ข้ามไปเนื้อหา

คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิธีใช้

[แก้]

อ่านวิธีการอ้างอิงแล้ว ไม่ค่อยเข้าใจอะครับ อ่านแล้วงง ไม่รู้ใช้ยังไง --PoSTeRWEB 04:56, 11 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

ผมได้พยายามปรับปรุง โดยให้เข้าใจง่ายมากขึ้น. ยังไงก็ไว้มาคุยกันครับ เพื่อที่จะได้หาจุดใดที่ทำให้ ไม่ค่อยเข้าใจ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมในครั้งต่อๆไปครับ --Jutiphan | พูดคุย - 09:51, 11 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

แหล่งอ้างอิงที่ "เชื่อถือ" ได้

[แก้]

ข้อความที่เขียนไว้ว่า

แหล่งอ้างอิงนั้นจะต้องเชื่อถือได้ นั่นคือ ไม่ใช่ "เว็บบล็อก" หรือ "เว็บไซต์ส่วนตัว"

ผมว่าเว็บบล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนตัวนี่ก็เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลได้ระดับหนึ่งครับ แม้ว่าข้อมูลจะไม่เป็นกลางบ้างก็ตาม อาจจะต้องกำหนดว่าเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงหรือไม่ อย่างถ้าเขียนประวัติของ เดวิด เบ็คแฮม เว็บไซต์หรือบล็อกของเขาก็มีข้อมูลที่อ้างอิงได้ แต่ขณะเดียวกันถ้าเขียนประวัติของ นาย ก. นาย ข. อันนี้เว็บไซต์ส่วนตัวหรือแม้แต่ว่า เว็บไซต์ .com ทั้งหลายที่สร้างเองได้ภายในวันเดียว ก็อาจจะอ้างอิงไม่ได้ครับ --Manop | พูดคุย - 17:24, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

เห็นด้วยครับ เพราะเดี๋ยวนี้มีการใช้ เว็บบล็อกมากขึ้น ซึ่งผมว่าหากเจ้าของเว็บบล็อกนั้นน่าเชื่อถือ ก็ถือว่าน่าเชื่อถือครับ แต่ถ้าหากไม่ทราบใครเป็นคนเขียน ก็ถือว่าไม่เชื่อถือ โดยให้ดูที่คนเขียน/กลุ่มที่เขียนไป --Jutiphan | พูดคุย - 19:56, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ขอยกตัวอย่างไปอีกทาง เว็บไซต์ผู้จัดการก็ไม่ได้เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวนะครับ เป็นเว็บข่าวที่รู้จักกันดี ดังทะลุฟ้า ถึงจะเป็นแหล่งอ้างอิงได้ (เฉพาะข่าวนะ) แต่บางอย่างในเว็บนั้นก็ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเอาเสียเลย เช่นในโซนคอลัมนิสต์ เป็นความคิดเห็นล้วนๆ ไม่ควรนำมาใช้อ้างอิงเพราะไม่เป็นกลาง (ถ้าใช้เป็นแหล่งข้อมูลอื่นก็พอได้)--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 20:04, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)


Quoted จากที่ en wikipedia 

'''''Self-published sources (online and paper)'''
Anyone can create a website or pay to have a book published, then claim to be an expert in a
certain field. For that reason, self-published books, personal websites, and blogs are largely
not acceptable as sources.

Self-published material may be acceptable when produced by a well-known, professional
researcher in a relevant field or a well-known professional journalist. These may be acceptable 
so long as their work has been previously published by reliable third-party publications. 
However, exercise caution: if the information in question is really worth reporting, someone 
else is likely to have done so.

'''Self-published sources, such as blogs, should never be used as third-party sources about 
living persons, even if the author is a well-known professional researcher or writer; see 
WP:BLP.'''''
น่าจะขึ้นกับการตรวจสอบได้หรือเปล่าคะ? --Look-Narm 01:07, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
อ้อ...สงสัยอยู่เหมือนกันว่าอันไหน ควร-ไม่ควร อย่างไร? ฝากท่านๆถกกันในสภาฯด้วยนะคะ จะได้ชัดเจนไปเลย ^/|\^ ขอบพระคุณค่ะ --Look-Narm 01:12, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ขออนุญาตคัดลอกจาก พูดคุย:The King Never Smiles#เรื่องการพิสูจน์ยืนยันได้:

หากบอกว่าหน้าเว็บในฟรีโฮสต์อย่าง geocities, googlepages, wordpress.com, ... พิสูจน์ยืนยันไม่ได้ทั้งหมด แล้วเราจะทำอย่างไรกับเว็บอย่าง

ความเห็นผมก็คือ โฮสต์/ชนิดของโฮสต์ ไม่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ยืนยันได้

