ความตกลงเพิร์ท
การประชุมผู้นำรัฐบาลในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ครั้งที่ 22 | |
---|---|
วันที่ | 28–30 ตุลาคม ค.ศ. 2011 |
สถานที่จัดงาน | คิงส์พาร์ก |
เมือง | เพิร์ท, ออสเตรเลียตะวันตก |
ประมุข หรือผู้นำรัฐบาล | 36 |
ประธาน | จูเลีย กิลลาร์ด (นายกรัฐมนตรี) |
ก่อนหน้า | ค.ศ. 2009 |
ถัดไป | ค.ศ. 2013 |
ประเด็นสำคัญ | |
ความตกลงเพิร์ท (อังกฤษ: Perth Agreement) เป็นความตกลงระหว่างนายกรัฐมนตรีของรัฐ 16 แห่งในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ซึ่งเวลานั้นนับถือร่วมกันว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นประมุขของพวกตน ความตกลงนี้กำหนดให้รัฐบาลของรัฐดังกล่าวไปแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์และประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีดังนี้โดยสังเขป
- แทนที่สิทธิของบุตรหัวปีแบบบุรุษมาก่อน (male-preference premogeniture) ซึ่งเพศชายจะมีสิทธิเหนือกว่าเพศหญิงในการสืบสันตติวงศ์ ด้วยสิทธิของบุตรหัวปี (absolute premogeniture) ซึ่งไม่แบ่งเพศเป็นเกณฑ์ในการสืบสันตติวงศ์
- ยกเลิกการตัดสิทธิสืบสันตติวงศ์ของพระราชวงศ์ที่สมรสกับผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก
- กำหนดให้พระราชวงศ์เพียงหกลำดับที่ใกล้ชิดกับการสืบสันตติวงศ์ที่สุดต้องได้รับพระบรมราชานุญาตก่อนเสกสมรส
ข้อห้ามผู้นับถือนิกายอื่นนอกจากโปรเตสแตนท์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และข้อกำหนดให้ผู้นั้นต้องเข้าร่วมคริสตจักรอังกฤษนั้น ไม่ได้รับการแก้ไข
ความตกลงเพิร์ทได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ที่เพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำรัฐบาลในเครือจักรภพฯ ปีละสองครั้ง กลุ่มประเทศเหล่านี้ใช้หลักการเกี่ยวกับสถาบันและรัฐธรรมนูญร่วมกันดังที่ตราไว้ในธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 ซึ่งกำหนดให้มีกระบวนการอันยืดยาวและซับซ้อนในการดำเนินตามความตกลงฉบับนี้
ภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 รัฐบาลทุกแห่งในเครือจักรภพฯ ได้ตกลงตรากฎหมายตามความตกลง โดยมีนิวซีแลนด์เป็นประธานคณะทำงานเพื่อกำหนดขั้นตอนดำเนินการ เครือจักรภพฯ ซึ่งประกอบด้วย สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จาไมกา บาร์เบโดส บาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเชีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เบลีซ แอนติกาและบาร์บูดา และเซนต์คิตส์และเนวิส นั้น ไม่ขึ้นตรงต่อกัน แต่ก็มีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในลักษณ์ที่เสมอภาคกันตามรัฐธรรมนูญ คณะทำงานดังกล่าวได้ยืนยันว่า ได้มีการอนุมัติกฎหมายทั้งหมดที่จำเป็นต่อการให้ความตกลงมีผลบังคับ และรองนายกรัฐมนตรีสหรัฐอาณาจักรก็สำทับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2015[1][2][3] สำหรับประเทศแคนาดา แม้กฎหมายจะถูกคัดค้านในศาล แต่ก็ผ่านมาได้โดยได้รับการยืนยันตามเดิม[4][5]
ในวันที่การเปลี่ยนแปลงข้างต้นเริ่มผลบังคับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 นั้น บุคคลแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบ คือ บรรดาบุตรของเลดีดาวีนา วินด์เซอร์ ซึ่งได้แก่ เทน บุตรชายเกิดใน ค.ศ. 2012 และเซนนา บุตรหญิงเกิดใน ค.ศ. 2010 ต้องถูกสลับอันดับในการสืบสันตติวงศ์เป็น 29 และ 28 ตามลำดับ[6]
หกลำดับแรกในการสืบสันตติวงศ์
[แก้]กฎการสืบสันตติวงศ์ใหม่กำหนดให้พระราชวงศ์หกลำดับแรกต้องได้รับพระบรมราชานุญาตก่อนเสกสมรส ใน ค.ศ. 2018 พระราชวงศ์หกลำดับนั้นประกอบด้วย
- เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 (อภิเษกสมรสแล้ว กับแคเธอริน มิดเดิลตัน)
- เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ พระโอรสพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (พระชันษาต่ำกว่าเกณฑ์เสกสมรส)
- เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ พระธิดาพระองค์ที่สองในเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (พระชันษาต่ำกว่าเกณฑ์เสกสมรส)
- เจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์ พระโอรสพระองค์เล็กในเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (พระชันษาต่ำกว่าเกณฑ์เสกสมรส)
- เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 (อภิเษกสมรสแล้ว กับเมแกน มาร์เคิล)
- เจ้าชายอาร์ชีแห่งซัสเซกซ์ พระโอรสพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ (พระชันษาต่ำกว่าเกณฑ์เสกสมรส)
พระบรมวงศานุวงศ์ที่เคยอยู่ในหกลำดับแรก
[แก้]- เจ้าหญิงเบียทริซแห่งยอร์ก พระธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก (มิได้เสกสมรส; 2015 สูงสุดลำดับที่ 6)
- เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (ทรงหย่า; 2015–2018 สูงสุดลำดับที่ 5)
- เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (อภิเษกสมรสแล้ว กับคามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์; 2015–2022 สูงสุดลำดับที่ 1 สืบราชสมบัติ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Statement by Nick Clegg MP, UK parliament website, 26 March 2015 (retrieved on same date).
- ↑ "UK commencement order" (PDF).
- ↑ Statement by Prime Minister Stephen Harper on Canada Providing Assent to Amendments to Rules Governing the Line of Succession เก็บถาวร 3 เมษายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 26 March 2015 [ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- ↑ "Deux profs de l'Université Laval déboutés dans la cause du "bébé royal"". Le Soleil. 16 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-17. สืบค้นเมื่อ 16 February 2016.
- ↑ "Royal succession law not subject to charter challenge: court". CTV News. 26 August 2014. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
- ↑ "What do the new royal succession changes mean?". Royal Central. 26 March 2015. สืบค้นเมื่อ 30 March 2015.