ชาวปาร์ซี
![]() หญิงชาวปาร์ซีในอินเดีย | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
![]() | 69,000 (พ.ศ. 2557)[1][2] |
![]() | 20,000 (พ.ศ. 2559)[3] |
ภาษา | |
อังกฤษ (อินเดียหรือปากีสถาน), คุชราต และฮินดูสตานี | |
ศาสนา | |
โซโรอัสเตอร์ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
อีรานี |
ปาร์ซี (คือชาวเปอร์เซีย ในภาษาเปอร์เซีย) คือกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคอนุทวีปอินเดียซึ่งนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ มีบรรพชนอพยพจากจักรวรรดิซาเซเนียน (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิหร่าน) เข้าไปตั้งถิ่นฐานหลักแหล่งอยู่ในอินเดีย หลังการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิมของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 การอพยพของชาวอิหร่านที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์มีสองระลอกใหญ่ ชาวปาร์ซีเป็นกลุ่มผู้อพยพสู่อนุทวีประลอกแรก หลังจากนั้นอีกหลายศตวรรษ มีการอพยพระลอกสองในยุคราชวงศ์กอญัรตรงกับคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่จะเรียกชนกลุ่มนี้ว่า อีรานี (แปลว่าชาวอิหร่าน) ซึ่งมีขนบธรรมเนียมแตกต่างออกไปและมีขนาดที่เล็กกว่า[4]
ก่อนการพิชิตดินแดนของชาวมุสลิม ศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิซาเซเนียน อันเป็นศาสนาที่มีประชาชนส่วนใหญ่นับถือในช่วงเวลานั้น ในเอกสาร Qissa-i Sanjan ระบุว่าชาวปาร์ซีเริ่มลี้ภัยเข้าสู่รัฐคุชราตช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 เพื่อหลบหนีการกดขี่ศาสนา หลังจักรวรรดิซาเซเนียนถูกกองทัพมุสลิมพิชิตดินแดน[5][6][7][8][9][10][11] มีชาวเปอร์เซียหลายคนก่อการกบฏ สู้รบประหัตประหารกับกองทัพของรอชิดุน และเคาะลีฟะฮ์คนอื่น ๆ ยาวนานถึงสองร้อยปี[12] แต่ช่วงเวลาเดียวกันนั้น มีชาวเปอร์เซียบางส่วนเลือกที่จะรักษาอัตลักษณ์ทางศาสนาของตนเองและลี้ภัยเข้าสู่ดินแดนอินเดีย[13] พวกเขาเรียกตัวเองว่า "ปาร์ซี" และกลายเป็นคำที่ใช้เรียกชาวอิหร่านที่ยังนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์[14]
ในประเทศไทย มีชาวปาร์ซีอพยพสู่ไทยตั้งแต่การเปิดเสรีการค้าจากสนธิสัญญาเบอร์นีเมื่อปี พ.ศ. 2368 เพราะปรากฏหลุมศพในสุสานปาร์ซีที่เก่าที่สุด ระบุปีมรณกรรมของผู้ตายไว้ในปี พ.ศ. 2373[15] ชาวปาร์ซีจะปรับตัวให้กลมกลืนไปกับชนส่วนใหญ่ ไม่สู้เผยแผ่ศาสนาและวัฒนธรรมของตน[16] เบื้องต้นชาวปาร์ซีรับราชการอยู่ในกรมรถไฟหลวง ยุคหลังก็พบว่าพวกเขาประกอบธุรกิจอื่น เช่น ตระกูลบีโรซา ทำกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้า ต่อมาลูกหลานมีบทบาทด้านการพยาบาล และตระกูลเปสตันยี ที่มีชื่อเสียงในแวดวงภาพยนตร์ คือ รัตน์ เปสตันยี[15]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ (26 November 2014). "India's declining Parsi population เก็บถาวร 2020-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Al Jazeera.
- ↑ Dean Nelson. "India's dwindling Parsi population to be boosted with fertility clinics". The Telegraph.
- ↑ "Parsis of Pakistan". DAWN. July 22, 2016. สืบค้นเมื่อ 29 June 2022.
- ↑ Ganesh, Kamala (2008). "Intra-community Dissent and Dialogue: The Bombay Parsis and the Zoroastrian Diaspora". Sociological Bulletin. 57 (3): 315–336. doi:10.1177/0038022920080301. JSTOR 23620804. S2CID 148248437.
- ↑ Hodivala 1920, p. 88.
- ↑ Boyce 2001, p. 148.
- ↑ Lambton 1981, p. 205.
- ↑ Nigosian 1993, p. 42.
- ↑ Khanbaghi 2006, p. 17.
- ↑ Jackson 1906, p. 27
- ↑ Bleeker & Widengren 1971, p. 212
- ↑ Akram, A. I.; al-Mehri, A. B. (2009-09-01). The Muslim Conquest of Persia. Maktabah Publications. ISBN 9780954866532.
- ↑ PARSI COMMUNITIES i. EARLY HISTORY – Encyclopaedia Iranica. Iranicaonline.org (2008-07-20). Retrieved on 2013-07-28.
- ↑ Parsee, n. and adj. - Oxford English Dictionary. oed.com. Retrieved on 2015-03-03.
- ↑ 15.0 15.1 จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์, ดร. (4 ธันวาคม 2560). "ปาร์ซีแห่งสยามกับการนำสยามสู่ความทันสมัย". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ศตนันทน์ สุทิฏฐานุคติ (28 มกราคม 2563). "สืบร่องรอยชาวอินเดียในไทยบนถนนสีลม-เจริญกรุง". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)