มัยซิร
ในศาสนาอิสลาม การพนัน (อาหรับ: ميسر, อักษรโรมัน: maisîr, maysir, maisira หรือ قمار กิมาร)[1] เป็นที่ต้องห้ามเด็ดขาด (ฮะรอม) ตามกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮ์) ที่มีฐานไว้ว่า "ข้อตกลงระหว่างผู้มีส่วนร่วมเป็นไปตามการชักจูงที่ผิดศีลธรรมให้ด้วยความหวังโดยเจตนาในจิตใจของผู้มีส่วนร่วมว่าพวกเขาจะได้ผ่านโชคเท่านั้น โดยไม่มีการพิจารณาความสูญเสียที่เป็นไปได้"[1]
บทนิยาม
[แก้]ทั้ง กิมาร กับ มัยซิร อิงถึงเกมเสี่ยงโชค แต่ กิมาร เป็นประเภท (หรือสับเซต) ของ มัยซิร[2] มุฮัมมัด อัยยูบ นักเขียน นิยาม มัยซิร เป็น "การหวังบางสิ่งที่มีค่าผ่านการผ่อนปรนและไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนหรือไม่ได้ทำงานเพื่อมัน หรือไม่ได้ก่อให้เกิดหนี้จากมันผ่านเกมเสี่ยงโชค"[2] ส่วนแหล่งที่มาหนึ่งโดย ฟะลีล ญะมาลุดดีน นิยามว่า "เป็นการเข้าถือสิทธิ์ทรัพย์ผ่านโชค (ไม่ใช้แรงกาย)"[3] อัยยูบนิยาม กิมาร ว่า "หมายถึงใบเสร็จของเงิน, กำไร หรือสิทธิเก็บกินที่จากผู้อื่น โดยมีสิทธิเข้าถึงเงินหรือกำไรผ่านการอาศัยโชค";[2] ส่วนญะมาลุดดีนนิยามเป็น "เกมเสี่ยงโชคใด ๆ ก็ตาม"[3]
ในคำภีร์
[แก้]ในอัลกุรอานกล่าวว่าเกมเสี่ยงโชค ซึ่งรวมไปถึง มัยซิร เป็น "บาปใหญ่" และเป็น "ผลงานอันน่ารังเกียจของซาตาน" และในฮะดีษก็มีการกล่าวถึงมันด้วย.
พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับน้ำเมา และการพนัน จงกล่าวเถิดว่า ในทั้งสองนั้นมีโทษมากและมีคุณหลายอย่างแก่มนุษย์ แต่โทษของมันทั้งสองนั้นมากกว่าคุณของมัน...
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้ว นั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาด แล้วพวกเจ้าจะยุติใหม่?
— กุรอาน ซูเราะฮ์ 5:90-91 (อัลมาอิดะฮ์)[5]
รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮ์: ท่านศาสดากล่าวว่า, "ใครก็ตามที่สาบานว่า 'ขอสาบานต่ออัลลาตและอัลอุซซา' ควรกล่าวว่า 'ไม่มีใครมีสิทธิที่จะบูชานอกจากอัลลอฮ์; และใครก็ตามที่พูดกับเพื่อนว่า 'มาเล่นพนันกัน' ควรบริจาคสิ่งหนึ่งเป็นการกุศล"
— เศาะฮีฮ์บุคอรี, เล่ม 78 (คำสาบานและคำปฏิญาณ), ฮะดีษ 645
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Islamic Finance. Q&A. What is the Difference Between Qimar and Maisir?". investment-and-finance. Nov 23, 2013. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Ayub, Muhammad (2007). Understanding Islamic Finance. Wiley. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
- ↑ 3.0 3.1 Jamaldeen, Faleel (2012). Islamic Finance For Dummies (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 17. ISBN 9781118233900. สืบค้นเมื่อ 15 March 2017.
- ↑ อัลกุรอาน 2:219 Quran Surah Al-Baqara ( Verse 219 )
- ↑ อัลกุรอาน 5:90–91