ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาละติน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คำละติน)
ภาษาละติน
จารึกภาษาละตินในโคลอสเซียมแห่งโรม ประเทศอิตาลี
ประเทศที่มีการพูด
ชาติพันธุ์
ยุค700 ปีก่อนคริสตกาล – คริสต์ศตวรรษที่ 18
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ละตินเก่า
  • ภาษาละติน
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรละติน (อักษรละติน)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ นครรัฐวาติกัน
ผู้วางระเบียบสถาบันสังฆราชสำหรับภาษาละติน
รหัสภาษา
ISO 639-1la
ISO 639-2lat
ISO 639-3lat
Linguasphere51-AAB-aa to 51-AAB-ac
  แผนที่จุดสูงสุดของจักรวรรดิโรมันภายใต้จักรพรรดิตรายานุส (ป. ค.ศ. 117) และพื้นที่ที่บริหารโดยผู้พูดภาษาละติน (สีแดงเข้ม)
นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาละตินเป็นจำนวนมาก แม้จะอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิ
ขอบเขตของกลุ่มภาษาโรมานซ์ ลูกหลานในปัจจุบันของภาษาละตินในทวีปยุโรป
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาละติน (อังกฤษ: Latin; ละติน: latīnum, [laˈt̪iːnʊ̃] หรือ lingua latīna, [ˈlɪŋɡʷa laˈt̪iːna]) เป็นภาษาคลาสสิก ซึ่งอยู่ในกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาอิตาลิก ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เดิมเป็นภาษาที่มีถิ่นกำเนิดในที่ราบลาติอูง (หรือ แคว้นลัตซีโย ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นพื้นที่ทางตอนล่างของแม่น้ำไทเบอร์รอบ ๆ กรุงโรมในปัจจุบัน[1] ด้วยอิทธิพลของสาธารณรัฐโรมัน ภาษาดังกล่าวจึงกลายเป็นภาษาที่มีบทบาทสำคัญในคาบสมุทรอิตาลี และแพร่หลายต่อมาในยุคของจักรวรรดิโรมัน แม้จะเกิดเหตุการณ์ล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้น แต่ภาษาละตินก็ยังเป็นภาษากลางสำหรับการสื่อสารระหว่างประเทศ สาขาวิทยาศาสตร์ การศึกษา และสาขาวิชาการในยุโรป จนกระทั่งศตวรรษที่ 18 เมื่อภาษาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค (รวมถึงภาษาลูกหลานของตนอย่าง กลุ่มภาษาโรมานซ์) ก็ได้เข้ามาแทนที่ในฐานะบทบาทของภาษาวิชาการทั่วไปและภาษาราชการ ในปัจจุบันภาษาละตินมีสถานะเป็น "ภาษาที่สูญแล้ว" (dead language) ตามคำจำกัดความในยุคสมัยใหม่ หมายถึง ภาษาที่ไม่มีผู้พูดในฐานะภาษาหลักแล้ว แม้ว่าจะมีการใช้อยู่อย่างแพร่หลายและสม่ำเสมอก็ตาม

ภาษาละตินเป็นภาษาที่มีการผันคำหลากหลาย โดยมีเพศทางไวยากรณ์ที่แตกต่างกันถึงสามเพศ (บุรุษเพศ สตรีเพศ และเพศกลาง) มีการผันการกมากถึง 6 หรือ 7 การก (ได้แก่ กรรตุการก กรรมการก สัมปทานการก สัมพันธการก อปาดานการก สวรการก และ อธิกรณการก) มีวิภัติปัจจัย 5 แบบ มีการเปลี่ยนรูปของคำ 4 แบบ กาล 6 กาล (ได้แก่ ปัจจุบันกาล อสมบูรณ์กาล อนาคตกาล สมบูรณกาล อดีตสมบูรณกาล และอนาคตสมบูรณ์กาล) บุรุษ 3 แบบ มาลา 3 แบบ ประโยค 2 แบบ (ได้แก่ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ และประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ) การณ์ลักษณะ 2 ถึง 3 แบบ และมีพจน์ 2 พจน์ (ได้แก่ เอกพจน์ และพหูพจน์) โดยชุดตัวอักษรละตินได้หยิบยืมมาจากชุดตัวอักษรอิทรัสคันและชุดตัวอักษรกรีกโดยตรง