-- bact' 19:16, 13 พฤษภาคม 2007 (UTC)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ขอนอกเรื่องนิดนะครับ ไม่เกี่ยวกับ แหล่งอ้างอิง แต่เป็น แหล่งข้อมูลอื่น ผมไม่ทราบว่ากรณีพยายามนำลิงก์ที่โยงไปที่ freethai.tripod ไว้ในบทความ พอจะเข้าข่ายไหมครับ โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นความพยายามอาศัยวิกิ เพื่อเผยแพร่เนื้อหาหนังสือ ฉบับถอดความเป็นภาษาไทย ไปสู่วงกว้าง (แต่พยายามปกปิดที่มา โดยอาศัยกูเกิลแคช) - ('-' )( '-' )( '-') - 02:28, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  • "Adding external links to an article or user page for the purpose of promoting a website or a product is not allowed, and is considered to be spam." (ดู en:Wikipedia:Spam#External link spamming). แต่ต้องคิดให้รอบคอบว่าโดยหลักแล้่ว เป็นการ "ให้ข้ิอมูล" หรือเป็นการ "promote". ex:
  1. ใน โดราเอมอน แหล่งข้อมูลอื่น มี ลิงก์ไปภาพสแกนการ์ตูน ที่หายากมากในไทย อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์ กับผู้อ่านหรือการ โปรโมดเว็บ?
  2. ใน ไทยรัฐ มี ลิงก์ไปเว็บไทยรัฐ อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือการ โปรโมด product?
  3. ใน en:War and Peace แหล่งข้อมูลอื่น มี ลิงก์ to the free online translation อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือการ โปรโมดเว็บ?
  4. ใน ร็อบบี้ วิลเลียมส์ แหล่งข้อมูลอื่น มี ลิงก์ไปเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือการ โปรโมด product?
  5. ใน ไอทีวี มี ลิงก์ไปเว็บไอทีวี อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือการ โปรโมด product?
  6. ใน หลายบทความใน en.wiki ที่เกี่ยวกับไทย มีการลิงก์ไปที่ citebite.com เป็น product ที่แคชเว็บที่กูเกิลแคชไม่ได้ save. เพราะเว็บของ bangkokpost.net (แหล่งอ้างอิงสำคัญสำหรับบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ร่วมสมัยในไทย) เขาจะไม่เก็บ article. URL ที่เคยใช้ได้เมื่อ อาทิตย์ที่ผ่านมา ก็จะกลายเป็น dead link ถ้าไม่ใช้ citebite แคช. อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือการ โปรโมด product?
  7. ใน เชียงใหม่ ถ้ามีลิงก์ไปเว็บ เทศบาลเมือง เชียงใหม่ อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือการ โปรโมดเว็บ? ถ้ามีลิงก์ไปเว็บ ททท.เชียงใหม่ อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือการ โปรโมด product? ถ้ามีลิงก์ไปเว็บ โรงแรม รีเจนท์เชียงใหม่ อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือการ โปรโมด product?
  8. ใน ก้านกล้วย มี ลิงก์ไปเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ อย่างนี้เป็นการ ให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือการ โปรโมด product?
  • บางครั้ง เส้นแบ่งระหว่างกาีรให้ข้ิอมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน กับการโปรโมด มันบางมาก.... 2T ว่่าไง? ไม่รู้ว่าให้ตัวอย่างอย่างนี้แล้วทำให้้้เข้าใจหรืองงมากขึ้นนะ. Patiwat 00:14, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ขออนุญาตออกความเห็นค่ะ ทั้งหลายทั้งปวงน่าจะเป็นเรื่องของเว็บไซต์นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ หาก cache มาจาก Bangkokpost ทาง Bangkokpost ก็เป็นผู้รับผิดชอบ มีตัวตนอยู่ชัดเจน, แต่เว็บไซต์ประเภทสมัครฟรี หรือบล็อกนั้นไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง จึงไม่น่าเชื่อถือค่ะ ไม่ทราบว่าคุณ Patiwat เข้าใจประเด็นนี้ตรงกันไม๊คะ? -- ~ Look-Narm ~ คุย 04:54, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
  • เข้าใจครับ ถ้่าเป็นแหล่งอ้างอิงเนื้อหาในบทความ ก็ต้องเป็นแหล่งข้อมูลบุคคลที่สาม ที่ยอมรับกันที่ไม่มีส่วนได้เสีย กับเนื้อหา. ส่วนถ้าเป็นแหล่งข้อมูลอื่น ก็ต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน แต่จุดประสงค์หลักต้องไม่ใช่ การโปรโมดสินค้่า. ใน list ข้างบนผมว่าทั้งหมดควรมีอยู่ใน section แหล่งข้อมูลอื่น (นอกจาก 6.3). ไม่ต้องคิดมา่กหรอกว่า บทแปล War and Peace นั้นจะเป็นบทแปล ที่ดีที่สุด หรือภาพสแกนการ์ตูนนั้นอาจสแกนไม่สวยหรือเก็บไว้ที่เว็บไซต์ประเภทสมัครฟรี, etc. Patiwat 05:26, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ประเด็นที่คุยกันอยู่นี่ คือ ความน่าเชื่อถือ ค่ะ ไม่ใช่บทความดีหรือภาพสวยหรือไม่... ความน่าเชื่อถือ คือ การที่มีที่มาที่ไปค่ะ ขออภัยหากพูดวกวนไปมาอย่างนี้ ขออนุญาตไปทำงานอื่นก่อนนะคะ ยินดีที่ได้ร่วมสนทนากับคุณ Patiwat เพียงแค่นี้อ่ะค่ะ-- ~ Look-Narm ~ คุย 05:48, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ที่ 2T ถามไม่ใช่เรื่องของ แหล่งอ้างอิง นะครับ กลัว Look-Narm จะเข้่าใจผิด. เขาถามเรื่อง แหล่งข้อมูลอื่น. สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ แหล่งอ้างอิง คือความเป็นกลางและความยอมรับจากผู้อื่น. จะเห็นว่าในหน้าอภิปรายหน้าอื่น ผมให้ความสำคัญตรงนี้จนคนเืบื่อผมเลย. แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ แหล่งข้อมูลอื่น คือความเป็นประโยชน์ต่ิอ ผู้อ่ิาน. อย่าง บทแปล War and Peace... concept ของความน่าเชื่อถือมันไม่ค่อย apply เลย. แต่ที่แน่ๆคือ เป็นประโยชน์ต่ิอผู้อ่ิาน. หรืออย่าง โดราเอมอน ภาพสแกนการ์ตูนที่หายาก...น่าเชื่อถือมั้ย ไม่ work เลย concept นี้ เป็นประโยชน์ต่ิอผู้อ่ิานแน่่ๆ. Patiwat 07:57, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ตัวอย่าง บทความคัดสรร ที่ ”เป็นตัวอย่างสำหรับผู้เขียนและผู้อ่าน”: ฟุตบอลทีมชาติไทย แหล่งข้อมูลอื่น มีอะำไรบ้าง...
    • "พันทิป.คอม ห้องศุภชลาศัย ห้องย่อยฟุตบอลไทย" <- น่าเชื่อถือมั้ย? ไม่เลย. ไม่มีความเป็นกลางเลย. อะไรที่ลงในนี้เชื่อถือไม่ได้เลย. ใครจะไปเขียรอะไรก็เขียนได้. ไม่มีที่ี่มาที่ไป. ถ้่าจะเอาเป็นที่มาของเนื้ิอหาในบทความ ผมค้านสุดๆ. แต่ถ้่าเป็นผู้ิือ่านที่สนใจฟุตบอลไทย ผมว่ามันจะเป็นประโยชน์อย่างมาก. ควรมีไว้ในส่วน แหล่งข้อมูลอื่น. หรืออย่าง "กระทู้บอลไทย เว็บบอร์ดพูดคุยเกี่ยวกับฟุตบอลไทย" <- ก็เหมือนกันครับ จะไปคาดความเป็นกลางหรือ ความน่าเชื่อถือได้ไง. แต่อย่างไรก็รู้สึกว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านส่วนสำคัญ. Patiwat 08:06, 9 มีนาคม 2007 (UTC)


