ชุดตัวอักษรทาจิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองโซเวียตทาจิก ประมาณ ค.ศ. 1929 เขียนในอักษรละติน อาหรับ และซีริลลิก (จากบนลงล่าง)

ภาษาทาจิกได้มีการเขียนสามแบบในประวัติศาสตร์ของภาษานี้ได้แก่ การเขียนด้วยอักษรอาหรับ (โดยเฉพาะอักษรเปอร์เซีย) การเขียนด้วยอักษรละติน และการเขียนด้วยอักษรซีริลลิก อักษรอะไรก็ได้ที่ใช้สำหรับเขียนภาษาทาจิกจะถูกเรียกว่า ชุดตัวอักษรทาจิก ซึ่งเขียนว่า алифбои тоҷикӣ ในอักษรซีริลลิก الفبای تاجیکی‎ ในอักษรอาหรับ และ alifboji toçikī ในอักษรละติน

การใช้อักษรที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์ทาจิกิสถาน โดยอักษรอาหรับได้ถูกใช้เป็นครั้งแรก และใช้อักษรละตินในเวลาถัดมา และใช้อักษรซีริลลิกหลังจากอักษรละตินท่ถูกใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งอักษรซีริลลิกนี้ก็ยังคงเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในทาจิกสถาน ซึ่งภาษาถิ่นบูโครีซึ่งพูดโดยชาวยิวบูโครีซึ่งดั้งเดิมใช้อักษรฮีบรู แต่ในปัจจุบันมักจะเขียนโดยใช้อักษรซีริลลิก

การเมือง[แก้]

เช่นเดียวกันกับรัฐหลังสหภาพโซเวียตหลายประเทศ การเปลี่ยนระบบการเขียนและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิ่งนี้มีความเกี่ยวพันกับประเด็นทางการเมืองอย่างใกล้ชิด โดยผู้ที่สนับสนุนอักษรละตินหวังที่จะนำประเทศเข้าใกล้กับอุซเบกิสถาน ซึ่งหันมาใช้ชุดตัวอักษรอุซเบกฐานละติน[1] ผู้ที่เคร่งศาสนา ผู้ที่แนวคิดลัทธิอิสลาม และผู้ที่หวังให้ประเทศเข้าใกล้กับอิหร่าน, อัฟกานิสถาน และมรดกเปอร์เซีย สนับสนุนชุดตัวอักษรเปอร์เซีย และผู้ที่หวังที่จะรักษาสถานะความเป็นกลางและไม่อยากให้ประเทศอยู่ห่างจากรัสเซียมักสนับสนุนอักษรซีริลลิก

ประวัติ[แก้]

เนื่องด้วยอิทธิพลของศาสนาอิสลาม ทำให้ภาษาทาจิกเขียนด้วยชุดตัวอักษรเปอร์เซียจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1920 ฝ่ายโซเวียตเริ่มย่ออักษรเปอร์เซียใน ค.ศ. 1923 ก่อนเปลี่ยนไปใช้ระบบการเขียนฐานละตินใน ค.ศ. 1927[2] ฝ่ายโซเวียตนำอักษรละตินมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเพิ่มการรู้หนังสือและแยกประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือในขณะนั้นให้ห่างจากเอเชียกลางที่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาในทางปฏิบัติ ตรงที่อักษรเปอร์เซียโดยทั่วไปไม่มีอักษรเพียงพอสำหรับระบบเสียงสระในภาษาทาจิก นอกจากนี้ อักษรไร้สระเรียนรู้ได้ยากกว่า เนื่องจากแต่ละตัวอักษรมีรูปเขียนต่างกันตามตำแหน่งตัวอักษร[3]

ต่อมา มีการผ่าน พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการถอดเป็นอักษรโรมัน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1928[4] ภาษาทาจิกรูปแบบละตินอิงจากผลงานของนักวิชาการที่พูดภาษาตุรกีที่มุ่งสร้างชุดตัวอักษรเติร์กให้เป็นหนึ่งเดียว[5]

