กลารา เปตัชชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คลาล่า แปตะชิ)
กลารา เปตัชชี
เปตัชชีในคริสต์ทศวรรษ 1930
เกิด28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912(1912-02-28)
โรม, ประเทศอิตาลี
เสียชีวิต28 เมษายน ค.ศ. 1945(1945-04-28) (33 ปี)
Giulino di Mezzegra, ประเทศอิตาลี
สัญชาติอิตาลี
มีชื่อเสียงจากเป็นภรรยาลับของเบนิโต มุสโสลินี
คู่รักเบนิโต มุสโสลินี (ค.ศ. 1933–1945)
ญาติMiriam di San Servolo (น้องสาว)
Marcello Petacci (พี่ชาย)

กลารา เปตัชชี (อิตาลี: Clara Petacci) มีอีกชื่อว่า กลาเร็ตตา เปตัชชี (Claretta Petacci, ภาษาอิตาลี: [klaˈretta peˈtattʃi]; 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 – 28 เมษายน ค.ศ. 1945) เป็นภรรยาลับของเบนิโต มุสโสลินี เผด็จการอิตาลี มีการกล่าวหาว่าเธอถูกฆ่าในช่วงที่มีการประหารชีวิตมุสโสลินีโดยแนวต้านอิตาลี ด้วยการกระโดดเข้ารับกระสุนแทนเขา[1]

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

กลารา เปตัชชีเป็นลูกสาวของ Giuseppina Persichetti (ค.ศ. 1888–1962) กับนายแพทย์ Francesco Saverio Petacci (ค.ศ. 1883–1970) เธอเกิดในครอบครัวที่มีอภิสิทธิ์และเคร่งศาสนาในโรมช่วง ค.ศ. 1912[2][3] พ่อของเธอที่เป็นแพทย์ประจำพระราชวังพระสันตะปาปา[4]กลายเป็นผู้สนับสนุนลัทธิฟาสซิสต์ ในวัยเด็ก เมื่อมุสโสลินีครองอำนาจในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 กลารา เปตัชชีเชิดชูเขาตั้งแต่วัยนั้น หลังจากไวโอเลต กิบสันพยายามลอบสังหารจอมเผด็จการในเดือนเมษายน ค.ศ. 1926 เปตัชชีในวัย 14 ปีเขียนถึงเขาว่า "โอ้ ดูเช ทำไมฉันไม่ได้อยู่กับคุณเล่า? ... นั่นจะไม่ทำให้ฉันบีบคอหญิงที่อาฆาตคนนั้นได้อย่างไร?"[5]

ความสัมพันธ์กับมุสโสลินี[แก้]

เปตัชชีมีความสัมพันธ์อย่างยาวนานกับเบนิโต มุสโสลินีในขณะที่เขาแต่งงานกับราเชเล มุสโสลินี (Rachele Mussolini) โดยเปตัชชีมีอายุน้อยกว่ามุสโสลินี 28 ปี[6] ทั้งคู่พบกันครั้งแรกใน ค.ศ. 1933 ใน ค.ศ. 1934 เปตัชชีแต่งงานกับ Riccardo Federici เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศอิตาลี แต่แยกจากสามีของเธอตอนที่เขาถูกส่งไปที่โตเกียวในฐานะผู้ช่วยทูตทางอากาศ (Air Attaché) ใน ค.ศ. 1936[7]

ปัจจุบันยังไม่ได้มีการเผยแพร่จดหมายบางส่วนของเปตัชชีกับมุสโสลินีเนื่องด้วยความเป็นส่วนตัว[8]

เสียชีวิต[แก้]

ศพของBombacci, มุสโสลินี, เปตัชชี, ปาโวลินี และStaraceที่Piazzale Loreto, ค.ศ. 1945

ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1945 กลุ่มแนวต้านร่วมกันจับกุมมุสโสลินีกับเปตัชชีขณะที่ทั้งสองกำลังเดินทางพรัอมกับขบวนของสมาชิกสาธารณรัฐสังคมอิตาลี[9]

ณ วันที่ 28 เมษายน ทั้งเธอและมุสโสลินีถูกนำตัวไปที่ Mezzegra และประหารชีวิต ในวันต่อมา มีการนำร่างของมุสโสลินีกับเปตัชชีไปที่ Piazzale Loreto ในมิลาน แล้วแขวนกลับหัวหน้าปั้มน้ำมันเอสโซ๋ มีการถ่ายรูปร่างของทั้งสองกับฝูงชนที่โกรธเกรี้ยวต่อทั้งสองคน[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Pierluigi Baima Bollone, Le ultime ore di Mussolini, Milano, Mondadori, 2005, ISBN 88-04-53487-7., pagg. 89 e succ.ve
  2. Barber, Tony (17 February 2017). "Claretta by RJB Bosworth — Mussolini's last lover". www.ft.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-18. สืบค้นเมื่อ 2021-04-02.
  3. Downing, Ben (2017-03-24). "In Bed With Il Duce". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-04-02.
  4. De Felice (1981) p. 278
  5. Thomson, Ian (25 February 2017). "The Ben and Clara affair". www.spectator.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-02.
  6. (ในภาษาสเปน) Giuseppina Persichetti, La enamorada de Mussolini, Madrid, Ediciones Caballero Audaz, 1947.
  7. Bosworth, R.J.B. (2010). Mussolini. Bloomsbury.
  8. (ในภาษาอิตาลี) Giampiero Buonomo, Quel carteggio tra Mussolini e la Petacci. Storici sacrificati sull’altare della privacy, in Diritto e giustizia, 16 luglio 2005.
  9. Gunther Langes, Auf Wiedersehen Claretta. Il diario dell'uomo che poteva salvare Mussolini e la Petacci, a cura di Nico Pirozzi, Villaricca, Edizioni Cento Autori, 2012. ISBN 978-88-97121-37-4.
  10. "Death of the Father-Mussolini & Fascist Italy: the 'infamous' exhibit". Cornell Institute for Digital Collections. 1999.

ข้อมูล[แก้]

  • De Felice, Renzo (1996) [1981]. Mussolini. Il Duce. 2: Lo stato totalitario, 1936–1940 (ภาษาอิตาลี) (2 ed.). Torino: Einaudi.

อ่านเพิ่ม[แก้]