ในช่วงท้ายของยุคสาธารณรัฐโรมัน (75 ปีก่อนคริสตกาล) ภาษาละตินเก่าได้รับการจัดระบบให้มีมาตรฐานเป็นภาษาละตินคลาสสิก และมีภาษาละตินสามัญ (Vulgar Latin) เป็นภาษาพูดซึ่งมีมาตรฐานน้อยกว่า โดยมีหลักฐานอยู่ในคำจารึกและงานเขียนของนักเขียนบทละครตลกอย่าง เปลาตุส และ แตแรนติอุส[2] รวมถึงนักประพันธ์อย่าง แปโตรนิอุส ภาษาละตินตอนปลายเป็นภาษาเขียนในคริสตศตวรรษที่ 3 และภาษาละตินในภูมิภาคต่าง ๆ ก็ได้วิวัฒนาการไปเป็นกลุ่มภาษาโรมานซ์ ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 6 ถึงคริสตศตวรรษที่ 9 ในท้ายที่สุด

ต่อมาในยุคกลางไม่มีผู้ใดใช้ภาษาละตินเป็นภาษาแม่อีกแล้ว แต่ถึงอย่างไรภาษาละตินในยุคกลางก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วภูมิภาคยุโรปตะวันตกและในคริสตจักรคาทอลิก นับตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 9 จนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ในฐานะของภาษากลางและภาษาวรรณกรรม ซึ่งก็ได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานแบบแผนมากขึ้น เรียกว่า ภาษาละตินยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance Latin) และได้กลายเป็นรากฐานที่สำคัญให้กับกลุ่มภาษาละตินใหม่ (Neo-Latin) ในช่วงต้นยุคสมัยใหม่ ในช่วงเวลาเหล่านี้ ภาษาละตินถูกใช้ในการจดบันทึกและพูดอย่างแพร่หลาย อย่างน้อยก็จนถึงปลายศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงที่ภาษาละตินได้รับความนิยมลดลง จนเหลือแค่การสอนให้อ่านเพียงอย่างเดียว

ถึงอย่างไรภาษาละตินก็ยังเป็นภาษาราชการของสันตะสำนักและพิธีกรรมโรมันของคริสตจักรคาทอลิก (Catholic Church) ที่นครรัฐวาติกันอยู่จนถึงปัจจุบัน คริสตจักรยังคงรักษาและพัฒนารูปแบบวิธีของภาษาให้มีความทันสมัยอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างความต่อเนื่องในการสืบทอดรูปแบบของภาษาละตินเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ภาษาละตินในยุคปัจจุบัน มักถูกใช้ในการศึกษาเพื่ออ่านเขียนมากกว่าถูกนำไปใช้ในการพูด

ภาษาละตินเป็นภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาอังกฤษมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะตั้งแต่หลังจากการเปลี่ยนมานับถือคริสตศาสนาของชาวแองโกล-แอกซอนและการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน (Norman conquest) ทำให้คำศัพท์หลาย ๆ คำในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ถูกแทนที่ด้วยคำศัพท์ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน (รวมถึงภาษากรีกโบราณ) โดยคำศัพท์ส่วนใหญ่ที่ยืมมาใช้ในภาษาอังกฤษมักถูกใช้นำไปใช้ในสาขาวิชาเทววิทยา แวดวงวิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะ กายวิภาคศาสตร์ และ อนุกรมวิธาน) รวมไปถึง ทางการแพทย์ และสาขาวิชากฎหมาย

ความเป็นมา

[แก้]
ภูมิทัศน์ทางภาษาของอิตาลีตอนกลางในยุคแรกของการขยายตัวของชาวโรมัน

มีการจัดแบ่งพัฒนาการของภาษาละตินไว้อย่างแตกต่างกัน ตามแต่ละช่วงสมัยในประวัติศาสตร์ ภาษาละตินในแต่ละยุคสมัยได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันไป ทั้งในด้านของการใช้คำศัพท์ อักขรวิธี สัณฐานวิทยา ไวยากรณ์ ฯลฯ ในที่นี้นักวิชาการได้ทำการวิจัยและศึกษาถึงคุณสมบัติที่แตกต่างกันของภาษาละตินผ่านการใช้งานในแต่ละยุคสมัย ตามการจำแนกชื่อให้แตกต่างกัน

นอกจากนี้ภาษาละตินคริสตจักร (Ecclesiastical Latin) ก็ยังเป็นรูปแบบอนุพันธ์ของภาษาละตินที่นักเขียนของคริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) นิยมใช้งานมาตลอดทุกช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ในช่วงปลายสมัยโบราณ เช่นเดียวกันกับนักวิชาการโปรเตสแตนต์

หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 ชาวเจอร์แมนิกได้เข้ามาตั้งรกรากในอาณาจักรดั้งเดิมและนําภาษาละตินมาใช้งานสำหรับทางกฎหมายและอื่น ๆ ในกรณีที่เป็นทางการมากยิ่งขึ้น[3]

อิทธิพลของภาษาละติน

[แก้]

