คลองแควอ้อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คลองแควอ้อม บ้างเรียก แม่น้ำแควอ้อม เป็นคลองที่แยกจากแม่น้ำแม่กลองฝั่งขวาที่บ้านศาลเจ้า ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ไหลเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างอำเภอเมืองราชบุรี กับอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี และอำเภอบางคนที กับอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ไปลงแม่น้ำแม่กลองฝั่งขวา ที่แนวแบ่งเขตตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที กับตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา คลองมีความยาว 18 กิโลเมตร[1]

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากสภาพภูมิประเทศ คลองแควอ้อม คือ แม่น้ำแม่กลองสายเก่า ที่ออกสู่ทะเลบริเวณอำเภอวัดเพลงในอดีต ขณะที่แม่น้ำแม่กลองแยกจากแม่น้ำอ้อมที่เมืองราชบุรี คือ เส้นทางน้ำที่เกิดขึ้นสมัยหลังไหลผ่านที่ราบลุ่มเกิดใหม่ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกไปออกสู่อ่าวไทย[2]

ชุมชนเก่าแก่เริ่มตั้งแต่บริเวณปากคลองวัดประดู่จนถึงปลายคลองแควอ้อมที่บรรจบกับแม่น้ำแม่กลองที่ตำบลบางกุ้งและตำบลแควอ้อม มีวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาที่ปรากฏเรียงรายบริเวณริมสองฝั่งลำน้ำทั้งสายหลักและสายรอง ได้แก่ วัดบางวันทอง วัดโบสถ์ วัดบางกุ้ง วัดบางสะแก วัดแก้วเจริญ วัดท้องคุ้ง และวัดอมรเทพ เป็นต้น[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๒ (อักษร ก-ธ) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, ๒๕๕๙. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓)
  2. ชนิธิกาญจน์ จีนใจตรงและกฤตพร ห้าวเจริญ (กันยายน–ธันวาคม 2563). "ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิม กรณีศึกษาชุมชนคลองแควอ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม". วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย. ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 19 (3).{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  3. "ริมแควอ้อม". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).