ในกรณีข้างบนนั้น Pantip มีที่มาที่ไปค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 09:30, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ความน่าเชื่อถือ คือ การที่มีที่มาที่ไป / สามารถหาผู้รับผิดชอบ มีตัวตนอยู่ชัดเจนค่ะ
ปล. แล้วไม่น่าจะเกี่ยวกับเป็นกลาง หรือไม่เป็นกลางด้วย ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นจะวิเคราะห์ได้เองจาก ความมีที่มาที่ไปนี่ล่ะค่ะ
  • ผู้ถอดความ นายสิน แซ่จิ้ว จากเว็บไซต์ Geocities ที่คุณ Patiwat แปะ link ไว้ในแหล่งข้อมูลอื่น ไม่มีที่มาที่ไปค่ะ ถึงจะบอกว่าเป็นคนอเมริกัน แต่เค้าจะเป็นคนอูกานดา หรือตุรกี หรือคาเมรูน ก็ไม่สามารถ trace ไปหาความจริงได้ เว็บไซต์เหล่านี้จึงไม่น่าเชื่อถือค่ะ
  • ส่วนสมาชิกในเว็บบอร์ดของ Pantip ห้องศุภชลาลัยที่มีอมยิ้มประจำตัว ลงทะเบียนโดยใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน มีความน่าเชื่อถือกว่า ผู้อ่านกระทู้สามารถใช้วิจารณญานได้ว่ามีตัวตนอยู่จริง ออกความเห็นมั่วๆ หรือหมิ่นเหม่ต่อเรื่องต่างๆ สามารถตามหาผู้รับผิดชอบได้แน่นอน
--- ~ Look-Narm ~ คุย 09:54, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
เห็นด้วยกับคุณ Looknarm ครับ แหล่งข้อมูลอื่น ไม่ต้องมีความเป็นกลางครับ --Jutiphan | พูดคุย - 16:49, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
เอ๊ะ... งง. สรุปว่าที่คุยมาทั้งหมดนี้ คืิอต้องกาีรจะรู้ว่าในหลักการ/ภาพรวมแล้ว แหล่งข้อมูลอื่น ควรมีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง หรือต้องกาีรเจาำััำะจงเรื่องสว่นตัว/เรื่องเฉพาะด้านมาตลอด?
  • หลักการ/ภาพรวม: ผมไม่ต้องการจะเป็นผู้สร้างนโยบาย แค่ต้องการจะตีความนโยบาย. นโยบายสำหรับแหล่งข้อมูลอื่น มันระบุไว้ชัดเจนว่า แหล่งข้อมูลอื่นจำต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และจะต้องไม่เข้าข่าย spam. ที่ Look-Narm ระบุว่า Look-Narm แหล่งข้อมูลอื่น จะต้องมีที่มาที่ไป สามารถ trace ใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน trace สัญชาติ ของเจ้่าของเนื้อหา เพื่อ confirm ความน่าเชื่อถือ (งงนิดว่าสัญชาติมันเกี่ยวอย่างไรกับความน่าเชื่อถือ...) ก็เป็น idea ที่ดี แต่มันไม่ใช่นโยบายกวิกิพีเดียไทย หรือวิกิพีเดียเทศ. ถ้าอยากเสนอนโยบายใหม่ ก็ไม่ว่านะ แต่ก็น่าจะบอกให้ชัด. ไม่ใช่เอา่เรื่องสว่นตัว/เรื่องเฉพาะด้านมาเป็นต้นเหตุ. ส่วนที่ Jutiphan เขียน ผมก็เห็นด้วยว่า แหล่งข้อมูลอื่น ไม่ต้องมีความเป็นกลางครับ เพราำะผมเขียนมาหลายครั้งแล้วว่า หลักเกณฑ์สำหรับแหล่งข้อมูลอื่น คือความเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ไม่ต้องมีความเป็นกลางครับ. ส่วนการมีที่มาที่ไป สามารถ trace ใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ความน่าเชื่อถือ มันคือหลักเกณฑ์ที่ Look-Narm แต่งขึ้นมา.
  • เรื่องสว่นตัว/เรื่องเฉพาะด้าน: รู้สึกว่าการกล่าวหาแบบมั่วของ Manop จะืทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าผมเป็น "นายสิน แซ่จิ้ว จากเว็บไซต์ Geocities" ขนาดผมบอกเขาชัดๆแล้วว่าผมไม่่ใช่ จน Manop ขอโทษไปแล้ว ก็ยังมีคนเข้าใจผิด. ดังนั้นจะขอพูดอีกครั้งว่า ผมไม่ใช่่ "นายสิน แซ่จิ้ว จากเว็บไซต์ Geocities". ผมไม่ใช่่ ผู้แปล สวรรค์ในอก นรกในใจ. ที่ผมมายุ่งเกียวกับ The King Never Smiles เป็น เพราะใน 21:10, 27 January 2007 (UTC) มีคนชื่อ kinkku ● ananas ทิ้งโน้ตไว้ในหน้าำพูดคุยผมใน en.wiki (en:Talk:Patiwat) ขอความคิดเห็น เนื่องจากมี anonymous user