จูราสสิค พาร์ค อาร์เคด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จูราสสิค พาร์ค อาร์เคด
ผู้พัฒนารอว์ทริลส์
โปรแกรมเมอร์จอห์น สกอตต์
ศิลปินเนต แวนเดอร์แคมป์
ชุดจูราสสิค พาร์ค
เครื่องเล่นเกมอาร์เคด
วางจำหน่าย
แนวเกมยิงที่ไม่ต้องเดิน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

จูราสสิค พาร์ค อาร์เคด (อังกฤษ: Jurassic Park Arcade) เป็นเกมอาร์เคดไลต์กัน ค.ศ. 2015 ที่พัฒนาโดยบริษัทรอว์ทริลส์ ซึ่งเกมดังกล่าวสร้างจากภาพยนตร์สามภาคแรกของซีรีส์จูราสสิค พาร์ค[1]

รูปแบบการเล่น[แก้]

จูราสสิค พาร์ค อาร์เคด มีทั้งหมดเก้าด่าน[2] โดยมีฉากอยู่ในสวนสนุกจูราสสิค พาร์ค บนเกาะสมมุติที่ชื่ออิสลา นูบลาร์[3] ทีมรักษาความปลอดภัยได้ถูกส่งไปเพื่อนำไดโนเสาร์หนึ่งตัวจากแต่ละสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนเกาะกลับคืนมา[3] ซึ่งเริ่มมีอารมณ์ผันผวนเนื่องจากภูเขาไฟที่ปะทุ[4][5] ส่วนเพื่อนร่วมงานของตัวเอกที่ถูกทิ้งไว้ในสวนก็ต้องได้รับการปกป้องเช่นกัน[5] ทั้งนี้ อาวุธห้าชนิดมีให้สำหรับผู้เล่นตลอดทั้งเกม ศัตรูบอสสามตัวจะต้องทำให้แพ้ตลอดทั้งเกม ได้แก่ ไทรเซราทอปส์, ไทแรนโนซอรัส และสไปโนซอรัส[1][6] ส่วนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ปรากฏในฐานะศัตรูตัวเล็ก ๆ ตลอดทั้งเกม ได้แก่ วิลอซิแรปเตอร์, ยูทาห์แรปเตอร์, ไดโลโฟซอรัส, ไมโครแรปเตอร์, คอมป์ซอกนาทัส, แบรคิโอซอรัส, สเตโกซอรัส และทิแรโนดอน[4]

การพัฒนา[แก้]

การพัฒนาเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2011[7] ซึ่งกินเวลานานกว่าสามปี และมีมูลค่า 4 ล้านดอลลาร์[1] ทีมพัฒนาได้ศึกษาเกมจูราสสิค พาร์ค ก่อนหน้านี้ รวมถึงฉากที่เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ จากภาพยนตร์สามภาคแรกในซีรีส์ ผู้พัฒนาได้รับตู้เกมจูราสสิค พาร์ค อาร์เคดดั้งเดิมจากภาพยนตร์ภาคแรก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขานำเกมแอ็คชันที่เคลื่อนไหวรวดเร็วมาใช้กับจูราสสิค พาร์ค อาร์เคด และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เลือกที่จะวางเกมในอิสลา นูบลาร์ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของภาพยนตร์ภาคแรก แทนที่จะเป็นอิสลา ซอร์นา เพื่อรวมสถานที่อันเป็นสัญลักษณ์จากภาพยนตร์ภาคแรก ตลอดจนผู้พัฒนาต้องการนำเสนอเรื่องราวที่ผู้เล่นจะต้องจับกุมไดโนเสาร์ที่สัญจรไปมาอย่างเสรี โดยไม่เหมือนกับในภาพยนตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการหลบหนีไดโนเสาร์[6][8]

