คิโน (วงดนตรี)
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
คิโน Кино | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | เลนินกราด, สาธารณรัฐสังคมนิยม
โซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, รัสเซีย) |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | 1981–1990 กลับมารวมวง: 2012, 2021 |
ค่ายเพลง | AnTrop, Yanshiva Shela, Melodiya, Moroz Records |
อดีตสมาชิก | วิกเตอร์ ซอย† ยูริ คาสปาเรียน เกออร์กี กูร์ยานอฟ† อิกอร์ ทิโคมิรอฟ อเล็กซี่ ไรบิน โอเล็ก วาลินสกี้ อเล็กซานเดอร์ ติตอฟ |
เว็บไซต์ | kino |
คิโน (รัสเซีย: Кино, แปลตรงตัว 'ภาพยนตร์', สัทอักษรสากล: [kʲɪˈno]) เป็นวงดนตรีร็อคสัญชาติโซเวียตซึ่งก่อตั้งขึ้นในเมืองเลนินกราดเมื่อปี ค.ศ. 1982 วงคิโนถือเป็นวงร็อคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดวงหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรีรัสเซีย[7] ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นหัวหน้าวงคือวิกเตอร์ ซอย ซึ่งเป็นผู้แต่งเพลงและเนื้อเพลงเกือบทุกเพลงของวง ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา วงคิโนปล่อยเพลงมากกว่า 90 เพลงจากสตูดิโอ 7 อัลบั้ม รวมทั้งปล่อยผลงานรวมเพลงและอัลบั้มแสดงสดอีกสองถึงสามชุด เพลงของวงยังเผยแพร่อย่างกว้างขวางในรูปแบบของแผ่น Bootleg ในสมัยที่สหภาพโซเวียตยังเคร่งครัดเรื่องการกำจัดหรือเซนเซอร์สื่ออยู่ วิกเตอร์ ซอย เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ในปี ค.ศ. 1990 ไม่นานหลังจากที่เขาเสียชีวิต ทางวงก็ประกาศแยกวงหลังจากปล่อยอัลบั้มที่ไม่มีชื่อ (หรืออัลบั้มสีดำ) ซึ่งประกอบด้วยเพลงที่วิกเตอร์ ซอย และวงกำลังจัดทำในช่วงหลายเดือนก่อนการเสียชีวิตของวิกเตอร์ ซอย
ในปี ค.ศ. 2019 วงได้ประกาศการรวมตัวอีกครั้งพร้อมกับคอนเสิร์ตที่วางแผนไว้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 2020 เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี อย่างไรก็ตาม ภายหลังพวกเขาถูกเลื่อนออกไปเป็นปี ค.ศ. 2021 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19
ประวัติ
[แก้]ช่วงก่อตั้งวงKino
[แก้]วงคิโนก่อตั้งขึ้นในปี 1981 โดยสมาชิกของสองกลุ่มก่อนหน้านี้จากเลนินกราด (ปัจจุบันคือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) กลุ่ม Palata No. 6 และ Piligrimy ในตอนแรกพวกเขาเรียกตัวเองว่า Garin i giperboloidy (รัสเซีย: Гарин и гиперболоиды, แปลตรงตัว 'การินและทรงไฮเพอร์โบลา') ตามนวนิยายของอเล็กซี่ ตอลสตอย เรื่อง The Hyperboloid of Engineer Garin ช่วงตั้งวงประกอบด้วยวิกเตอร์ซอย มือกีตาร์อเล็กซี่ ไรบิน และมือกลองโอเล็ก วาลินสกี้ พวกเขาเริ่มซ้อม แต่วาลินสกี้ถูกเกณฑ์ทหารและต้องออกจากวงไปก่อน ในฤดูใบไม้ผลิปี 1982 พวกเขาเริ่มแสดงที่เลนินร็อคคลับและได้พบกับนักดนตรีใต้ดินผู้มีอิทธิพล บอริส เกรเบนชิคอฟ ในช่วงเวลานี้เองที่พวกเขาเปลี่ยนชื่อวงเป็นคิโน (รัสเซีย: Кино) ชื่อนี้ถูกเลือกเพราะถือว่าสั้นและสมาชิกในวงก็ภูมิใจที่มีเพียงสองพยางค์และง่ายต่อการออกเสียงโดยผู้พูดทั่วโลก วิกเตอร์และไรบินได้กล่าวในภายหลังว่าพวกเขามีความคิดสำหรับชื่อนี้หลังจากเห็นป้ายโรงหนัง