มาแปะ link ไว้ในแหล่งข้อมูลอื่น จนโดน revert หลายครั้ง. ผมไม่ีรู้เรื่องอะไรเลย. ผมไม่ใช่ anonymous user คนนั้น. ผมไม่ใช่เีจ้าของเว็บ Geocities ที่ว่า. ผมเพียงแค่รู้สึกว่า ผู้อ่านที่มาสนใจหนังสือห้ามนำเข้าอย่าง TKNS น่าจะได้ประโยชน์จากการอ่านบางส่วนของหนังสือ ในบอร์ดประชาไทย กับ ฟ้าเดียวกันเห็นขอกันเยอะ (ความเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน คือ หลักเกณฑ์หมายเลขหมายเลขหนึ่งของการเป็น แหล่งข้อมูลอื่น). และก็มีคนแปลให้ัฟรีๆ ไม่ได้ทำเพื่อกำไร เป็น fair-use (นี่คือ หลักเกณฑ์หมายเลขสองของการเป็น แหล่งข้อมูลอื่น). ไม่ได้นึกเลยว่านี้จะเป็นต้นเหตุให้คนมาเกลียดผมเลย ยังมีคนมาหาว่ามที่ผม user name Patiwat เป็นเพราำะต้องการจะปฏิวัติล้มสถาบัน! จะบ้าไปแล้ว... (ที่จริงผมตั้ง user Patiwat เพราำะอยากให้กองทัพยึดอำนาจเร็วๆตังหาก). Patiwat 18:26, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
  • มาขำเหตุผลของคุณ Patiwat ในการตั้ง User name ค่ะ อิ อิ... (^_^) --- ~ Look-Narm ~ คุย 16:01, 10 มีนาคม 2007 (UTC)
  • อ้อ...เมื่อกี้ก็ไปลบ link ที่ TKNS มาอีกแล้วอ่ะค่ะ Geocities นี่แย่จริงๆเลย กลายเป็น Propaganda ทางการเมืองไปซะง้าน... เลยขออนุญาตลบนะคะ หากเข้าใจผิดก็เชิญคุณ Patiwat รบกวนกรุณาได้โปรดใส่เข้าไปใหม่ทีน๊าค๊า....ด้วยความเคารพ และไม่เจตนาร้าย หรือจะรังเกียจคุณ Patiwat เล้ย แหมๆ เข้าใจไปได้ ขอโทษนะคะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 16:07, 10 มีนาคม 2007 (UTC)
  • เนื่องจากว่ามีการเอ่ยถึง ก็เลยขออธิบายนิดหน่อยครับ คือตอนนั้น มีผู้ใช้นิรนามเข้าไปใส่ลิงก์เดียวกันนี้ในวิกิพีเดียอังกฤษ แล้วไประบุว่าถูกเซ็นเซอร์จากวิกิพีเดียไทยในตัวบทความ ซึ่งผมก็ลบข้อความกับลิงก์ออก เพราะเห็นว่ามันไม่เกี่ยวข้อง (โดยเฉพาะกับหน้่าภาษาอังกฤษ) ทีนี้ผมเห็นว่าหน้าพูดคุยของบทความภาษาอังกฤษค่อนข้างนิ่ง และก็คงมีผู้ใช้นิรนามพยายามใส่เข้าไปอีก ซึ่งจะกลายเป็นว่าจะย้อนกันไม่จบ เดี๋ยวจะมีการกล่าวหาว่าคนจากวิกิพีเดียไทยพยายามจะปิดกั้นอีก ผมก็เลยไปถามคุณปฏิวัติ ในฐานะที่เขาเป็นผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ และทำบทความเกี่ยวกับประเทศไทยเยอะ ให้มาช่วยดูและอภิปรายครับ (หลักๆที่ผมถามเป็นเรื่องหน้าภาษาอังกฤษครับ แต่เรื่องมันเริ่มจากวิกิพีเดียไทย คุณปฏิวัติก็คงเข้ามาดูด้วย) แค่นี้แหละครับ เผื่อจะมีปัญหา ว่าอยู่ๆผมไปดึงเขาเข้ามาทำไม kinkkuananas 17:34, 12 มีนาคม 2007 (UTC)
เรื่องความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้นั้น อ่านๆแปลๆด้วยภาษาอังกฤษ(แบบไม่แข็งแรง) ได้ความมาว่าก็เป็นเรื่องสำคัญนะคะ คุณ Patiwat นิยมนำเอานโยบายมาแปลให้ชาววิกิไทยเราอ่านบ่อยๆ ช่วยแปลหน้านี้อีกหน้าดีไม๊คะ (เกรงใจจัง..) จาก en:Wikipedia:Verifiability
The threshold for inclusion in Wikipedia is verifiability, not truth.
"Verifiable" in this context means that any reader should be able to check that material
added to Wikipedia has already been published by a reliable source. Editors should provide
a reliable source for quotations and for any material that is challenged or is likely to be
challenged, or it may be removed.
...
Articles should rely on reliable, third-party published sources with a reputation for fact
checking and accuracy. Sources should be appropriate to the claims made: exceptional claims
require stronger sources.