หลังจากนั้น จึงเริ่มมีการใช้อักษรซีริลลิกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เป็นรัสเซียในเอเชียกลาง[6][7][8][9][10] ภาษานี้ยังคงเขียนด้วยอักษรซีริลิลกจนกระทั่งปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 หลังการแยกตัวของสหภาพโซเวียต จากนั้นใน ค.ศ. 1989 ด้วยการเติบโตของชาตินิยมทาจิก ทำให้มีการร่างกฎหมายให้ภาษาทาจิกเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ กฎหมายยังให้ความเท่าเทียมแก่ภาษาเปอร์เซีย โดยเพิ่มคำว่า Farsi (ชื่อภาษาเปอร์เซียในภาษาของตน) ถัดจากทาจิก กฎหมายยังเรียกร้องให้มีการนำชุดตัวอักษรเปอร์เซีย-อาหรับกลับมาใช้ใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป[11] แต่ใน ค.ศ. 1999 กลับลบคำว่า Farsi ออกจากกฎหมายภาษาแห่งรัฐ[12] ข้อมูลเมื่อ 2004 อักษรซีริลลิกใช้เป็นอักษรมาตรฐานโดยพฤตินัย[13] และข้อมูลเมื่อ 1996 มีประชากรส่วนน้อยมากเท่านั้นที่สามารถอ่านชุดตัวอักษรเปอร์เซียได้[14]

รูปแบบ[แก้]

อักษรเปอร์เซีย[แก้]

รูปแบบอักษรเปอร์เซียของทาจิก ซึ่งเป็นอักษรตระกูลเซมิติก เคยใช้เขียนภาษาทาจิกมาก่อน ในรูปแบบของภาษาทาจิกเหมือนกับอักษรอาหรับ ยกเว้น ا‎ (alef) ไม่มีสระเขียนอยู่ ถ้าต้องการแสดงสระให้ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร

รูปแบบอักษรเปอร์เซียของทาจิก
ذ د خ ح چ ج ث ت پ ب ا
/z/ /d/ /χ/ /h/ /tʃ/ /dʒ/ /s/ /t/ /p/ /b/ /ɔː/
غ ع ظ ط ض ص ش س ژ ز ر
/ʁ/ /ʔ/ /z/ /t/ /z/ /s/ /ʃ/ /s/ /ʒ/ /z/ /ɾ/
ی ه و ن م ل گ ک ف ق
/j/ /h/ /v/ /n/ /m/ /l/ /ɡ/ /k/ /f/ /q/

อักษรละติน[แก้]

หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ Kommunisti Isfara ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1936

อักษรละตินถูกนำมาใช้หลังจากการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเพิ่มความรู้และระยะทางจากอิทธิพลอิสลาม ในรูปแบบแรกของรูปแบบอักษรละตินของทาจิก พบได้แต่อักษรตัวเล็ก ในปี 1926-9 ได้มีการใช้รูปแบบที่แตกต่างกันเล็กน้อยโดยชาวยิวบูโครี ซึ่งเพิ่มสามอักษรที่ไม่มีในภาษาถิ่นอื่น ů, ə̧, และ ḩ[15]

รูปแบบอักษรละตินของทาจิก
A a B ʙ C c Ç ç D d E e F f G g Ƣ ƣ H h I i
/æ/ /b/ /tʃ/ /dʒ/ /d/ /eː/ /f/ /ɡ/ /ʁ/ /h/ /i/
Ъ ъ J j K k L l M m N n O o P p Q q R r S s
/ˈi/ /j/ /k/ /l/ /m/ /n/ /ɔː/ /p/ /q/ /ɾ/ /s/
Ş ş T t U u Ū ū V v X x Z z Ƶ ƶ ʼ
/ʃ/ /t/ /u/ /ɵː/ /v/ /χ/ /z/ /ʒ/ /ʔ/

