ข้ามไปเนื้อหา

ความถี่ฉุกเฉินอากาศยาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยุบนเครื่องบินเซสนา ในโหมดสแตนด์บาย 121.5

ความถี่ฉุกเฉินอากาศยาน (อังกฤษ: aircraft emergency frequency) หรือที่รู้จักในสหรัฐในชื่อ ความถี่การ์ด คือความถี่ที่ใช้บนย่านความถี่อากาศยานที่สงวนไว้สำหรับการสื่อสารฉุกเฉินสำหรับอากาศยานที่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ความถี่คือ 121.5 MHz สำหรับพลเรือน หรือที่รู้จักในชื่อ ความถี่แจ้งเหตุรายทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Distress: IAD) หรือ ถวามถี่วีเอชเอฟการ์ด (VHF Guard) และ 243.0 MHz ซึ่งเป็นฮาร์โมนิกที่สองของความถี่วีเอชเอฟการ์ด สำหรับการใช้งานทางทหาร หรือที่เรียกว่า ความถี่แจ้งเหตุร้ายทางทหาร (Military Air Distress: MAD) หรือ ความถี่ยูเอชเอฟการ์ด เครื่องส่งสัญญาณระบุตำแหน่งฉุกเฉิน (ELT) ก่อนหน้านี้ใช้ความถี่การ์ดในการส่งสัญญาณ แต่เครื่องส่งสัญญาณระบุตำแหน่งฉุกเฉินที่ทันสมัยกว่าใช้ความถี่เพิ่มเติม 406 MHz ในการส่งสัญญาณ

ประวัติ[แก้]

การใช้ความถี่ 121.5 MHz จัดทำโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)[1] ร่วมกับ เอริงค์ และ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

การเฝ้าติดตาม[แก้]

ในสหรัฐ ความถี่ฉุกเฉินได้รับการเฝ้าติดตามโดยหอควบคุมการจราจรทางอากาศ, สถานีบริการการบิน (FSS), ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศแห่งชาติ, หน่วยป้องกันทางอากาศของทหาร และหน่วยการบินและบริการฉุกเฉินอื่น ๆ ตลอดจนโดยเครื่องบินพาณิชย์จำนวนมาก ประกาศถึงนักบิน FDC 4/4386 กำหนดให้ "...เครื่องบินทุกลำที่ทำงานในน่านฟ้าแห่งชาติของสหรัฐ หากสามารถทำได้ จะต้องคงการเฝ้าฟังการฟังบนความถี่วีเอชเอฟการ์ด 121.5 หรือยู่เอชเอฟ 243.0"[2]

ในสหราชอาณาจักร ความถี่ 121.5 MHz ได้รับการเฝ้าติดตามโดยหน่วยรับแจ้งเหตุร้ายและการเปลี่ยนเส้นทางกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (Royal Air Force Distress and Diversion Cell) (รู้จักในชื่อ "D&D") ที่ศูนย์ควบคุมเทอร์มินัลลอนดอน (London Terminal Control Center) และหน่วยควบคุมแชนวิคโอเชียนิก (Shanwick Oceanic Control) จากเครือข่ายสายอากาศทั่วประเทศ ขึ้นอยู่กับระดับความสูงและตำแหน่งของเครื่องบิน บุคลากรในศูนย์อาจสามารถใช้การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) เพื่อระบุตำแหน่งที่แน่นอน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักบินหากเครื่องบินสูญหายหรือ "ไม่แน่ใจตำแหน่งชั่วคราว"

การใช้งาน[แก้]

เครื่องบินขับไล่ F/A-18 Hornet ของกองทัพอากาศสวิสที่มีที่ติดอักษร STBY 121.50 เขียนอยู่บนถังน้ำมันภายนอก

อากาศยานทุกลำที่ประสบเหตุร้ายหรือประสบเหตุฉุกเฉินสามารถใช้ความถี่การ์ดทั้งสองความถี่ได้ และยังสามารถใช้โดยศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศเพื่อเตือนเครื่องบินหากกำลังจะบินเข้าสู่น่านฟ้าที่ถูกกำกัดหรือหวงห้าม