--- ~ Look-Narm ~ คุย 16:27, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

ส่วนอันนี้ของไทย ก็ดูสอดคล้องกัน วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้
เกณฑ์พิจารณาว่าสิ่งใดจะอยู่ในวิกิพีเดียได้นั้นคือ ต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ - ไม่ใช่ว่าต้องเป็นจริง คำว่า "พิสูจน์ยืนยันได้"ในที่นี้หมายถึง
ผู้อ่านสามารถที่จะตรวจสอบว่า สาระใด ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในวิกิพีเดียนั้น เคยเผยแพร่ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาก่อน ผู้แก้ไขควรแจ้งแหล่งข้อมูลที่น่า
เชื่อถือสำหรับ การอ้างคำพูด และสาระใด ๆ ที่เป็นประเด็นขัดแย้ง หรืออาจเป็นประเด็นขัดแย้งได้ง่าย

บทความควรจะมีเฉพาะสาระที่เคยตีพิมพ์มาแล้วในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้แก้ไขที่จะเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ลงในบทความ ควรจะอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่น่า
เชื่อถือสำหรับข้อมูลชิ้นนั้น มิฉะนั้นมันจะถูกลบออกไปโดยผู้แก้คนใดก็ได้ การแจ้งแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ที่ต้องการจะเพิ่มข้อมูล
เข้า - ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ที่ต้องการจะลบข้อมูลออก

ซึ่งนโยบาย วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ เป็นหนึ่งในสามนโยบายหลักด้านเนื้อหาของวิกิพีเดีย โดยนโยบายอีกสองอัน ได้แก่ วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ และวิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง


ขอเสริมนะครับว่า วิกิพีเดียไทย อาจไม่ตรง และอาจเจตนาไม่ตรงนโยบายวิกิอังกฤษ 100% ซึ่งเพื่อเป็นการดัดแปลงให้เข้ากับวิกิไทย หรืออะไรก็ตาม ดังนั้นผมอยากจะแจ้งคุณ Patiwat ว่านโยบายไทยนั้นไม่ต้องตรงกับวิกิอังกฤษทุกกระเบียดนิ้ว แต่หากคิดว่าบางส่วนของเขาที่ดีและน่าจะเอามาใช้นั้น เสนอแนะได้ครับ แต่กรุณาอย่าใช้วิธีจับผิดที่ว่าอังกฤษมีส่วนจุดตรงนี้ ไทยต้องมีด้วย --Jutiphan | พูดคุย - 18:29, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

  • งงครับ ผมไม่ใช่คนจับผิดที่ว่าอังกฤษมีส่วนจุดตรงนี้ ไทยต้องมีด้วย. ลองอ่านที่ Looknarm เขียนดูสิ เขาเป็นคนอ้างนโยบายวิกิอังกฤษ. นโยบายวิกิไทยบอกไว้ชัดๆเลยว่า แหล่งข้อมูลอื่นจำต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน. ส่วนนโยบายห้าม spam นั้น ไม่ใช่ของไทยหรืออังกฤษ. มันเป็นของ meta - ใช้การในทุกวิกิ. แต่วิกิไทยไม่มีหน้่าอธิบายว่า spam (ในบริบทของ่วิกิ) คืออะไร ก็เลยเอา en:Wikipedia:Spam#External link spamming มาอธิบาย. Patiwat 18:09, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ถาม Looknarm ครับ ว่า เว็บบอร์ดที่ไม่บังคับลงทะเบียนเลขบัตรประจำตัว ไม่สามารถ พิสูจน์ยืนยันชื่อที่อยู่และสัญชาติ ของเจ้่าของเนื้อหา จะยังถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลอื่นที่เหมาะสมมั้ย เพราะเท่าที่เห็นมีไม่น้อยเลยบทความที่มีแหล่งข้อมูลอื่นแบบนี้. Patiwat 22:04, 11 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ตอบคุณ Patiwat ไม่ทราบอ่ะค่ะ ด้วยความเคารพลองถามสมาชิกท่านอื่นหรือ sysop ดีไม๊คะ ครือว่าไม่ค่อยเชี่ยวชาญเรื่องนโยบายอ่ะค่ะ ---- ~ Look-Narm ~ คุย

การเขียนกฏเพิ่มของผู้ใช้ Octahedron80

[แก้]

"หากข้อมูลในบทความของวิกิพีเดียมีอยู่แล้ว การเอาเว็บไซต์ใดๆ มาใส่ทีหลังโดยบทความไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นนี้ไม่ใช่การอ้างอิง แต่เป็นการให้แหล่งข้อมูลอื่นเพื่ออ่านเพิ่มเติม" การเขียนอย่างนั้นแสดงว่าบทความของวิกิพีเดียที่ไม่มีอ้างอิงมากกว่า 50% ห้ามเอาอ้างอิงมาใส่ใช่ไหม่ น่าจะเข้าใจใหม่ว่า ถ้าการเขียนบทความเดิมมันดีอยู่แล้ว เพียงแต่ขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ ก็เอาอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมาใส่ได้ในบทความเพื่อใช้ในการอ้างอิงได้ ถึงแม้ไม่มีการแก้ประโยคเดิมซึ่งเขียนไว้ดีอยู่แล้วมากกว่า --Sundae 05:55, 7 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ซึ่งแหล่งข้อมูลอื่นไม่จำเป็นต้องเป็นที่เชื่อถือได้ก็ได้ หากข้อมูลในบทความของวิกิพีเดียมีอยู่แล้ว การเอาเว็บไซต์ใดๆ มาใส่ทีหลัง
โดยตัวบทความไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นนี้ไม่ใช่การอ้างอิง แต่เป็นการให้แหล่งข้อมูลอื่นเพื่ออ่านเพิ่มเติม
  • ที่ Octahedron80 เพิ่มมาข้างบน ไม่แน่ใจค่ะว่าเหมาะหรือเปล่านะคะ? เพราะที่วิกิไม่ใช่ที่รวมลิงค์ไม่ใช่หรือคะ? และในกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ คนอ่านจะทราบไม๊คะว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน? ละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่า? ผู้เขียนที่นำลิงค์หรือแหล่งข้อมูลอื่นมาใส่ ก็ควรพิจารณาให้ดีก่อนนำมาใส่ไว้ ไม่ใช่หรือคะ? (สงสัย จึงขอเรียนถามด้วยความเคารพ) ขอบคุณค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 06:44, 7 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ผมแสดงถึง ความแตกต่างระหว่างแหล่งข้อมูลอื่นกับแหล่งอ้างอิง ว่าต่างกันอย่างไร เท่านั้นครับ ไม่ได้เพิ่มกฎ อะไรที่ไม่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงได้ ก็จะกลายเป็นแหล่งข้อมูลอื่น เรื่องของการรวมลิงก์หรือลขิสิทธิ์มันอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าไม่เช่นนั้นก็ฝากช่วยแก้ภาษาให้เหมาะสมด้วย --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 06:47, 7 พฤษภาคม 2007 (UTC)