Kino ออกอัลบั้มเปิดตัว 45 ในปี 1982 เนื่องจากวงมีสมาชิกเพียงสองคน ซึ่งมี Grebenshchikov กับตัววิกเตอร์ ซอย จึงแนะนำให้สมาชิกของวงอควาเรียมช่วยวงคิโนในการบันทึกอัลบั้ม ซึ่งรวมถึงนักเล่นเชลโล Vsevolod Gakkel, นักเป่าขลุ่ย Andrei Romanov [ru] และมือเบส Mikhail Faynshteyn-Vasilyev [ru] เนื่องจากตอนนั้นพวกเขาไม่มีมือกลอง พวกเขาจึงใช้เครื่องตีกลองในการสร้างเสียงกลองขึ้นมา การจัดเรียงที่เรียบง่ายนี้ทำให้อัลบั้มดูมีชีวิตชีวาและสดใส ในเชิงเนื้อเพลง มีลักษณะคล้ายกับดนตรีกวีของสหภาพโซเวียตในยุคก่อน ๆ ในเรื่องความโรแมนติกของชีวิตในเมืองและการใช้ภาษากวี[8] อัลบั้มประกอบด้วยเพลงสิบสามเพลงและมีชื่อว่า 45 ตามความยาวของเพลง (ในนาที) ความนิยมของกลุ่มค่อนข้างจำกัดในขณะนั้น ดังนั้นอัลบั้มจึงไม่ถือว่าประสบความสำเร็จมากนัก ซอยระบุในภายหลังว่าบันทึกออกมาอย่างคุณภาพต่ำและเขาควรจะบันทึกมันแตกต่างออกไป[9]
ช่วงรอยต่อ (ปลายปี 1982 ถึง 1984)
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มกราคม 2025) |
นาชาลนิค คัมชัตกี และการเริ่มมีชื่อเสียง (1984 ถึง 1985)
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มกราคม 2025) |
โนช และการรู้จักโดยคนทั้งประเทศ (1985 ถึง 1986)
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มกราคม 2025) |
กรุปปา โกรวี และการได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างกว้างขวาง (1986 ถึง 1988)
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มกราคม 2025) |
ซเวซดา ปา อิมเยนี โซลน์เซ และความโด่งดังโดยทั่วโลก (1989 ถึง 1990)
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มกราคม 2025) |
อัลบั้มไม่มีชื่อ และจุดจบของวง (1990)
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มกราคม 2025) |
การรวมวง (2012, 2019 ถึง ปัจจุบัน)
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มกราคม 2025) |
แนวการเล่น
[แก้]แนวเพลงของคิโนมักถูกอธิบายว่าเป็นแนวโพสต์พังก์[1][10][3][4][5][11] และนิวเวฟ[5][1][3][4] เพลงของคิโนทั้งหมดเขียนโดยวิกเตอร์ ซอย หัวหน้าวง เนื้อเพลงของเขาโดดเด่นด้วยความเรียบง่ายแบบบทกวี แนวคิดเรื่องเสรีภาพปรากฏอยู่ (ในเพลงหนึ่งที่มีชื่อว่า "Mother Anarchy") แต่โดยรวมแล้ว ข้อความของวงถึงสาธารณชนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรง เพลงของพวกเขาส่วนใหญ่เน้นไปที่การต่อสู้ดิ้นรนในชีวิตของมนุษย์และเกี่ยวข้องกับความรัก สงคราม และการแสวงหาเสรีภาพ เมื่อถูกถามถึงประเด็นทางสังคมและการเมืองในเพลงของเขา ซอยกล่าวว่าเพลงของเขาเป็นงานศิลปะ และเขาไม่ต้องการที่จะเกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อสารมวลชน
มรดกต่อคนรุ่นหลัง
[แก้]คิโนเป็นหนึ่งในวงดนตรีร็อคของรัสเซียวงแรก ๆ ที่มีอิทธิพลต่อวงดนตรีรุ่นหลัง ๆ อย่างมาก[12] เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 Nashe Radio สถานีวิทยุเพลงร็อคของรัสเซียได้ประกาศรายชื่อเพลงร็อครัสเซีย 100 อันดับแรกของศตวรรษที่ 20 โดยอิงจากคะแนนโหวตของผู้ฟัง คิโยมิเพลงอยู่ในรายชื่อมากถึง 10 เพลง ซึ่งมากกว่าวงดนตรีอื่น ๆ และ "กรุปปา โกรวี" ของพวกเขาก็คว้าอันดับหนึ่ง หนังสือพิมพ์ Komsomolskaya Pravda ของรัสเซียจัดอันดับให้คิโนเป็นวงดนตรีรัสเซียที่มีอิทธิพลมากเป็นอันดับสอง (รองจาก Alisa)[13] นอกจากนี้ "Gruppa Krovi" ยังถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 40 เพลงที่เปลี่ยนแปลงโลกในนิตยสาร โรลลิงสโตน ฉบับภาษารัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 2007[14]
