ข้ามไปเนื้อหา

ชาวกริซตัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กริซตัง
ชาวกริซตังในมะละกาขณะแสดงการเต้นรำแบบดั้งเดิม
ประชากรทั้งหมด
37,000 คน[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 มาเลเซีย (มะละกา, กัวลาลัมเปอร์, ปีนัง)
 สิงคโปร์
ภาษา
กริซตัง · อังกฤษ · มลายู
ศาสนา
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ส่วนน้อย: ศาสนายูดาห์ และฆราวาสนิยม
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ยูเรเชีย · มาร์ดิจเกอร์ · คริสตังกัว · โปรตุเกสพลัดถิ่น · ภูมิบุตร · ยิว

กริซตัง (มลายู: Kristang, เรียกว่า "ยูเรเชียเชื้อสายโปรตุเกส" หรือ "โปรตุเกสมะละกา") หรือ เซอรานี (Serani) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลูกผสมระหว่างคนโปรตุเกสกับชนพื้นเมืองในมะละกา พวกเขาตั้งถิ่นฐานในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ นอกจากโปรตุเกสแล้วพวกเขาได้รับอิทธิพลหรือมีเชื้อสายจากดัตช์ อังกฤษ ยิว มลายู จีน และอินเดีย ผ่านการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นเรื่องปรกติในหมู่ชาวกริซตัง หลังเกิดการล้างบางชาวยิวในโปรตุเกส ชาวยิวเหล่านี้ได้หลอมรวมกับกับชาวกริซตังในมะละกาในเวลาต่อมา[2] วัฒนธรรมลูกผสมนี้ก่อตัวในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ในช่วงที่เมืองมะละกาตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิโปรตุเกส ลูกหลานกริซตังบางคนยังพูดภาษากริซตัง ซึ่งเป็นภาษาโปรตุเกสลูกผสม[3] ภาษามลายูเองก็ยืมคำจากภาษากริซตังไปใช้จำนวนมาก

ชาวกริซตังเกิดจากการที่ชายชาวโปรตุเกส สมรสข้ามชาติพันธุ์กับชนพื้นเมืองในมะละกา เพราะช่วงแรกของการตั้งอาณานิคมนั้นไม่มีผู้หญิงโปรตุเกสอยู่เลย แต่ปัจจุบันชาวกริซตังมักจะสมรสกับชาวจีนและอินเดียมากกว่ามลายูเพราะกฎหมายศาสนา หากคนนอกศาสนาจะสมรสกับชาวมุสลิมก็ต้องเข้ารีตนับถือศาสนาอิสลามเสียก่อน ซึ่งชาวกริซตังนั้นค่อนข้างจะหวงแหนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนและไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา ซึ่งเมื่อศตวรรษก่อน คนกริซตังสามารถสมรสกับคนมลายูได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา

ชื่อ กริซตัง (Kristang) มาจากคำว่า กริชเตา (Cristão) ที่แปลว่า "คริสต์ศาสนิกชน" ในภาษาโปรตุเกส และมีคำเรียกเชิงเหยียดหยันว่า กราโก (Grago) หรือ กราโกะก์ (Gragok) มาจากคำว่า กามาเรา (camarão) ที่แปลว่า "กุ้ง" ในภาษาโปรตุเกส ที่สื่อถึงอาชีพดั้งเดิมคือชาวประมงตกกุ้งในมะละกา[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "People, Culture & Politics".
  2. Humanistic & Secular Jews Build Communities and Congregations Worldwide: Malaysia "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2010.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. Language Is the Soul of our Kristang Heritage เก็บถาวร 28 พฤษภาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Joan Marbeck Website, accessed 12 June 2009.
  4. Julian Wong, "When Exactly Can You Call an Eurasian a ‘Grago’?" [1] เก็บถาวร 2021-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน/