ฉบับร่าง:สมปอง คล้ายหนองสรวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: อ้างอิงที่หนึ่งเสียเข้าไม่ได้ การเขียนไม่ใช่สารานุกรมเขียนไม่เป็นกลางเหมือนมาโฆษณาตัวบุคคลและที่สำคัญที่สุดคือหัวเรื่องไม่โดดเด่น ศาสตราจารย์ท่านนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักมากพอที่จะเป็นบทความในวิกิพีเดีย Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 21:10, 29 มีนาคม 2567 (+07)

ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง
ปีปฏิบัติงาน2 พฤษภาคม 2565 - ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อดีตผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการบริหารระบบงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

การศึกษา[แก้]

ปีที่สำเร็จ ระดับปริญญา สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอก ชื่อสถาบัน ประเทศ
2533 ปริญญาตรี เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
2539 ปริญญาโท วิทยาศาสตร์ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย
2545 ปริญญาเอก ชีวเคมี Protein chemistry & enzymology Kyushu Tokai University ประเทศญี่ปุ่น

ประวัติการทำงาน[แก้]

ตำแหน่งบริหาร[แก้]

พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน[แก้]

  • ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)[1]

พ.ศ. 2564 – 2565[แก้]

มิถุนายน พ.ศ. 2563 - 2565[แก้]

มิถุนายน พ.ศ. 2562 - 2563[แก้]

พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - มิถุนายน พ.ศ. 2563[แก้]

พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - 2561[แก้]

ตุลาคม พ.ศ. 2556 - กันยายน พ.ศ. 2558[แก้]

พ.ศ. 2554 - 2556[แก้]

พ.ศ. 2551 - 2554[แก้]

พ.ศ. 2549 - 2551[แก้]

ตำแหน่งบริหารอื่น ๆ[แก้]

พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน[แก้]

  • อนุกรรมการด้านการพิจารณากรอบวงเงินและแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • อนุกรรมการด้านมาตรฐานการวิจัยและจริยธรรมการวิจัย
  • อนุกรรมการด้านการเงินและงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • อนุกรรมการด้านการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ ของสถาบันวัคซีนแห่งประเทศไทย
  • อนุกรรมการการวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพร ของกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
  • คณะทำงานติดตามและประเมินผลทางวิชาการโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  • คณะทำงานของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ) ร่วมกับ ทปอ. วิจัย
  • คณะกรรมการบริหารสมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย
  • คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำแหน่งบริหารอื่น ๆ[แก้]

  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ประจำภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539
  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหนผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาชีวเคมี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546
  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาชีวเคมี เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550
  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาชีวเคมี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ผลงานด้านการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิต[แก้]

ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง เป็นอาจารย์นักวิจัย สาขาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี ของการทำหน้าที่นี้ ท่านได้ทุ่มเท มุ่งมั่น และมีจิตวิญญาณของความเป็นครูในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบบูรณาการ โดยเริ่มจาก teaching-based learning ไปสู่ research-based learning หรือ evident-based learning ซึ่งเป็นหลักการสอนที่นำเอาผลงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเห็นผลสัมฤทธิ์การเรียนจากการลงมือปฏิบัติจริงของนักศึกษา นอกจากนี้ยังได้สร้างและผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สาขาชีวเคมีทั้งระดับปริญญาตรี จำนวนมากกว่า 200 คน ปริญญาโท จำนวน 16 คน และปริญญาเอก จำนวน 21 คน

ผลงานด้านการวิจัย[แก้]

ในด้านการเป็นนักวิจัยนั้น ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ได้นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้กับงานวิจัย ภายใต้ระบบการเรียนการสอนแบบ research-based learning ซึ่งส่งผลให้ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง นำส่งองค์ความรู้เชิงวิชาการเผยแพร่ในรูปแบบบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากกว่า 110 เรื่อง ซึ่งมีค่า H-index อยู่ที่ 23 และผลงานวิจัยถูกอ้างอิงทั้งสิ้นกว่า 1,246 ครั้ง ไม่แต่เพียงเท่านี้ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นยังสามารถเผยแพร่ในรูปแบบสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร จำนวน 8 เรื่อง

ยิ่งไปกว่านั้น ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการตกผลึกองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดในวงวิชาการ ทั้งในด้านของการเรียนการสอน และเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานการวิจัย ทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับประเทศ จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งหมดโดยผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ จนสามารถผลิตหนังสือและตำราทางวิชาการจำนวน 5 เรื่อง โดยตำราวิชาการที่โดดเด่นคือ เปปไทด์ต้านจุลชีพในสัตว์เลื้อยคลาน[4] มีเนื้อหาครอบคลุมประวัติการค้นพบเปปไทด์สมัยยุคทองของยาปฏิชีวนะ

จนถึงปัจจุบันที่มีปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น รวมถึงความเป็นไปได้ในการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน การค้นพบเปปไทด์ต้านจุลชีพในกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานทั้งในระดับยีนและโปรตีน รวมทั้งข้อมูลทางชีวโมเลกุล โดยจัดแบ่งโปรตีนและเปปไทด์ออกเป็นกลุ่มตามโครงสร้าง ซึ่งโครงสร้างของเปปไทด์นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลไกการทำลายเซลล์เมมเบรนของเชื้อก่อโรค

