กีฬาระบำใต้น้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาระบำใต้น้ำในโอลิมปิกฤดูร้อน
สัญลักษณ์กีฬาระบำใต้น้ำ
หน่วยงานฟีน่า
รายการ2 (หญิง)
การแข่งขัน
  • 1896
  • 1900
  • 1904
  • 1908
  • 1912
  • 1920
  • 1924
  • 1928
  • 1932
  • 1936
  • 1948
  • 1952
  • 1956
  • 1960
  • 1964
  • 1968
  • 1972
  • 1976

กีฬาระบำใต้น้ำในโอลิมปิก (อังกฤษ: Synchronized swimming) ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาที่มีการชิงชัยเฉพาะนักกีฬาหญิงในโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา มีชิงชัย 2 เหรียญทอง คือ ประเภทเดี่ยวและคู่ ซึ่งนักกีฬาระบำใต้น้ำ จากสหรัฐฯ กวาดไปทั้งสองเหรียญทอง

ประเทศที่ครองความยิ่งใหญ่ในกีฬาระบำใต้น้ำ คือสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ที่ต่างผลัดกันครองเหรียญทองในโอลิมปิกมาตลอด แต่จุดหักเหที่ทำให้สหรัฐฯและแคนาดา มีคู่แข่งเพิ่มขึ้นคือหลังจากโอลิมปิกในปี 1996 ที่แอตแลนต้า สหรัฐอเมริกา เมื่อทั้งสหรัฐฯและแคนาดา เจอปัญหาเดียวกันคือ นักกีฬาหลักต่างพร้อมใจกันวางมือ ขณะที่หลายประเทศต่างพัฒนาขีดความสามารถขึ้นมา โดยเฉพาะรัสเซียและญี่ปุ่นที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในช่วงการแข่งขันระบำใต้น้ำชิงแชมป์โลกที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1998 นอกจากนี้ยังมีจีนและอิตาลีเป็นคู่แข่งที่พัฒนาฝีมือได้อย่างรวดเร็ว

รายการแข่งขัน[แก้]

Event 1984 1988 1992 1996 2000 2004 2008 2012 2016 Years
ทีมหญิง       6
หญิงคู่   8
บุคคลหญิง
รวม 2 2 2 1 2 2 2 2 2

สรุปเหรียญรางวัล[แก้]

อันดับที่ ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 ประเทศรัสเซีย รัสเซีย (RUS) 8 0 0 8
2 สหรัฐ สหรัฐ (USA) 5 2 2 9
3 ประเทศแคนาดา แคนาดา (CAN) 3 4 1 8
4 ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (JPN) 0 4 8 12
5 ประเทศสเปน สเปน (ESP) 0 3 1 4
6 ประเทศจีน จีน (CHN) 0 1 2 3
7 ประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (FRA) 0 0 1 1
รวม 16 14 15 45

อ้างอิง[แก้]