สงครามกลางเมืองฟินแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามกลางเมืองฟินแลนด์
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, การปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923

สิ่งปลูกสร้างพลเรือนในเมืองตัมเปเร ได้ถูกทำลายในสงครามกลางเมือง
วันที่27 มกราคม – 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1918
(3 เดือน 2 สัปดาห์ 4 วัน)
สถานที่
ผล
  • ฝ่ายขาวฟินแลนด์ชนะ
  • การใช้อำนาจครอบงำของเยอรมันจนกระทั่งถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918
  • การแบ่งแยกสังคมในฟินแลนด์
คู่สงคราม

Finnish Whites
 เยอรมนี[1]
Swedish Brigade

Finnish Reds
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Soviet Russia
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ค. ก. อ. มันเนอร์เฮม
Hannes Ignatius
Ernst Linder
Ernst Löfström
Martin Wetzer
Karl Wilkman
Hjalmar Frisell
Harald Hjalmarson
Hans Kalm
S. Prus-Boguslawski
จักรวรรดิเยอรมัน Rüdiger von der Goltz
จักรวรรดิเยอรมัน Hans von Tschirsky und von Bögendorff
จักรวรรดิเยอรมัน Konrad Wolf
จักรวรรดิเยอรมัน Otto von Brandenstein
จักรวรรดิเยอรมัน Hugo Meurer
Ali Aaltonen
Eero Haapalainen
Eino Rahja
Adolf Taimi
Evert Eloranta
Kullervo Manner
August Wesley
Hugo Salmela
Heikki Kaljunen
Fredrik Johansson
Matti Autio
Verner Lehtimäki
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Konstantin Yeremejev
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Mikhail Svechnikov
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Georgij Bulatsel
กำลัง
White Guards 80,000–90,000
Jägers 1,450
Imperial German Army 14,000
Swedish Brigade 1,000[2]
Estonian volunteers[3]
Polish Legion 1,737[4]
Red Guards 80,000–90,000 (2,600 women)
Former Russian Imperial Army 7,000–10,000[2]
ความสูญเสีย
Whites
3,500 killed in action
1,650 executed
46 missing
4 POW deaths
Swedes
55 killed in action
Germans
450–500 killed in action[5]
Total
5,700–5,800 casualties (100–200 neutral/"White" civilians)
Reds
5,700 killed in action
10,000 executed
1,150 missing
12,500 POWs deceased, 700 acute deaths after release
Russians
800–900 killed in action
1,600 executed[5]
Total
32,500 casualties (100–200 neutral/"Red" civilians)

สงครามกลางเมืองฟินแลนด์ เป็นสงครามกลางเมืองในฟินแลนด์ในปี ค.ศ. 1918 เป็นการสู้รบเพื่อการเป็นผู้นำและควบคุมฟินแลนด์ในช่วงที่ประเทศกำลังเปลี่ยนแปลงจากราชรัฐของจักรวรรดิรัสเซียมาเป็นรัฐเอกราช การปะทะกันเกิดขึ้นในบริบทของเหตุระส่ำระสายของประเทศ การเมือง และสังคมที่สาเหตุมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง(แนวรบด้านตะวันออก)ในยุโรป สงครามครั้งนี้เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายแดง ภายใต้การนำโดยส่วนหนึ่งของพรรคสังคมประชาธิปไตย และฝ่ายขาว ที่ถูกดำเนินการโดยวุฒิสภาที่มาจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมและกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน กองกำลังกึ่งทหาร เรดการ์ดประกอบไปด้วยคนงานจากโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ได้เข้าควบคุมเมืองและศูนย์กลางเขตอุตสาหกรรมของฟินแลนด์ทางตอนใต้ กองกำลังกึ่งทหาร ไวท์การ์ดประกอบไปด้วยเกษตรกรพร้อมกับชนชั้นทางสังคมคือชนชั้นกลางและชนชั้นสูงที่ควบคุมชนบทภาคกลางและทางเหนือของฟินแลนด์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของความขัดแย้ง สังคมฟินแลนด์ได้ประสบกับการเติบโตของประชากร โรงงานอุตสาหกรรม ก่อนที่จะกลายเป็นเมือง และการกำเนิดของขบวนการแรงงานที่ได้ครอบคุม ระบบรัฐบาลและการเมืองของประเทศอยู่ในช่วงที่ไม่มั่นคงของระบอบประชาธิปไตยและความทันสมัย สภาพทางเศรษฐกิจสังคมและการศึกษาของประชากรก็ค่อย ๆ ดีขึ้น เช่นเดียวกับความคิดระดับชาติ และชีวิตวัฒนธรรมได้ตื่นตัวขึ้น

