปากรูหู (external auditory meatus) และต่อเนื่องกับเส้นขมับ (temporal line)
    • รากด้านหน้า (anterior root) ต่อเนื่องกับขอบล่าง มีลักษณะสั้นแต่กว้างและแข็งแรง ชี้ไปทางด้านใกล้กลางและสิ้นสุดลงเป็นเนินรูปกลม เรียกว่า ปุ่มหน้าแอ่งข้อต่อขากรรไกร (articular tubercle or eminentia articularis)

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Roche Lexicon - illustrated navigator, at Elsevier 34257.000-1