แล้วประเด็นของฉัน ผู้ใช้ Octahedron80 พิจารณาว่ายังไง??? --Sundae 07:04, 7 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ถ้าลิงก์ที่ผู้ใช้ใส่เข้าไปในส่วนอ้างอิงนั้นมีเนื้อหาบางส่วนตรงกับบทความและเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ ผมว่าการใส่ลิงก์ในกรณีนี้โดยไม่ได้แก้ไขเนื้อหาน่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะเท่ากับว่าเป็นเจตนาดีที่พยายามหาแหล่งอ้างอิงมายืนยันในข้อมูลที่ปรากฏอยู่ เพียงแต่ไม่ระบุชัดเจนว่าต้องการอ้างอิงตรงประโยคไหนของบทความ --Pi@k 07:09, 7 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ผมเปลี่ยนใหม่ดีกว่าครับ ลืมเรื่องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเสีย --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 07:17, 7 พฤษภาคม 2007 (UTC)

== รายการอ้างอิง ==การแหล่งอ้างอิงว่ 1 กรมวิชาการ.2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 กทม. :โรงพิมพ์อักษรไทย 2 สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2544. การประกันคุณภาพการศึกษา.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

       (ลำดับที่ 1) กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ.

3 กฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 4 Dale, B.G. , 1994. Managing Quality. New York : Prentice Hall. 5 Murgatroyd , S. & Morgan , C. 1994. Total Quality Management and The school

                     .Buckingham:Open University Press.  

6 ww.dnfe5.nfe.go.th/ilp/soc2/so31-2_1.htm 7 www.obec.go.th

วิธีการอ้างอิง

[แก้]

คำเตือน หน้านี้ก๊อป ไร้สาระนุกรมหน้า ไร้สาระนุกรม:การอ้างอิงแหล่งที่มา มาทั้งดุ้น แต่ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะผม ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม เป็นคนเขียนเอง

หวังว่าทุกท่านจะได้รับอะไรเอาไว้ใช้พัฒนาวิกิของท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย

จากหน้า การอ้างอิงแหล่งที่มาของวิเกรียนพีเดียนั้น วิเกรียนพีเดียพยายามยกเหตุผลต่างๆนานาขึ้นมาเพื่อให้ดูดี แต่ทว่า ความมุ่งหมายของการอ้างอิง (Referencing) นั้น หาได้เป็นอย่างที่วิเกรียนพีเดียเขียนไม่

ความมุ่งหมายที่แท้จริงที่ฝรั่งมังค่าสร้างระบบการอ้างอิงขึ้นมานั้น เพื่อ ให้รู้ว่า เจ้าของคำพูดนั้นคือ ใคร? เขียนเมื่อไร? ข้อมูลมาจากไหน? อีกทั้ง การเอาคำพูดของผู้อื่นมาใช้ในงานตีพิมพ์นั้น ไม่เพียงจะเป็นการไม่ให้เกียรติเท่านั้น แต่ถือว่าเป็นการ ขโมย อีกด้วย

ในวงการวิชาการนั้น การลอกคำพูดผู้อื่นมาโดยไม่อ้างอิงนั้น (Plagiarism) ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง สำหรับนักศึกษาแล้ว โทษสถานเบาของการลอกงานคือปรับตกในวิชานั้น สถานหนักคือ เชิญออกจากมหาวิทยาลัย นอกจากนั้น ถึงแม้ว่าจะลอกแล้วรอดพ้นสายตาออกไปได้ แต่หากถูกตรวจพบย้อนหลัง คนๆนั้นจะถูกยึดปริญญาคืน

เคยมีกรณีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอเมริกา และ อธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในซิดนีย์ ที่ถูกตรวจพบว่าสมัยเรียนปริญญาตรีแล้วทำความผิดข้อนี้ และ ต้องเสียอนาคตในวิชาชีพในทันที

อย่างไรก็ตาม ที่นี่ไร้สาระนุกรม เราไม่ซีเรียสขนาดนั้น


เมื่อไรที่ต้องอ้างอิง [1]

[แก้]

กฎในการอ้างอิงมีอยู่ 3 ข้อ

  1. ต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งที่คุณใช้ข้อมูล ความคิด หรือ คำพูดของผู้อื่น
  2. ต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อคุณ
    • เรียบเรียงคำพูดของผู้อื่นเสียใหม่ (paraphrase)
    • สรุปคำพูดของผู้อื่น
    • ใส่คำพูดของผู้อื่นมาทั้งดุ้นใส่ในเครื่องหมายคำพูด (Quotation)
    • คัดลอกตาราง กราฟ ฯลฯ ของผู้อื่นมาใช้
  3. การอ้างอิงต้องปรากฏที่
    • ในเนื้อหาบทความที่คุณเขียน (In-Text Reference)
    • ในรายการอ้างอิงท้ายบทความ (End-Text Reference)

รูปแบบการอ้างอิง

[แก้]

รูปแบบการอ้างอิงนั้น มี 2 แบบดังนี้

  1. ระบบวงเล็บ หรือรู้จักกันในชื่อ ระบบฮาร์เวิร์ด (Harvard) เป็นรูปแบบที่ใช้ในหนังสือและรายงานที่เป็นที่นิยมแบบหนึ่ง โดยการใช้วงเล็บซึ่งมีข้อมูลผู้แต่งกับปีอยู่ภายใน แล้วเพิ่มชื่อหนังสือแบบเต็มไว้ที่ท้ายบทความ รูปแบบนี้กำหนดโดยมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ดูเพิ่มที่ Author-date referencing
  2. ระบบเชิงอรรถ ใช้ตัวเลขเป็นตัวบ่งบอกการอ้างอิงเฉพาะจุด แล้วอธิบายชื่อหนังสือแบบเต็มไว้ที่ท้ายบทความ รูปแบบนี้คล้ายกับการใช้แท็ก <ref></ref> กับ <references /> ในแนวทางการเขียนของวิกิพีเดีย

เวปบล็อก สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้หรือไม่?

