วานร (ศาสนาฮินดู)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระรามและหัวหน้าวานร

ในศาสนาฮินดู วานร (สันสกฤต: वानर, แปลตรงตัว'ผู้อาศัยในป่า')[1] อาจหมายถึงลิง[2] หรือเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่อาศัยในป่า[1]

ในมหากาพย์ รามายณะ กลุ่มวานรได้ช่วยเหลือพระรามในการปราบราวณะ (ทศกัณฐ์) โดยทั่วไปมักแสดงภาพวานรเป็นว่าลิงที่รูปร่างเหมือนมนุษย์ หรือเป็นสิ่งมีชีวิตที่คล้ายมนุษย์

นิรุกติศาสตร์[แก้]

เมื่อราวณะแบกสีดาไว้บนบ่นและพาขึ้นบนรถ สีดาได้ทิ้งอัญมณีไปยังเหล่าวานร

มีสามทฤษฎีหลักเกี่ยวกับนิรุกติศาสตร์ ของคำว่า "วานร":

  • Aiyanar เสนอว่าคำว่า วานร ที่หมายถึง "ลิง" กลายมาจากคำว่า วนะ ("ป่า") จึงมีความหมายตรงตัวว่า "เป็นของป่า"[3] Monier-Williams กล่าวว่าอาจจะกลายมาจากคำว่า วนระ (มีความหมายตรงตัวว่า "เตล็ดเตร่อยู่ในป่า") และมีความหมายว่า "สัตว์ในป่า" หรือลิง[2]
  • Devdutt Pattanaik เสนอว่าคำว่า "วานร" กลายมาจากคำว่า วนะ ("ป่า") และ นระ ("คน") และมีความหมายว่า "คนป่า" และเสนอว่า "วานร" อาจไม่ใช่ลิงซึ่งเป็นความหมายโดยทั่วไป[4]
  • อาจกลายมาจากคำว่า ววะ และ นระ มีความหมายว่า "เป็นคนจริงหรือ" (มีความหมายว่าเป็น "ลิง")[5] หรือ "อาจจะเป็นคน"[6]

เอกลักษณ์[แก้]

ภาพวาดในศตวรรษที่ 20 แสดงฉากจากรามายณะซึ่งเหล่าวานรกำลังจองถนนไปลงกา
ภาพวาดในศตวรรษที่ 20 แสดงฉากจากรามายณะซึ่งเหล่าวานรกำลังจองถนนไปลงกา

แม้คำว่า "วานร" จะมีความหมายว่า "ลิง" มาเป็นเวลาหลายปี และวานรมักถูกนำเสนอในรูปลิงในศิลปะประชานิยม แต่เอกลักษณ์ที่แท้จริงนั้นไม่แน่ชัด[7][8] ในรามายณะ วานรเป็นผู้มีความสามารถในการแปลงร่าง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Krishna, Nanditha (2014-05-01). Sacred Animals of India (ภาษาอังกฤษ). Penguin UK. ISBN 978-81-8475-182-6.
  2. 2.0 2.1 Monier-Williams, Monier. "Monier-Williams Sanskrit Dictionary 1899 Basic". www.sanskrit-lexicon.uni-koeln.de. สืบค้นเมื่อ 23 August 2022.
  3. Aiyangar Narayan. Essays On Indo-Aryan Mythology-Vol. Asian Educational Services. pp. 422–. ISBN 978-81-206-0140-6.
  4. Devdutt Pattanaik (24 April 2003). Indian Mythology: Tales, Symbols, and Rituals from the Heart of the Subcontinent. Inner Traditions / Bear & Co. p. 121. ISBN 978-1-59477-558-1.
  5. Shyam Banerji (1 January 2003). Hindu gods and temples: symbolism, sanctity and sites. I.K. International. ISBN 978-81-88237-02-9.
  6. Harshananda (Swami.) (2000). Facets of Hinduism. Ramakrishna Math.
  7. Kirsti Evans (1997). Epic Narratives in the Hoysaḷa Temples: The Rāmāyaṇa, Mahābhārata, and Bhāgavata Purāṇa in Haḷebīd, Belūr, and Amṛtapura. BRILL. pp. 62–. ISBN 90-04-10575-1.
  8. Catherine Ludvik (1 January 1994). Hanumān in the Rāmāyaṇa of Vālmīki and the Rāmacaritamānasa of Tulasī Dāsa. Motilal Banarsidass. pp. 2–3. ISBN 978-81-208-1122-5. G. Ramadas infers from Ravana's reference to the kapis' tail as an ornament (bhusana) that is a long appendage in the dress worn by men of the Savara tribe.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Vanara