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิรัสเซีย ก่อให้เกิดช่องว่างของอำนาจในฟินแลนด์และการต่อสู้ในเวลาต่อมาเพื่ออำนาจการปกครองได้นำไปสู่การทำสงครามและวิกฤตที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างขบวนการแรงงานที่เอนเอียงไปทางฝ่ายซ้ายและฝ่ายอนุรักษ์นิยม ฝ่ายแดงได้ดำเนินการโจมตีทั่วไปที่ไม่ประสบความสำเร็จในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้วยอาวุธโดยโซเวียตรัสเซีย การโจมตีตอบโต้กลับโดยฝ่ายขาวได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนมีนาคม ได้รับการสนับสนุนเสริมกำลังโดยกองกำลังทหารจักรวรรดิเยอรมันในเดือนเมษายน การสู้รบที่ได้ตัดสินชี้ชะตาคือ ยุทธการที่ตัมเปเร และ Vyborg ชัยชนะโดยฝ่ายขาว และยุทธการที่เฮลซิงกิและลาห์ตี ชัยชนะโดยทหารเยอรมัน นำไปสู่ชัยชนะโดยรวมสำหรับฝ่ายขาวและกองทัพเยอรมัน ความรุนแรงทางการเมืองกลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามครั้งนี้ จำนวนเชลยศึกฝ่ายแดงประมาณ 12,500 นายได้เสียชีวิตที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการและโรคภัยในค่าย ประชากรประมาณ 39,000 คน ซึ่งมีจำนวน 36,000 คนเป็นชาวฟินแลนด์ ได้เสียชีวิตจากความขัดแย้งครั้งนี้

ในช่วงเวลาต่อมา ฟินแลนด์ได้เปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองของรัสเซียไปยังเขตอิทธิพลของเยอรมันด้วยแผนการที่จะสถาปนาราชวงศ์ฟินแลนด์ภายใต้การนำโดยเยอรมัน โครงการดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและฟินแลนด์ได้ถูกแทนที่กลายเป็นรัฐอิสระ สาธารณรัฐประชาธิปไตย สงครามกลางเมืองได้แบ่งประเทศมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ สังคมฟินแลนด์ได้กลับมารวมตัวอีกครั้งผ่านการประนีประนอมทางสังคมบนพื้นฐานของวัฒนธรรมระยะยาวของการเมืองและศาสนาที่พอประมาณ และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจในช่วงหลังสงคราม

อ้างอิง[แก้]

  1. Including conspirative co-operation between Germany and Russian Bolsheviks 1914–1918, Pipes 1996, pp. 113–149, Lackman 2009, pp. 48–57, McMeekin 2017, pp. 125–136
  2. 2.0 2.1 Arimo 1991, pp. 19–24, Manninen 1993a, pp. 24–93, Manninen 1993b, pp. 96–177, Upton 1981, pp. 107, 267–273, 377–391, Hoppu 2017, pp. 269–274
  3. Ylikangas 1993a, pp. 55–63
  4. Muilu 2010, pp. 87–90
  5. 5.0 5.1 Paavolainen 1966, Paavolainen 1967, Paavolainen 1971, Upton 1981, pp. 191–200, 453–460, Eerola & Eerola 1998, National Archive of Finland 2004 เก็บถาวร 10 มีนาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Roselius 2004, pp. 165–176, Westerlund & Kalleinen 2004, pp. 267–271, Westerlund 2004a, pp. 53–72, Tikka 2014, pp. 90–118