[แก้]

นี่เป็นสิ่งที่เป็นข้อถกเถียงกันพอสมควรในวิเกรียนพีเดียไทย แต่คำตอบนั้น อยู่ในการวิเคราะห์ของผู้เขียนบทความ ตัวอย่างเช่น ถ้ากำลังเขียนถึง ประเพณีทหารเรือ การอ้างถึงข้อมูลจากเวปบล็อกของทหารเรือ ก็ย่อมจะไม่ผิดอะไร ; อาจารย์มหาวิทยาลัยบางท่าน อาจจะต้องการเผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองมี ด้วยการเขียนบทความบทเวปบล็อก หรือเวปเพจส่วนตัว ก็ย่อมใช้อ้างอิงได้ ;หรือการเขียนเกี่ยวกับหน้า นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ หรือ เนกิมะ คุณครูจอมเวทย์ การอ้างจากการ์ตูนก็ไม่ผิดเช่นกัน

ดังนั้น ก่อนที่จะหยิบบทความมาอ้างอิงนั้น ควรจะตั้งคำถามต่อบทความดังนี้ [2]

[แก้]
  1. ใครเขียนบทความนี้?
    • คนเขียนเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางนั้นหรือไม่ หรือมีความเกี่ยวข้องกับบทความขนาดไหน?
  2. เขียนเมื่อไร?
    • ข้อมูลเก่าเต่าล้านปี อาจจะถูกลบล้างไปเรียบร้อยแล้วก็ได้ โดนเฉพาะหัวข้อเกี่ยวกับวิทยาศาตร์และการบริหาร
    • แหล่งอ้างอิงบางอย่าง อาจจะไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องอายุก็ได้ โดยมากจะเป็นบทความทางสังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์
      • แต่ต้องระบุปีที่เพยแพร่ในรายการอ้างอิงอยู่ดี
    • ในกรณีที่แหล่งอ้างอิงเป็นเว็บไซต์ ปีที่เขียนหมายถึง หมายถึง ปีที่ปรับปรุงล่าสุด และให้ใส่วันที่อ่านในรายการอ้างอิง (ดูตัวอย่างจากรายการอ้างอิงที่ 1)
    • กรณีที่ไม่พบปีที่เผยแพร่ ให้เขียนว่า ไม่พบวันที่ หรือ no date
  3. บทความมีความน่าเชื่อถือหริอไม่? ส่วนนี้เรียกว่าสำคัญที่สุด ยิ่งกว่า 2 ข้อข้างต้นเลยด้วยซ้ำไป
    • ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะมีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ แต่เขาอาจจะมีความเห็นโน้มเอียง ไม่เป็นกลางก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลจากสำนักพิมพ์ ก มีแนวโน้มที่จะโจมตีนักการเมือง ข ในขณะที่สำนักข่าว ค ก็มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนนักการเมืองคนนี้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง นักวิจัยจากบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งปลูกพืชตัดต่อพันธุกรรม ย่อมเขียนบทความสนับสนุนการตัดต่อพันธุกรรม เป็นต้น
    • วิธีการตรวจสอบในจุดนี้ ให้อ่านโทนของบทความว่าโน้มไปทางไหน เสนอมุมมองเพียงแง่มุมเดียว หรือ หลากหลายแง่มุม
    • หรือจะให้ดียิ่งขึ้น ให้หาบทความอื่นที่มีหัวข้อเหมือนกันมาเปรียบเทียบ

ขั้นตอนการวิเคราะห์เช่นนี้นั้น เรียกว่า Critical Review ซึ่งมีหลักการที่ตรงกับ กาลามสูตร นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม วิกิพีเดียเองอาจไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่ได้รับความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ เพราะผู้ใช้ต่างก็สามารถมาเพิ่มข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ได้

อ้างอิง

[แก้]

และเป็นตัวอย่างการอ้างอิงในระบบฮาวาร์ดที่ถูกต้อง

0. Learning Connection-University of South Australia, no date, "The Harvard Referencing Guide - Modules", viewed on 4th May 2008, <http://www.unisanet.unisa.edu.au/learn/LearningConnection/?PATH=/Resources/la/The+Harvard+Referencing+Guide+-+Modules/&default=Welcome.htm>

  1. Learning Connection-University of South Australia, no date, "Modules 1 -Introduction to the Harvard System ", viewed on 4th May 2008, <http://www.unisanet.unisa.edu.au/Resources/la/The%20Harvard%20Referencing%20Guide%20-%20Modules/Module%201%20-%20Introduction%20to%20the%20Harvard%20System.pdf >
  2. Bandounas, P & Groothedde, A, 2006, Student Information & Learning Guide: University Entrance Certificate, The Centre for English Language in the University of South Australia & the University of South Australia

และจากวิธีอ้างอิงนั้น จะเห็นได้ว่า มีรายการอ้างอิงที่ 0 อยู่

ในการอ้างอิงนั้น การอ้างอิงที่ใช้ในเนื้อหาของบทความนั้น เรียกว่า In-Text reference นั้น จะใช้กับข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ดั่งที่เห็นในรายการอ้างอิงที่ ๑ และ ๒ แต่ในรายการที่ ๐ นั้น เป็นข้อมูลที่มีลักษณะทั่วๆไป คนที่อยู่ในสาขานั้นๆทราบดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเขียนอ้างถึงในตัวบทความ แต่ จะต้องมีการอ้างอิงถึงในรายการอ้างอิงด้วย เพื่อเป็นการให้เกียรติ ถึงแม้ผู้เขียนจะไปเก็บข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงนั้นๆเพียงประโยคเดียวก็ตามที