อิทธิพลทางวรรณคดี

[แก้]
จูเลียส ซีซาร์ บันทึกเหตุการณ์สงครามแกลลิค เป็นหนังสือภาษาละตินที่มีชื่อเสียงที่สุดเล่มหนึ่งในช่วงยุคทองของภาษาละติน เขียนขึ้นในสไตล์ที่ไม่ขัดเกลา และตรงไปตรงมาของการรายงานเหตุการณ์อย่างนักวารสาร และเป็นต้นแบบของการใช้ภาษาละตินในสาธารณรัฐโรมัน

งานเขียนของนักเขียนโบราณหลายร้อยคนในภาษาละติน มีหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก และถูกศึกษาในปัจจุบันทั้งในสาขานิรุกติศาสตร์ และวรรณคดีคลาสสิก งานของพวกเขาถูกเผยแพร่ในรูปแบบของเอกสารหรือต้นฉบับตัวเขียน (manuscript) มาตั้งแต่ก่อนที่นวัตกรรมทางการพิมพ์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น

วรรณกรรมในภาษาละตินมีทั้งในรูปของ เรียงความ ประวัติศาสตร์ บทกวี บทละคร และงานเขียนอื่น ๆ โดยเริ่มปรากฏตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสกาล และกลายมาเป็นภาษาวรรณกรรมหลักของโลกโรมันโบราณในอีกสองศตวรรษถัดมา ในขณะที่ชาวโรมันที่มีการศึกษาก็ยังอ่านและเขียนโดยใช้ภาษากรีกโบราณควบคู่กันไปด้วย (เช่น จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส ผู้ทรงนิพนธ์งานปรัชญาเป็นภาษากรีก) อาจจะกล่าวได้ว่าวรรณคดีในภาษาละตินก็คือการสืบเนื่องของวรรณกรรมกรีกโบราณ โดยชาวโรมันรับเอารูปแบบงานวรรณคดีของกรีซหลายอย่างมาใช้

เนื่องจากภาษาละตินเป็นภาษากลางในการสื่อสารของยุโรปตะวันตกจนกระทั่งถึงยุคกลาง วรรณคดีภาษาละตินจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่นักเขียนโรมัน เช่น คิเคโร เวอร์จิล โอวิด และโฮเรส เท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักเขียนยุโรปที่ยังผลิตงานเขียนในภาษาละตินออกมาแม้อาณาจักรโรมันจะล่มสลายไปแล้ว ตั้งแต่นักเขียนด้านศาสนาอย่าง ธอมัส อไควนัส (1225 - 1274) จนถึงนักเขียนฆารวาสอย่าง ฟรานซิส เบคอน (1561 - 1626) บารุค สปิโนซา (1632 - 1677) และ ไอแซก นิวตัน (1642 - 1727)

อิทธิพลต่อภาษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

[แก้]

สัทศาสตร์

[แก้]

การออกเสียงแบบโบราณของภาษาละตินได้รับการสืบสร้างทั้งตามข้อสันนิษฐานและหลักฐานการบันทึกไว้ของนักเขียนสมัยโบราณ ซึ่งให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการออกเสียง การสะกด การเล่นคำ และรากคำจากภาษาโบราณไว้ [4]

พยัญชนะ

[แก้]

ตารางหน่วยพยัญชนะของภาษาละตินคลาสสิก :[5]

ริมฝีปาก ทันตะ เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
plain ริมฝีปาก
เสียงระเบิด โฆษะ b d ɡ ɡʷ
อโฆษะ p t k
เสียงเสียดแทรก โฆษะ z
อโฆษะ f s h
นาสิก m n (ŋ)
เสียงตัว "ร" r
เสียงเปิด l j w

ในภาษาละตินเก่าและภาษาละตินคลาสสิก จะไม่มีการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างอักษรตัวใหญ่ (uppercase) และตัวเล็ก (lowercase) หรือระหว่างตัวอักษร J, U, W แทนที่จะสะกดด้วยอักษร J, U ก็สามารถใช้ อักษร I, V สะกดแทนได้ตามลำดับ นอกจากนี้อักษร I, V ยังสามารถเป็นได้ทั้งสระและพยัญชนะ

อักษร
ละติน
เสียง
ละติน
ตัวอย่างเทียบกับภาษาอังกฤษ
c [k] Always hard as k in sky, never soft as in central, cello, or social
t [t] As t in stay, never as t in nation
s [s] As s in say, never as s in rise or issue
g [ɡ] Always hard as g in good, never soft as g in gem
[ŋ] Before n, as ng in sing
n [n] As n in man
[ŋ] Before c, x, and g, as ng in sing
l [l] When doubled ll and before i, as clear l in link (l exilis)[6][7]
[ɫ] In all other positions, as dark l in bowl (l pinguis)
qu [kʷ] Similar to qu in quick, never as qu in antique
u [w] Sometimes at the beginning of a syllable, or after g and s, as w in wine, never as v in vine
i [j] Sometimes at the beginning of a syllable, as y in yard, never as j in just
[jj] Doubled between vowels, as y y in toy yacht
x [ks] A letter representing c + s: as x in English axe, never as x in example