อักษรแปลก ๆ อย่าง Ƣ เรียกว่า Gha ซึ่งใช้เขียนแทนเสียง /ɣ/ อักษรนี้สามารถเจอได้ในชุดตัวอักษรเตอร์กิกทั่วไปซึ่งพบเจอได้บ่อยในภาษาที่ไม่ใช่ภาษาสลาวิกในสหภาพโซเวียต ซึ่งใช้จนถึงช่วงท้ายของทศวรรษที่ 1930 ปัจจุบันไม่ค่อยมีการใช้งานอักษรละติน แม้ว่าจะมีการนำมาใช้ในบางกลุ่มก็ตาม[16]

อักษรซีริลลิก[แก้]

รายละเอียดที่ข้างหลังธนบัตร 1 รูเบิล โดยมีการแทนที่รูเบิลนี้ใน ค.ศ. 2000 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มากขึ้น

อักษรซีริลลิกได้เริ่มใช้โดยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกในช่วงท้ายของทศวรรษที่ 1930 หลังจาก 1939 เนื้อหาที่ตีพิมพ์ในภาษาเปอร์เซียในตัวอักษรเปอร์เซียถูกห้ามจากประเทศ[17] ตัวอักษรด้านล่างนี้ได้เพิ่มเติมอักษร Щ และ Ы ในปี 1952

รูปแบบอักษรซีริลลิกของทาจิก
А а Б б В в Г г Ғ ғ Д д Е е Ё ё Ж ж З з И и Ӣ ӣ
а бе ве ге ғе де йэ йо же зе и ӣ, и дароз
/æ/ /b/ /v/ /ɡ/ /ʁ/ /d/ /eː/ /jɔː/ /ʒ/ /z/ /i/ /ˈi/
Й й К к Қ қ Л л М м Н н О о П п Р р С с Т т У у
йот ке қе ле ме не о пе ре се те у
/j/ /k/ /q/ /l/ /m/ /n/ /ɔː/ /p/ /ɾ/ /s/ /t/ /u/
Ӯ ӯ Ф ф Х х Ҳ ҳ Ч ч Ҷ ҷ Ш ш Ъ ъ Э э Ю ю Я я
ӯ фе хе ҳе че ҷе ше сакта э йу йа
/ɵː/ /f/ /χ/ /h/ /tʃ/ /dʒ/ /ʃ/ /ʔ/ /eː/ /ju/ /jæ/

นอกจากอักษรพวกนี้แล้ว อักษร ц, щ และ ы สามารถพบได้ในคำยืม แม้ว่าจะถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในการปฏิรูปอักษรปี 1988 เช่นเดียวกับอักษร ь พร้อมกับการคัดค้านการใช้ของอักษรเหล่านี้ การปฏิรูปอักษรครั้งนี้ยังเปลี่ยนลำดับของตัวอักษรซึ่งขณะนี้ตัวอักษรที่มีเครื่องหมายกำกับตามอักษรที่ไม่มีเครื่องหมายพวกนี้ เช่น г, ғ และ к, қ ฯลฯ[18] ซึ่งได้เรียงตามรูปแบบปัจจุบันตามนี้ а б в г ғ д е ё ж з и ӣ й к қ л м н о п р с т у ӯ ф х ҳ ч ҷ ш ъ э ю я ในปี 2010 ก็ได้มีการเสนอว่าจะเอา е ё ю я ออกด้วยเช่นกัน[19] อักษร е และ э ทำหน้าที่เหมือนกัน ยกเว้น э จะใช้เริ่มต้นคำเช่น Эрон, "อิหร่าน"

อักษรช้างล่างนี้คืออักษรที่ไม่ปรากกในชุดตัวอักษรรัสเซีย:

รายละเอียด Г กับบาร์ И กับmacron К กับdescender У กับmacron Х กับdescender Ч กับdescender
อักษร Ғ Ӣ Қ Ӯ Ҳ Ҷ
หน่วยเสียง /ʁ/ /ˈi/ /q/ /ɵː/ /h/ /dʒ/

ในขณะที่เปลี่ยนเป็นอักษรซีริลลิก Ӷ ӷ ยังปรากฏหลายครั้งในตารางอักษรซีริลลิกของทาจิก[20]

อักษรฮีบรู[แก้]

