ความพิการในประเทศสิงคโปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขบวนพาเหรดทีมชาติสิงคโปร์ในพาราลิมปิก 2016
ขบวนพาเหรดทีมชาติสิงคโปร์ในพาราลิมปิก 2016

ประเทศสิงคโปร์ไม่มีคำจำกัดความอย่างเป็นทางการของความพิการ แต่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทัศนวิสัยของคนพิการและยังเพิ่มการเข้าถึงในทุกพื้นที่ของประเทศ ในช่วงต้นประวัติศาสตร์ของประเทศ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับคนพิการเกิดขึ้นเป็นอันดับสองรองจากความจำเป็นในการได้รับเอกราชและการสร้างเศรษฐกิจ ประเทศสิงคโปร์ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (UNCRPD) ใน ค.ศ. 2013 รวมถึงประสานงานการดำเนินงานตามแผนแม่บทกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์การนอกภาครัฐ

ประวัติ[แก้]

วาทกรรมการกุศลโดยทั่วไปแพร่หลายในประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การสนับสนุนคนพิการได้ตกเป็นของชุมชนที่ก่อตั้งองค์การอาสาสมัครต่าง ๆ[1] การสิ้นสุดของสงครามทำให้อังกฤษบังคับใช้รัฐสวัสดิการตามรายงานของเบเวอริดจ์ ซึ่งส่งผลกระทบในประเทศสิงคโปร์ ส่วนกรมสวัสดิการสังคม (SWD) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งเน้นเรื่องสวัสดิการ[1] ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือถาวรเฉพาะผู้ทุพพลภาพถาวรหรือเนื่องจากวัยชราเท่านั้น[1] อย่างไรก็ตาม กรมสวัสดิการสังคมยังไม่ครอบคลุมเท่ากับระบบของอังกฤษ[2] กรมสวัสดิการสังคมไม่ได้จัดเตรียมข้อกำหนดสำหรับการศึกษาพิเศษ และในความเป็นจริง ดูเหมือนว่าจะมีความคิดที่ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะ "กีดขวางการศึกษาของเด็กโดยทั่วไป"[1] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และคริสต์ทศวรรษ 1970 ด้วยการที่สิงคโปร์เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้เห็นความสำคัญครั้งใหม่ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าร่วมและกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้[1] โดยเป็นเพียงใน ค.ศ. 1981 เมื่อการประชุมระดับโลกครั้งแรกของคนพิการนานาชาติจัดขึ้นที่สิงคโปร์ ซึ่งได้เริ่มวาทกรรมใหม่บนพื้นฐานของตัวแบบความพิการทางสังคม[1] ทั้งนี้ นักเคลื่อนไหวคนพิการจากทั่วโลก รวมถึงวิก ฟิงเคลสไตน์, เอ็ด รอเบิตส์ (นักเคลื่อนไหว) และเบ็งต์ ลินด์ควิสต์ ได้เลือกรอน แชนแดรน ดัดลีย์ ชาวสิงคโปร์เป็นประธานผู้ก่อตั้งคนแรก โดยสิ่งนี้จะนำไปสู่การเติบโตของการเคลื่อนไหวเพื่อคนพิการตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นไป[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

การอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Kuansong, Zhuang (2010). "Enabling the Singapore Story: Writing a History of Disability". Monograph 42: Studies in Malaysian & Singapore History: Mubin Sheppard Memorial Essays: 47–81.
  2. Luk 2014, p. 96.

แหล่งที่มา[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]