เสียงสระ

[แก้]

สระเดี่ยว

[แก้]
หน้า กลาง หลัง
ปิด ɪ ʊ
กลาง ɛ ɔ
เปิด a
Pronunciation of Latin vowels
อักษร
ละติน
ออกเสียง ตัวอย่าง
a [a] similar to u in cut when short
[aː] similar to a in father when long
e [ɛ] as e in pet when short
[eː] similar to ey in they when long
i [ɪ] as i in sit when short
[iː] similar to i in machine when long
o [ɔ] as o in sort when short
[oː] similar to o in holy when long
u [ʊ] similar to u in put when short
[uː] similar to u in true when long
y [ʏ] as in German Stück when short (or as short u or i)
[yː] as in German früh when long (or as long u or i)

สระประสมสองเสียง

[แก้]
สระประสมสองเสียง
แบ่งตามเสียงเริ่มต้น
หน้า หลัง
ปิด ui /ui̯/
กลาง ei /ei̯/
eu/eu̯/
oe /oe̯/
ou /ou̯/
เปิด ae /ae̯/
au /au̯/

ตัวอย่างภาษาละติน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sandys, John Edwin (1910). A companion to Latin studies. Chicago: University of Chicago Press. pp. 811–812.
  2. Clark 1900, pp. 1–3
  3. "History of Europe – Barbarian migrations and invasions". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-06.
  4. Allen 2004, pp. viii–ix
  5. Sihler, Andrew L. (1995). New Comparative Grammar of Greek and Latin. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-508345-3. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  6. Sihler 2008, p. 174.
  7. Allen 2004, pp. 33–34

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Allen, William Sidney (2004). Vox Latina – a Guide to the Pronunciation of Classical Latin (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-22049-1.
  • Baldi, Philip (2002). The foundations of Latin. Berlin: Mouton de Gruyter.
  • Bennett, Charles E. (1908). Latin Grammar. Chicago: Allyn and Bacon. ISBN 978-1-176-19706-0.
  • Buck, Carl Darling (1904). A grammar of Oscan and Umbrian, with a collection of inscriptions and a glossary. Boston: Ginn & Company.
  • Clark, Victor Selden (1900). Studies in the Latin of the Middle Ages and the Renaissance. Lancaster: The New Era Printing Company.
  • Diringer, David (1996) [1947]. The Alphabet – A Key to the History of Mankind. New Delhi: Munshiram Manoharlal Publishers Private Ltd. ISBN 978-81-215-0748-6.
  • Herman, József; Wright, Roger (Translator) (2000). Vulgar Latin. University Park, PA: Pennsylvania State University Press. ISBN 978-0-271-02000-6. {{cite book}}: |first2= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Holmes, Urban Tigner; Schultz, Alexander Herman (1938). A History of the French Language. New York: Biblo-Moser. ISBN 978-0-8196-0191-9.
  • Janson, Tore (2004). A Natural History of Latin. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-926309-7.
  • Jenks, Paul Rockwell (1911). A Manual of Latin Word Formation for Secondary Schools. New York: D.C. Heath & Co.
  • Palmer, Frank Robert (1984). Grammar (2nd ed.). Harmondsworth, Middlesex, England; New York, N.Y., U.S.A.: Penguin Books. ISBN 978-81-206-1306-5.
  • Sihler, Andrew L (2008). New comparative grammar of Greek and Latin. New York: Oxford University Press.
  • Vincent, N. (1990). "Latin". ใน Harris, M.; Vincent, N. (บ.ก.). The Romance Languages. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-520829-0.
  • Waquet, Françoise; Howe, John (Translator) (2003). Latin, or the Empire of a Sign: From the Sixteenth to the Twentieth Centuries. Verso. ISBN 978-1-85984-402-1. {{cite book}}: |first2= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Wheelock, Frederic (2005). Latin: An Introduction (6th ed.). Collins. ISBN 978-0-06-078423-2.
  • Curtius, Ernst (2013). European Literature and the Latin Middle Ages. Princeton University. ISBN 978-0-691-15700-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เครื่องมือภาษา

[แก้]

หลักสูตร

[แก้]

ไวยากรณ์และบทเรียน

[แก้]

สัทศาสตร์

[แก้]

ข่าวและเสียงภาษาละติน

[แก้]

สังคมออนไลน์ภาษาละติน

[แก้]