สำหรับรายการอ้างอิงท้ายบทความนั้น มีชื่อเรียกว่า End-Text Reference

อย่างไรก็ตาม เข้าใจว่า วิกิเองก็คงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการโปรแกรม จึงต้องแบ่งรายการอ้างอิงออกเป็น อ้างอิง (ที่หมายถึง In-text) และอ่านเพิ่มเติม (end-text ที่ไม่ได้ใช้ใน in-text)

และนอกจากนี้ การเรียงลำดับของรายการอ้างอิงในทางวิชาการนั้น จะจัดลำดับตามตัวอักษร ไม่ใช่ลำดับการถูกใช้ก่อนหลังอย่างที่วิกิใช้แต่อย่างใด

เทคนิดที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

ในบางครั้ง นักศึกษา นักวิชาการสามารถค้นความเพิ่มเติมได้จากการไปอ่านอ้างอิงของบทความ ซึ่งบางท่าน หยิบรายการอ้างอิงของบทความมาเป็นของตัวเองเลยก็มี (แต่ไม่ใช่ คนเขียน แน่ๆ)

อีกเทคนิกหนึ่งก็คือการไปตรวจสอบว่ามีใครเอาบทความที่อ่านไปใช้แล้วบ้าง แล้วตามไปอ่านเพื่อเพิ่มความเข้าใน ซึ่งเดต้าเบสบางฐาน เช่น Scopus หรือ Google-Scholar สามารถระบุใหเได้ (ซึ่งเป็นวิธีที่ คนเขียน นิยม)

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการอ้างอิง

[แก้]

ส่งท้าย

[แก้]

หน้านี้ จะยังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆในเชิงรายละเอียด ถ้าสนใจ ขอเชิญติดตามได้

ขอบคุณที่อดทนอ่านจนจบครับ

--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 20:31, 4 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ref group สำหรับใช้กับเชิงอรรถ

[แก้]

ไปเจอในวิกิภาษาอื่น ว่าตอนนี้คำสั่ง ref สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้แล้วนะครับ สามารถนำมาใช้กับการเขียน footnote เชิงอรรถ หมายเหตุ แยกเป็นกลุ่มๆ แยกจากส่วน อ้างอิง ได้เลย

ลองดูตัวอย่างได้ที่ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

ใช้คำสั่ง

<ref group=xxx>เชิงอรรถ1</ref>
<ref group=xxx>เชิงอรรถ2</ref>
<ref group=xxx>เชิงอรรถ3</ref>
<ref group=yyy>หมายเหตุ1</ref>
<ref group=yyy>หมายเหตุ2</ref>
<ref group=yyy>หมายเหตุ3</ref>

ที่เชิงอรรถ+หมายเหตุ ใช้คำสั่ง

==เชิงอรรถ==
<references group=xxx/>
==หมายเหตุ==
<references group=yyy/>

ตรง xxx, yyy สามารถใช้ข้อความเช่น "note", "footnote" ฯลฯ ก็ได้ แต่ต้องเป็นภาษาอังกฤษ (ทดลองใช้ภาษาไทยแล้ว จะแสดงผลเรียงกันหมด เหมือนใช้คำสั่ง ref แบบธรรมดา)

ตัวอย่างจาก สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

[แก้]

และในฐานะพระราชมารดาของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ถึงสองพระองค์ คงจะไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ดีกว่าพระจริยวัตรของทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์นั้น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ทรงเป็นพระราชธิดา และเป็นที่สนิทสิเน่หาของพระบรมราชบิดามาก โดยทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอเพียงพระองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานกรมสูงถึง กรมหลวง[note 1] และพระนามกรมก็คือ ศรีรัตนโกสินทร[footnote 1] และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต นั้นก็เป็นพระราชโอรสที่โปรดปรานเช่นกัน ทรงตรัสเรียกว่า "เจ้าฟ้านัมเบอร์ทู"[footnote 2] พร้อมกับทรงมอบหมายพระราชกิจสำคัญให้หลายอย่าง เช่น ผู้บัญชาการกองทัพเรือ เป็นต้น ถ้าหากว่าทรงขาดเฝ้าไปสักสองวัน จะมีพระบรมราชโองการว่า เจ้าชายหายไปไหนไม่เห็นมา และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา ก็จะต้องรีบเสด็จออกมาตามพระองค์ไปเข้าเฝ้าฯ[1]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. พระบรมวงศ์ที่เป็นน้อง และลูกทรงกรมได้ถึงชั้นกรมหลวง แต่โดยมากแล้ว กรมหลวงมักพระราชทานให้กับพระเจ้าน้องยาเธอ น้องนางเธอเท่านั้น โดยสมเด็จพระเจ้าลูก(ยา)เธอ เจ้าฟ้า รับพระราชทานที่กรมขุน และพระเจ้าลูก(ยา)เธอ พระองค์เจ้า รับพระราชทานที่กรมหมื่น

หมายเหตุ

[แก้]
  1. (อ่านว่า สี-รัด-ตะ-นะ-โก-สิน-ทอน เพื่อให้คล้องกับนครสวรรค์วรพินิต)
  2. เจ้าฟ้านัมเบอร์วันหมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อ้างจาก ราม วชิราวุธ ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖

อ้างอิง

[แก้]
  1. เฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต


ฝากใครช่วยเรียบเรียง ใน วิธีใช้:การอ้างอิงแหล่งที่มา ด้วยนะครับ t¸·´ ¯·.¸¸.ღp

การอ้างวิดีโอ

[แก้]

ไม่รู้ว่าการอ้างวิดีโอนี่จะทำได้หรือไม่ได้นะครับ แต่ผมเห็นว่าไม่ควร น่าจะเขียนเป็นกฎห้ามไปเลย --Horus | พูดคุย 16:13, 23 ตุลาคม 2553 (ICT)

กล่องนโยบาย

[แก้]

กรุณาใส่แม่แบบ {{กล่องนโยบาย}} ครับ--223.207.58.101 12:05, 26 ตุลาคม 2554 (ICT)

จะใส่ให้ซ้ำซ้อนกับกล่องข้างล่างทำไมครับ --Horus | พูดคุย 19:30, 26 ตุลาคม 2554 (ICT)