ฉบับร่าง:อุโมงค์ประวัติศาสตร์ เขาน้ำค้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ด้านหน้าทางเข้าอุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง
ภายในอุโมงค์ประวัติศาสตร์ เขาน้ำค้าง

อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง (อังกฤษ: Khao Nam Khang Historical Tunnel) หรือหมู่บ้านปิยมิตร 5 ตั้งอยู่ในบริเวณเขาน้ำค้าง หมู่ที่ 1 ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้เป็นหมู่บ้านคอมมิวนิสต์ มีการสร้างอุโมงค์ในภูเขาเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและหลบภัย แต่หลังจากการสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลเกือบ 40 ปี พรรคคอมมิวนิสต์ก็ประกาศยุติการต่อสู้ และเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้างสร้างจากดินเหนียว เป็นอุโมงค์ที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย ขุดด้วยกำลังคน ใช้เวลาประมาณ 2 ปี ภายในแบ่งเป็นสามช่องทาง ลึก 3 ชั้น มีช่องทางเข้า-ออก 16 ช่อง มีบันไดเชื่อมระหว่างชั้น ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงภายในอุโมงค์ยาว 1 กิโลเมตร ภายในอุโมงค์แบ่งออกเป็นห้อง ๆ เช่น ห้องประชุม ห้องพยาบาล ห้องวิทยุ ห้องครัว สนามซ้อมยิงปืน เป็นต้น และยังมียาสมุนไพรจำหน่าย เปิดให้เข้าชมทุกวัน ค่าเข้าชมคนละ 20 บาท[1][2]

ประวัติเเละความเป็นมา[แก้]

ห้องผ่าตัดภายในอุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง
ห้องครัวภายในอุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง

เขาน้ำค้าง เป็นยอดเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี สมัยโบราณคนที่เคยขึ้นไปบนยอดเขาจะเห็นมีน้ำค้างเป็นเกล็ดอยู่ตามยอดหญ้า ลักษณะเป็นใยแมงมุมแม้แต่ตอนเที่ยงวันก็มีน้ำค้างประปรายอยู่บนยอดหญ้าซึ่งเป็นสภาพที่แปลกเป็นอย่างยิ่ง จึงเรียกขานกันว่า “เขาน้ำค้าง” เขาน้ำค้าง เป็นเสมือนเขตหวงห้ามเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอยู่ในความยึดครองของ ผู้ก่อการร้ายโจรจีนคอมมิวนิสต์ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่ภูมิประเทศเป็นถิ่นทุรกันดาร เทือกเขาสลับซับซ้อน ทำให้เป็นฐานปฏิบัติการใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของแถบนี้ แต่ในที่สุด จากการปฏิบัติการตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น โดยนำนโยบายการเมืองนำการทหาร กองทัพภาคที่ 4 และหน่วยผสมพลเรือนตำรวจทหารที่ 43 (พตท.43) ได้นำนโยบายนี้เข้าปฏิบัติการ สามารถเข้ายึดค่ายปฏิบัติการได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2523 ทำให้โจรจีนคอมมิวนิสต์สลายตัวไปในที่สุด

จึงเกิดเรื่องราวประวัติศาสตร์ขึ้นมากมายที่อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง “อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเขาน้ำค้าง หมู่ที่ 1 ต.คลองกวาง อ.นาทวี จ.สงขลา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กม. สถานที่แห่งนี้รู้จักกันในนามหมู่บ้านปิยมิตร 5 ในอดีตเป็นหมู่บ้านของบรรดาผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[3] หลังจากการสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลเกือบ 40 ปี พรรคคอมมิวนิสต์ได้ประกาศยุติการสู้รบ เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อปี 2530 สถานที่น่าสนใจ คือ อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ และยาวที่สุดในประเทศไทย ขุดด้วยกำลังคน 200 คนต่อวัน ใช้เวลาประมาณ 2 ปี เมื่อปี พ.ศ.2515 เป็นที่หลบภัย แหล่งอาวุธ ฐานบัญชาการ สถานพยาบาล โรงเรียนสอนการเมือง ลัทธิมาร์คซ์-เลนิน สายรัฐเซีย หรือความคิดประธานเหมา เจ๋อ ตง ภายในแบ่งเป็น 3 ชั้น มีทางเข้าออก 16 ช่องทาง ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงในภายในอุโมงค์ประมาณ 1,000 เมตร สามารถบรรจุคนได้ประมาณ 200 คน[4][5]

ผู้ร่วมประวัติศาสตร์ของโจรจีนคอมมิวนิสต์[แก้]

ปัจจุบันยังมีเหล่าสหายที่มีชีวิตอยู่ อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านปิยะมิตร 5 อีกร่วม 100 คน และที่หมู่บ้านปิยะมิตร 1-4 ซึ่งอยู่ที่ อ.เบตง ส่วนที่จังหวัดยะลา ก็มีหมู่บ้านจุฬาภรณ์อีกหลายหมู่บ้าน

ภาพถ่ายผู้ก่อการร้ายโจรจีนคอมมิวนิสต์ภายในอุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง


เเหล่งข้อมูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "อุโมงค์เขาน้ำค้าง ถ้ำขุดมือโบราณเย็นสบายเหมือนติดแอร์". https://travel.trueid.net. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  2. "เที่ยวสุขใจ-ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ที่"อุโมงค์เขาน้ำค้าง"". คมชัดลึกออนไลน์. 2018-08-31.
  3. Thailand, Teenee Media co Ltd. "เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม". teenee.com.
  4. "ย้อนรอยประวัติศาสตร์ "อุโมงค์เขาน้ำค้าง" ฐานที่มั่น พ.ค.ม." mgronline.com. 2012-05-20.
  5. "อุโมงค์เขาน้ำค้างเรื่องราวโจรจีนคอมมิวนิสต์บนแผ่นดินปลายด้ามขวาน". posttoday. 2018-08-01.