นอกจากนี้ยังประกอบด้วยเนื้อหาเบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลเปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ (antimicrobial peptides database) เพื่อให้สามารถสืบค้นเปปไทด์ออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการออกแบบเปปไทด์ให้มีฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการโดยอาศัยซอฟท์แวร์ และข้อมูลทางสถิติจากฐานข้อมูล ตลอดจนข้อมูลเชิงบูรณาการเกี่ยวกับการพัฒนา และการประยุกต์ใช้เปปไทด์ต้านจุลชีพทั้งทางด้านคลินิก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และเวชสำอาง และการนำเปปไทด์ไปใช้ประโยชน์ในแง่ของการนำไปใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะเพื่อลดปัญหาการดื้อยาของเชื้อก่อโรคในปัจจุบัน อีกทั้งยังบ่งชี้แนวทางการใช้ประโยชน์เปปไทด์ต้านจุลชีพเพื่อรักษาหรือทำลายเซลล์อื่น อาทิ เซลล์มะเร็ง และการรักษาโรคผิวหนัง ตลอดจนแนวทางในการศึกษาวิจัยเปปไทด์จากจระเข้เพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคตอย่างยั่งยืน

ผลงานด้านการสร้างเครือข่ายอาจารย์นักวิจัยกับภาคเอกชน[แก้]

ปัจจุบันศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโปตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม (ศปพ.) ได้พัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดไปเป็นนวัตกรรมในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมออกสู่ท้องตลาด โดยร่วมมือกับบริษัท ศรีราชาโมด้า จำกัด ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ เลือดจระเข้โมด้าพลาส

นอกจากนี้ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเปปไทด์ที่ได้จากไข่ขาวของไข่ไก่ ภายใต้ชื่อโครงการ เปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากอุตสาหกรรมไก่ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าไข่ไก่และแก้ไขปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด โดยร่วมมือกับบริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญจาก 3 มหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้จะก่อให้เกิดการผลิตนวัตกรรมทางด้านการส่งเสริมสุขภาพเชิงพาณิชย์ได้อย่างมากมาย

เหนือสิ่งอื่นใดนั้นศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ยังมุ่งมั่นและทุ่มเทสนับสนุนอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาของศูนย์วิจัยโปรตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม ให้มีความเจริญก้าวหน้าในสายงานวิชาการอีกด้วย โดยการหาแหล่งทุนเพื่องานวิจัย เพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงทุนสนับสนุนการฝึกอบรม และสัมมนาวิชาการต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ทักษะในงานวิจัย และเพิ่มเครือข่ายงานวิจัยในอนาคต เพื่อสร้าง Career Path ที่ชัดเจนให้กับนักวิจัย

ผลงานด้านการบริหารงานวิจัย[แก้]

ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง เริ่มดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารในตำแหน่ง รองหัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาจึงก่อตั้งศูนย์วิจัยโปรตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม (ศปพ.) และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ

ลำดับต่อมาศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลักดัน ขับเคลื่อน และบริหารงบประมาณด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มากกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการจัดอันดับด้านวิจัยและนวัตกรรมเป็น 1 ใน 4 ของประเทศไทย

นอกจากนี้ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ยังดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และรักษาการรองผู้อำนวยการ ฝ่ายโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก และผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้บริหารและจัดการงานวิจัยด้านการสร้างองค์ความรู้และพัฒนานักวิจัยในระดับประเทศเป็นงบประมาณกว่า 1,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพจำนวนกว่า 3,000 คน และดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านการบริหารระบบงบประมาณ และตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการบริหารระบบงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทำหน้าที่ในการแปลงแผนงานสู่การปฏิบัติ โดยการผลักดัน ขับเคลื่อนระบบงบประมาณ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ให้จัดสรรผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างมีประสิทธิภาพเข้าสู่กองทุนฯ เป็นจำนวน 32,471 ล้านบาท ในระยะเวลา 2 ปี

รางวัลสำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [ผู้บริหาร,https://pmu-hr.or.th/pmub-director/,หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)]
  2. [ทำเนียบคณบดี,https://sc.kku.ac.th/sciweb/dean-history.php ,คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]
  3. [ผู้บริหาร,http://procci.kku.ac.th/welcome/detail/Executive ,ศูนย์วิจัยโปรตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม (ศปพ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น]
  4. [หนังสือเปปไทด์ต้านจุลชีพในสัตว์เลื้อยคลาน โดย ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง, https://sc2.kku.ac.th/biochem/index.php/th/download-resource/60-2018-06-15-07-10-56]
  5. [Hall of Fame, https://sc.kku.ac.th/sciweb/hall-of-fame.php?id=1&idt=1 ,คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]
  6. [ศิษย์เก่าดีเด่นประเภทวิชาการ/วิจัย, https://gralumni.mahidol.ac.th/distinguished-alumni2556-2560/,ประจำปี 2560]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจําปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒ เล่มที่ ๐๑๕/๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑ เล่มที่ ๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