การแปลการพินิจภายในผิด

การแปลการพินิจภายในผิด[1] (อังกฤษ: introspection illusion) เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ที่เราคิดอย่างผิด ๆ ว่า เรามีความเข้าใจโดยประจักษ์ โดยผ่านการพินิจภายใน (introspection) เกี่ยวกับเหตุเกิดของสภาวะจิตใจของเรา ในขณะที่ไม่เชื่อถือการพินิจภายในของผู้อื่น ในบางกรณี การแปลสิ่งเร้าผิดชนิดนี้ ทำให้เราอธิบายพฤติกรรมของตนเองอย่างมั่นใจแต่ผิดพลาด หรือทำให้พยากรณ์สภาวะหรือความรู้สึกทางจิตใจของตนในอนาคตที่ไม่ถูกต้อง
มีการตรวจสอบการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ในการทดลองทางจิตวิทยา ซึ่งเสนอการแปลการพินิจภายในผิดว่าเป็นเหตุของความเอนเอียง เมื่อเราเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น มีการตีความผลงานทดลองเหล่านี้ว่า แทนที่จะให้ข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นเหตุของสภาวะจิตใจของตน การพินิจภายในเป็นกระบวนการสร้าง (construction) และอนุมาน (inference) เหตุของสภาวะจิตใจ เหมือนกับที่เราอนุมานสภาพจิตใจของคนอื่นจากพฤติกรรม[2]
เมื่อเราถือเอาอย่างผิด ๆ ว่า การพินิจภายในที่เชื่อถือไม่ได้ เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตนที่ตรงกับความจริง ผลที่ได้อาจจะเป็นการปรากฏของการแแปลสิ่งเร้าผิดว่าเหนือกว่า (illusory superiority) ผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น เราแต่ละคนจะคิดว่าเรามีความคิดที่เอนเอียงน้อยกว่าผู้อื่น และมีความคิดที่เห็นตามผู้อื่นน้อยกว่าคนอื่น และแม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะได้รับรายงานของการพินิจภายในของผู้อื่น ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ยังจะตัดสินว่า เป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่ถือเอาการพินิจภายในของตนว่า เชื่อถือได้ แม้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ จะให้ความเข้าใจความกระจ่างชัดเกี่ยวกับผลงานวิจัยทางจิตวิทยาบางอย่าง แต่หลักฐานที่มีอยู่ไม่อาจจะบอกได้ว่า การพินิจภายในนั้นเชื่อถือได้ขนาดไหนในสถานการณ์ปกติ[3] การแก้ปัญหาความเอนเอียงที่เกิดจากการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ อาจเป็นไปได้ด้วยการศึกษาเรื่องความเอนเอียง และเรื่องการเกิดขึ้นใต้จิตสำนึกของความเอนเอียง[4]
องค์ประกอบ[แก้]
นักวิชาการ (Emily Pronin) ที่บัญญัติใช้คำว่า "introspection illusion" เป็นครั้งแรกอธิบายว่า เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดที่มีองค์ประกอบ 4 อย่างคือ[5]
- เราให้ความสำคัญกับหลักฐานที่มาจากการพินิจภายใน (introspection) เมื่อทำการประเมินตนเอง
- เราไม่ให้ความสำคัญกับหลักฐานที่มาจากการพินิจภายใน เมื่อทำการประเมินผู้อื่น
- เราไม่สนใจพฤติกรรมของตนเองเมื่อทำการประเมินตน (แต่ใส่ใจในพฤติกรรมของผู้อื่น เมื่อทำการประเมินผู้อื่น)
- เราให้ความสำคัญการพินิจภายในของตนมากกว่าของผู้อื่น และไม่ใช่เพียงว่า เป็นเพราะขาดข้อมูลเกี่ยวกับการพินิจภายในของผู้อื่น แต่เป็นเพราะคิดว่าการพินิจภายในของตนเท่านั้นเชื่อถือได้[6]
ความเชื่อถือไม่ได้ของการพินิจภายใน[แก้]
แต่ควรจะพิจารณาว่า เป็นกระบวนการที่เราใช้ส่วนประกอบ (content) ของจิตใจเพื่อสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับตน (personal narrative)
ซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับสภาพจิตใต้สำนึกก็ได้จากบทความ Self-Knowledge: Its Limits, Value, and Potential for Improvement (ความรู้ตน จุดจำกัด คุณค่า และโอกาสการพัฒนา)[7]