จอห์น สกอตต์ เป็นหัวหน้าโปรแกรมเมอร์ของเกมนี้ ส่วนเนต แวนเดอร์แคมป์ หัวหน้าศิลปินของเกมและหนึ่งในนักออกแบบเกมหลักกล่าวว่าสถานที่และสิ่งมีชีวิตที่วางแผนไว้จำนวนมากไม่ได้เข้าสู่เกมในระหว่างการพัฒนา โดยเผยว่า "ผมค่อนข้างแน่ใจว่าในตอนท้ายเราได้ตัดความคิดมากกว่าที่ทำจริงเข้าไปในเกม" แรกเริ่มเดิมที นักพัฒนาหวังว่าจะรวมสัตว์เลื้อยคลานในน้ำ เช่นเดียวกับด่านที่อาจเกิดขึ้นในเมือง โดยในขั้นต้น ผู้พัฒนายังวางแผนที่จะรวมศัตรูอย่างบอสไดโนเสาร์เก้าตัว ซึ่งประกอบด้วยไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดและน่ากลัวที่สุด กระทั่งผู้พัฒนาตัดสินใจเลือกไดโนเสาร์สามตัวแทน อันได้แก่ สไปโนซอรัส, ไทรเซราทอปส์ และไทแรนโนซอรัส โดยสัตว์เหล่านี้ "ได้ทำดีที่สุดแล้ว" สำหรับรูปแบบการต่อสู้ที่ใช้ในเกมในขณะที่ให้ความหลากหลายแก่ผู้เล่น[6][8]

ทีมพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยทำงานในเกมยิงปืนมาก่อน ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายทางเทคนิคต่าง ๆ ในการทำงานกับเกมเอนจินใหม่และซอฟต์แวร์ 3 มิติใหม่ แวนเดอร์แคมป์กล่าวว่าความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการเว้นจังหวะอย่างเหมาะสม โดยเผยว่า "การสร้างสมดุลระหว่างฉากแอ็กชันและฉากโจมตี แต่ยังคงให้เวลาผู้เล่นได้หายใจและจัดกลุ่มใหม่ ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดและเป็นกระบวนการเรียนรู้สำหรับพวกเราทุกคน"[6][8] โดยบริษัทรอว์ทริลส์ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัทยูนิเวอร์แซล เพื่อให้แน่ใจว่าไดโนเสาร์ของเกมนั้นคล้ายกับไดโนเสาร์ในชีวิตจริง ในขณะที่ยังคงรูปลักษณ์ของพวกมันจากภาพยนตร์ และเพื่อสะท้อนถึงการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ล่าสุด ไดโนเสาร์ในเกมบางตัวจึงเคลื่อนไหวด้วยขนนกและสีผิวที่สดใส[1] ซึ่งเกมนี้ได้รับการเปิดตัวครั้งแรกที่สมาคมสวนสนุกและสถานที่ท่องเที่ยวนานาชาติในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 และต่อมาได้รับการแสดงที่อีเอจีเอ็กซ์โปของสหราชอาณาจักรในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015[3]

การตลาด[แก้]

ตู้นั่งแบบปกติได้รับการเปิดตัวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 และตู้แบบดีเป็นพิเศษพร้อมที่นั่งแบบเคลื่อนไหวได้ได้รับการเปิดตัวในเดือนเมษายน ค.ศ. 2015[2][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Q&A On Jurassic Park Arcade With Eugene Jarvis". ArcadeHeroes.com. February 23, 2015. สืบค้นเมื่อ April 15, 2015.
  2. 2.0 2.1 "New Jurassic Park Arcade Flyer & Release Times". ArcadeHeroes.com. February 19, 2015. สืบค้นเมื่อ April 15, 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 West, Rebecca (January 20, 2015). "'Jurassic Park' Arcade Game Leaked Footage And World Release Date: Coming Soon In 2015". Design & Trend. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-01. สืบค้นเมื่อ April 15, 2015.
  4. 4.0 4.1 Raw Thrills (March 1, 2015). Jurassic Park Arcade (Arcade).
  5. 5.0 5.1 "Arkad-feber" [Arcade fever]. Robot (ภาษาสวีเดน). No. 1. Stockholm: Reset Media. 2016. p. 6, sec. Jurassic Park Arcade. ISSN 1653-3712.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Malone, Joshua (September 15, 2016). "Interview with John Scott - Lead Programmer for Jurassic Park Arcade (2015)". Jurassic Outpost. สืบค้นเมื่อ September 15, 2016.
  7. "IAAPA 2014 Day 2: Star Wars Battle Pod, Showdown, Jurassic Park, Pump It Up PRIME 2015, Candy Crush Saga + More". ArcadeHeroes.com. November 18, 2014. สืบค้นเมื่อ April 15, 2015.
  8. 8.0 8.1 8.2 Malone, Joshua (September 15, 2016). "Interview with Nate Vanderkamp - Lead Artist and Primary Game Designer for Jurassic Park Arcade (2015)". Jurassic Outpost. สืบค้นเมื่อ September 15, 2016.
  9. "No Fooling: Jurassic Park Arcade Unboxing". ArcadeHeroes.com. April 1, 2015. สืบค้นเมื่อ April 15, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]