สมาชิกวง
[แก้]- วิกเตอร์ ซอย (Виктор Цой) – นักร้องนำ ริธึมกีตาร์ กีตาร์อะคูสติก (1981–1990; เสียชีวิต 1990)
- อเล็กซี่ ไรบิน (Алексей Рыбин) – ลีดกีตาร์ (1981–1983)
- โอเล็ก วาลินสกี้ (Олег Валинский) – มือกลอง (1981)
- ยูริ คาสปาเรียน (Юрий Каспарян) – กีตาร์ลีด, ร้องประสาน (1983–1991)
- อเล็กซานเดอร์ ติตอฟ (Александр Титов) – มือเบส, ร้องประสาน (1984–1985)
- เกออร์กี กูร์ยานอฟ (Георгий Гурьянов) – มือกลอง, เครื่องเคาะ, ร้องประสาน (1984–1991; เสียชีวิต 2013)
- อิกอร์ ทิโคมิรอฟ (Игорь Тихомиров) – มือเบส (1985–1991)
รายชื่ออัลบั้ม
[แก้]สตูดิโออัลบั้ม
[แก้]- 45 (1982)
- 46 (1983)
- นาชาลนิค คัมชัตกี (1984)
- เอตา นเย ลยูบอฟ... (1985)
- โนช (1986)
- กรุปปา โกรวี (1988)
- ซเวซดา ปา อิมเยนี โซลน์เซ (1989)
- อัลบั้มไม่มีชื่อ (Black Album) (1990)
อัลบั้มรวบรวม
[แก้]- ปัสเลดนี เกรอย (1989)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Алексей Астров (1988). Виктор Цой: «У нас у всех есть какое-то чутье…». Рио (ภาษารัสเซีย). No. 19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2003.
- ↑ Григорий Шарапа. "Виктор Цой: Биография". www.soyuz.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Алексей Хромов. "Рождённый в СССР: краткая история русского рока". dtf.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 soulsound. "Новая волна русского рока: история в лицах". www.soulsound.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 paul-nidlle. "Музыкальная стилистика и направление группы "Кино"". v-r-tsoy.livejournal.com (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
- ↑ Северная Каролина Ассоциации Конвенции и бюро посетителей. "P-PCC: Пост-панк кино клуб". www.abbreviationfinder.org (ภาษารัสเซีย).
- ↑ .net/band/78/ "Russmus: Кино/Kino". russmus.net. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2020.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "45 – Kino – Songs, Reviews, Credits". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2019.
- ↑ Kushnir, Alexander. 100 Great Albums of Soviet Rock. Moscow: Kraft+, 2003. Print.
- ↑ Григорий Шарапа. "Виктор Цой: Биография". www.soyuz.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
- ↑ Северная Каролина Ассоциации Конвенции и бюро посетителей. "P-PCC: Пост-панк кино клуб". www.abbreviationfinder.org (ภาษารัสเซีย).
- ↑ Svetlana Gudezh. Audition: Direct speech. Zvuki.Ru (30 March 2009).
- ↑ Leonid Zakharov. Groups that have changed our world. Moscow :Komsomolskaya Pravda, 6 July 2004.
- ↑ Editors Rolling Stone. 40 songs that changed the world / / Rolling Stone Russia . -Moscow : Publishing House SPN, in October 2007.