ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของบรูไน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาติที่บรูไนมีความสัมพันธ์ทางการทูต

ประเทศบรูไนเข้าร่วมอาเซียนในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1984 หลังเป็นเอกราชเต็มตัวหนึ่งสัปดาห์ จากนั้นจึงเข้าร่วมสหประชาชาติในเดือนกันยายน ค.ศ. 1984 และยังเป็นสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี), ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) และเครือจักรภพแห่งประชาชาติ บรูไนเคยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2000 ต่อมาใน ค.ศ. 2005 จึงได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

บรูไนมีคณะผู้แทนทางทูตในหลายประเทศและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศสิงคโปร์ โดยมีระบอบเงินตราที่แลกเปลี่ยนได้ร่วมกัน และความสัมพันธ์ทางทหารที่ใกล้ชิด นอกจากความสัมพันธ์กับรัฐอาเซียนอื่น ๆ (โดยมีฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และมาเลเซียเป็นพันธมิตรหลัก) บรูไนก็ยังเป็นสมาชิกเพิ่มเติมกับโลกมุสลิมและโลกอาหรับที่อยู่นอกภูมิภาคตนเอง

องค์กรระหว่างประเทศ[แก้]

บรูไนกลายเป็นรัฐสมาชิกของเครือจักรภพใน ค.ศ. 1984[1] เข้าร่วมอาเซียน, สหประชาชาติ และองค์การความร่วมมืออิสลามใน ค.ศ. 1984[2] เป็นผู้เล่นคนสำคัญใน BIMP-EAGA ใน ค.ศ. 1994[3] และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การการค้าโลกใน ค.ศ. 1995[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "MOFAT, Commonwealth". Ministry of Foreign Affairs and Trade of Brunei Darussalam. 30 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2010.
  2. "US DOS" (30 March 2010). "MOFAT, UN". Ministry of Foreign Affairs and Trade of Brunei Darussalam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2008.
  3. "MOFAT, BIMP-EAGA". Ministry of Foreign Affairs and Trade. 30 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2008.
  4. "MOFAT, WTO". Ministry of Foreign Affairs and Trade. 30 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2008.