ข้ามไปเนื้อหา

ค็อมร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ค็อมร์ (อาหรับ: خمر) เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับที่แปลว่าไวน์; (รูปพหุพจน์ คุมูร (อาหรับ: خمور) อธิบายเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, สุรา)[1][แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ] ในนิติศาสตร์อิสลาม อิงถึงสารที่ต้องห้าม และความหมายทางวิชาการจะขึ้นอยู่กับสำนักกฎหมาย นักกฏหมายจากมัซฮับมาลิกี, ชาฟิอี และฮันบะลีมีมุมมองเป็นความหมายทั่วไปของน้ำเมาที่ทำมาจากองุ่น, อินทผลัม และวัตถุดิบที่คล้ายกัน[2] ส่วนฮะนะฟีจะกล่าวถึงเครื่องดื่มในวงแคบกว่าอันแรก[2] ล่วงเวลาผ่านไป นักกฎหมายบางคนจัดให้ของมึนเมาอื่น ๆ เช่น ฝิ่นกับคัตเป็น ค็อมร์ ตามฮะดีษที่กล่าวว่า:

ท่านศาสดากล่าวว่า: ทุก ๆ ของมึนเมาเป็นค็อมร์ และทุก ๆ ค็อมร์นั้นฮะรอม (ต้องห้าม)[2][3]

ตามธรรมเนียมของศาสดามุฮัมมัดที่ระบุถึงค็อมร์ว่า อาจทำมาจากพืชสองต้น คือ องุ่นและอินทผลัม[4]

นักกฎหมายมุสลิมบางคน (โดยเฉพาะสำนักฮะนะฟี) ถือแนวคิดแบบตรงตัวและห้ามเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำมาจากองุ่น (หรืออินทผลัม) โดยอนุญาตเครื่องดื่มที่ทำมาจากผลไม้อื่น, เมล็ดธัญพืช หรือน้ำผึ้ง อย่างไรก็ตาม นี่คือความคิดเห็นของคนส่วนน้อยเท่านั้น[5][6]

กุรอานและฮะดีษ

[แก้]

กุรอานได้กล่าวถึงการหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ว่า

พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับน้ำเมา (ค็อมร์) และการพนัน จงกล่าวเถิดว่า ในทั้งสองนั้นมีโทษมากและมีคุณหลายอย่างแก่มนุษย์ แต่โทษของมันทั้งสองนั้นมากกว่าคุณของมัน...

— กุรอาน 2:219, [7]

"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่าเข้าใกล้การละหมาด ขณะที่พวกเจ้ากำลังมันเมาอยู่ จนกว่าพวกเจ้าจะรู้ สิ่งที่พวกเจ้าพูด..."

ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้ว นั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ

รายงานจากฮะดีษที่บันทึกโดยอะฮ์มัดว่า อบูมัยซาเราะฮ์กล่าวว่า โองการนี้ถูกประทานมาหลังจากคำขอโดยอุมัรต่ออัลลอฮ์ว่า "โปรดให้ความกระจ่างในการชี้ขาดเกี่ยวกับค็อมร์แก่เราด้วยเถิด!"[10] เนื่องจากอิสลามนำ "สังคมเข้าไปสู่การผิดศีลธรรม" แก่ผู้ที่ค้นหา "มาตรฐานสูงสุดของศีลธรรม"[11] การแบนแอลกอฮอล์อย่างฉับพลันอาจรุนแรงเกินและปฏิบัติไม่ได้[12]

อีกฮะดีษหนึ่ง (จากอับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร) กล่าวว่า มุฮัมมัดได้กล่าวว่า:

“ใครก็ตามที่ดื่มเหล้าในโลกนี้และไม่ได้สำนึกผิดจากสิ่งนี้ เขาจะถูกห้ามจากมันในโลกหน้า” [13]

บทลงโทษ

[แก้]

กุรอานไม่ได้กล่าวถึงบทลงโทษของผู้ดื่มของมึนเมา แต่มีในฮะดีษที่มีสายรายงานจากอะนัส อิบน์ มาลิกว่า มุฮัมมัดกำหนดให้เฆี่ยน 40 ที "ด้วยกิ่งปาล์มสองอัน ... สำหรับใครก็ตามที่ถูกกล่าวหาว่าดื่มแอลกอฮอล์".[14] ในขณะที่นักวิชาการชาวซาอุดีอาระเบีย Saalih al-Munajjid กล่าวว่า มีฮะดีษที่บันทึกโดยเศาะฮีฮ์มุสลิม (3281) รายงานจากอะนัสว่า มุฮัมมัดเฆี่ยนคนหนึ่งที่เมาเหล้าด้วยกิ่งต้นปาล์มที่นำใบไม้ออกและรองเท้า[15][16]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hans Wehr, J. Milton Cowan (1979). A Dictionary of Modern Written Arabic (4th ed.). Spoken Language Services.
  2. 2.0 2.1 2.2 Juan Eduardo Campo (2009). "Dietary Rules". ใน John L. Esposito (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of the Islamic World. Oxford: Oxford University Press.
  3. Fahd Salem Bahammam. Food and Dress in Islam: An explanation of matters relating to food and drink and dress in Islam. Modern Guide. p. 1. ISBN 978-1-909322-99-8.
  4. John Alden Williams (22 July 2010). The Word of Islam. University of Texas Press. pp. PT 116. ISBN 978-0-292-78667-7.
  5. John Alden Williams. Islam. Library of Alexandria. pp. PT 117. ISBN 978-1-4655-8103-7.
  6. Malise Ruthven (23 October 1997). Islam: A Very Short Introduction. Oxford University Press, UK. pp. PT 68. ISBN 978-0-19-154011-0.
  7. อัลกุรอาน 2:219
  8. อัลกุรอาน 4:43
  9. อัลกุรอาน 5:90
  10. Ibn Kathir. "The Gradual Prohibition of Khamr (Alcoholic Drink)". Quran Tafsir Ibn Kathir. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
  11. Azeem, Hafiz Muhammad (17 January 2018). "Theory of Naskh (Abrogation) in Islamic Law". Hafiz Muhammad Azeem, Advocate. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018.
  12. Abu Amina Elias (10 December 2014). "NOBLE QURAN القرآن الكريم Abrogation and specification in the Quran". Faith in Allah. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  13. found in Saheeh al-Bukhaari (2295) and Saheeh Muslim (86) according to Saalih al-Munajjid, Muhammad. "20037: What is the punishment for one who drinks alcohol, and are his prayer and fasting valid?". Islam Question and Answer. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
  14. Haider, Murtaza (29 October 2014). "Alcohol consumption in Pakistan: Don't mix sin with crime". Dawn. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018.
  15. Saalih al-Munajjid, Muhammad. "20037: What is the punishment for one who drinks alcohol, and are his prayer and fasting valid?". Islam Question and Answer. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
  16. search results, Sunnah.com