โดยหลักมีการใช้ชุดตัวอักษรฮีบรูในภาษาย่อยยิวบูฆอรอที่ซามาร์คันด์กับบูฆอรอ[21][22] นอกจากนี้ นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1940 เมื่อโรงเรียนยิวในเอเชียกลางปิดตัวลง การใช้งานอักษรฮีบรูจึงลดลงเนื่องจากสิ่งตีพิมพ์ในภาษายิวบูฆอรอหันมาใช้อักษรซีริลลิกแทน

รูปแบบอักษรฮีบรูของทาจิก
גׄ ג׳ ג גּ בּ ב אֵי אִי אוּ אוֹ אָ אַ
/dʒ/ /tʃ/ /ʁ/ /ɡ/ /b/ /v/ /e/ /i/ /u/ /ɵ/ /ɔ/ /a/
מ ם ל כּ ךּ כ ך י טּ ט ח ז׳ ז ו ה דּ ד
/m/ /l/ /k/ /χ/ /j/ /t/ /s/ /ħ/ /ʒ/ /z/ /v/ /h/ /d/ /z/
תּ ת שׂ שׁ ר ק צ ץ פּ ףּ פ ף ע ס נ ן
/t/ /s/ /s/ /ʃ/ /r/ /q/ /ts/ /p/ /f/ /ʔ/ /s/ /n/
ตัวอย่างข้อความ เทียบกับอักษรซีริลลิก

דר מוקאבילי זולם איתיפאק נמאייד. מראם נאמה פרוגרמי פירקהי יאש בוכארייאן.

Дар муқобили зулм иттифоқ намоед. Муромнома – пруграми фирқаи ёш бухориён.[23]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schlyter, B. N. (2003) Sociolinguistic Changes in Transformed Central Asian Societies
  2. Keller, S. (2001) To Moscow, Not Mecca: The Soviet Campaign Against Islam in Central Asia, 1917-1941
  3. Dickens, M. (1988) Soviet Language Policy in Central Asia เก็บถาวร 2011-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Khudonazar, A. (2004) "The Other" in Berkeley Program in Soviet and Post-Soviet Studies, 1 November 2004.
  5. Perry, J. R. (2005) A Tajik Persian Reference Grammar (Boston : Brill) p. 34
  6. ed. Hämmerle 2008, p. 76.
  7. Cavendish 2006, p. 656.
  8. Landau & Kellner-Heinkele 2001, p. 125.
  9. ed. Buyers 2003, p. 132.
  10. Borjian 2005.
  11. ed. Ehteshami 2002, p. 219.
  12. Siddikzoda, S. "Tajik Language: Farsi or not Farsi?" in Media Insight Central Asia #27, August 2002
  13. UNHCHR – Committee for the Elimination of Racial Discrimination – Summary Record of the 1659th Meeting : Tajikistan. 17 August 2004. CERD/C/SR.1659
  14. Library of Congress Country Study – Tajikistan
  15. Perry, J. R. (2005) A Tajik Persian Reference Grammar (Boston : Brill) p. 35
  16. Schlyter, B. N. (2003) Sociolinguistic Changes in Transformed Central Asian Societies
  17. Perry, J. R. (1996) "Tajik literature: Seventy years is longer than the millennium" in World Literature Today, Vol. 70 Issue 3, p. 571
  18. Perry, J. R. (2005) A Tajik Persian Reference Grammar (Boston : Brill) p. 36
  19. "Судьба «русских букв» в таджикском алфавите будет решаться". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2018-11-08.
  20. Ido, S. (2005) Tajik (München : Lincom GmbH) p. 8
  21. Gitelman, Zvi Y (2001). A Century of Ambivalence: The Jews of Russia and the Soviet Union, 1881 to the Present. Indiana University Press. p. 203. ISBN 9780253214188.
  22. Изд-во Академии наук СССР (1975). "Вопросы языкознания". Вопросы языкознания: 39.
  23. Rzehak, L. (2001) Vom Persischen zum Tadschikischen. Sprachliches Handeln und Sprachplanung in Transoxanien zwischen Tradition, Moderne und Sowjetunion (1900-1956) (Wiesbaden : Reichert)

ข้อมูล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]