ความถี่การ์ดสามารถใช้สำหรับการเรียกขานแจ้งเหตุ เช่น การเรียกขานเมย์เดย์ (Mayday) และการเรียกขานฉุกเฉิน เช่น การเรียกขาน แพน-แพน (Pan-pan)

อากาศยานจะได้รับการติดต่อบนคลื่นความถี่ 121.5 MHz เมื่อเครื่องบินป้องกันภัยทางอากาศเข้าสกัดกั้น เพื่อขอตรวจสอบตัวตนและจุดประสงค์ และเพื่อส่งต่อคำแนะนำ

การใช้ในทางที่ผิด[แก้]

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ภาคผนวก 10 เล่มที่ 5 § 4.1.3.1.1 ระบุว่า "ช่องสัญญาณฉุกเฉิน (121.5 MHz) จะต้องใช้เพื่อวัตถุประสงค์ฉุกเฉินอย่างแท้จริงเท่านั้น"

การใช้ความถี่ในทางที่ผิดอาจส่งผลให้เกิดการลงโทษได้ ในสหรัฐ กฎของคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (FCC) ห้ามมิให้การเรียกขานแจ้งเหตุผิดพลาดและการสื่อสารที่ไม่จำเป็น หากสำนักงานบังคับใช้ของ FCC สามารถระบุตัวตนบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎดังกล่าวนี้ บุคคลนั้นอาจถูกปรับสูงสุด 19,246 ดอลลาร์สหรัรฐสำหรับการละเมิดหนึ่งครั้ง และสูงสุด 144,344 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับการละเมิดที่กำลังดำเนินอยู่ FCC อาจยึดอุปกรณ์วิทยุที่ใช้ก่อเหตุและมีความผิดทางอาญา[3]

ในสหราชอาณาจักร นักบินอาจเรียกขาน "ฝึกซ้อมแพน" หรือ "เทรนนิ่งฟิก"[4][5] ไม่อนุญาตให้ฝึกการเรียกขานเมย์เดย์[6]

การระบุตำแหน่งบีคอน[แก้]

เครื่องส่งสัญญาณระบุตำแหน่งฉุกเฉินรุ่นเก่าจะส่งคลื่นความถี่ที่ 121.5 MHz ในกรณีที่เกิดการกระแทก ELT รุ่นใหม่ส่งสัญญาณบนความถี่ 406 MHz พร้อมบีคอนกำลังต่ำที่ 121.5 MHz สำหรับท้องที่นั้น ดาวเทียมจะคอยฟังสัญญาณและแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ถึงเหตุฉุกเฉิน และสัญญาณช่วยให้การค้นหาและช่วยเหลือค้นหาที่เกิดเหตุได้เร็วขึ้น บีคอนที่ทำงานที่ 406 MHz ได้รับการเข้ารหัส ช่วยให้ระบุเรือต้นทางได้และตรวจสอบสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว สำหรับรุ่นที่สนับสนุนการใช้งานกับดาวเทียมที่ความถี่ 121.5 MHz เท่านั้นถูกยกเลิกการใช้งานไปเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552[7][8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Misuse of International Aeronautical Emergency Frequency 121.5 MHz | SKYbrary Aviation Safety". skybrary.aero.
  2. "FDC 4/4386 Special Notice - National Airspace System Intercept Procedes" (PDF). Federal Aviation Administration.
  3. "FAA, FCC Investigating Misuse of 121.5 MHz Mayday Frequency". National Business Aviation Association. 2017-08-17. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
  4. https://www.raf.mod.uk/sites/raf-beta/assets/File/95E50AF2_D570_FF5F_478C01766B2F43C8 (1).pdf
  5. https://www.getintoflying.com/distress-and-diversion-cell-a-practical-guide-to-practice-pan-and-training-fix/
  6. Radiotelephony Manual (CAP 413) https://publicapps.caa.co.uk/docs/33/CAP413%20E23%20A1%2026Nov2020.pdf
  7. "Emergency Beacons". NOAA.
  8. "Emergency Position Indicating Radiobeacon (EPIRB)". U.S. Coast Guard.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]