ในผลงานวิจัยปี ค.ศ. 1977 นักจิตวิทยาริชารด์ นิสเบ็ตต์ และทิมโมที วิลสัน คัดค้านความคิดว่า การพินิจภายในนั้นเข้าถึงกระบวนการจิตใจได้โดยตรง และเชื่อถือได้ ซึ่งกลายเป็นผลงานวิจัยที่มีการอ้างอิงกันมากที่สุดในงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับจิตใจ[8][9] เป็นผลงานที่รายงานการทดลองที่ผู้ร่วมการทดลองต้องอธิบายทางปากว่า ทำไมจึงมีความชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือว่า มีความคิดอย่างนี้ได้อย่างไร โดยอาศัยข้อมูลจากงานเหล่านี้ และงานวิจัยเกี่ยวกับการอ้างเหตุ (attribution หรือ การบ่งชี้เหตุ) อื่น ๆ นักวิจัยทั้งสองสรุปว่า รายงานเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตใจของตนเป็นเรื่องกุขึ้น (confabulated) โดยรายงานว่า ผู้ร่วมการทดลอง "ไม่มีหรือแทบไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทางประชาน (cognitive process) ในระดับสูงโดยการพินิจภายใน"[10] นักวิจัยแยกแยะระหว่าง ส่วนประกอบของจิตใจ (contents) เช่นความรู้สึก และกระบวนการของจิต (process) โดยอ้างว่า การพินิจภายในสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของจิตได้ แต่กระบวนการนั้นเข้าถึงไม่ได้[8]

แม้ว่าจะมีงานทดลองที่สืบมาจากงานของนิสเบ็ตต์และวิลสันมาบ้าง แต่ความยากลำบากในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยการพินิจภายใน มีผลให้ไม่มีการพัฒนาด้านผลงานวิจัยในประเด็นนี้[9] งานปริทัศน์ที่ทำ 10 ปีให้หลังคัดค้านงานวิจัยดั้งเดิมนั้นหลายอย่าง รวมทั้งตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับนิยามของคำว่า "กระบวนการ" ที่ใช้ และเสนอว่า การทดสอบที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ ว่าการพินิจภายในสามารถให้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับจิตใจได้ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก[3]
ในปี ค.ศ. 2002 วิลสันยอมรับว่า ข้ออ้างที่ได้ทำในปี ค.ศ. 1977 นั้นกว้างเกินไป[10] และได้เปลี่ยนมามีความเห็นว่า adaptive unconscious (กระบวนการจิตใต้สำนึก ที่เป็นการปรับตัวของมนุษย์ให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม) เป็นกระบวนการที่เป็นเหตุแห่งการรับรู้ (perception) และพฤติกรรม โดยมาก และเมื่อให้เรารายงานถึงกระบวนการทางจิตใจของเราเอง เราจะไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการที่เป็นไปใต้สำนึกของจิตใจเหล่านี้ได้[11] แต่แทนที่เราจะยอมรับว่า ไม่รู้ เรากับกุคำอธิบาย (confabulate) ที่พอเป็นไปได้ขึ้น และดูเหมือนจะไม่เข้าใจว่าตนเองไม่รู้[12]
มีไอเดียทางปรัชญาบางอย่าง (eliminative materialism) ว่า มนุษย์อาจมีความเข้าใจผิดบางอย่างเกี่ยวกับการทำงานของจิตใจของตน และว่า แนวคิดในเรื่องบางเรื่องเช่น "ความเชื่อ" หรือว่า "ความเจ็บปวด" จะปรากฏความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างไปจากที่คิดกันทุกวันนี้
นักจิตวิทยาเรียกการเดาอย่างผิด ๆ ที่เราใช้อธิบายกระบวนการความคิดของตนเองว่า "causal theories" (ทฤษฎีเหตุผล)[13] คือว่า คำอธิบายของเรา (ที่นักจิตวิทยาเรียกว่าทฤษฎีเหตุผล) เกี่ยวกับเหตุของการกระทำที่ทำแล้ว มักจะใช้เพียงเพื่อแก้ต่างพฤติกรรมของตน เพื่อบรรเทาความไม่ลงรอยกันทางประชาน (cognitive dissonance) ซึ่งก็หมายความว่า เราอาจจะไม่ได้สังเกตเห็นเหตุจริง ๆ ของพฤติกรรมของตน แม้ว่ากำลังพยายามที่จะอธิบายอยู่ ผลก็คือ คำอธิบายที่เรามีมักจะเป็นไปเพื่อความรู้สึกที่ดีขึ้นเกี่ยวกับตัวเราเท่านั้น ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ชายคนหนึ่งอาจจะมีการเลือกปฏิบัติต่อคนรักร่วมเพศ เพราะว่าตนจริง ๆ แล้วอายว่า มีความรู้สึกชอบใจผู้ชายอื่น เขาอาจจะยอมรับความจริงนี้แม้ต่อตัวเองก็ไม่ได้ แต่อธิบายความเดียดฉันท์ของตนว่า เป็นเพราะว่าการรักร่วมเพศไม่เป็นธรรมชาติ
มีงานวิจัยที่วัดขอบเขตความแม่นยำของการพินิจภายใน โดยรวบรวมรายงานจากหญิงคนหนึ่งที่สมมุติชื่อว่า เมลานี่ เมลานี่จะพกวิทยุตามตัวตัวหนึ่ง ที่จะส่งเสียงโดยสุ่ม เพื่อให้เธอสังเกตว่า เธอกำลังรู้สึกและคิดอะไรอยู่ แต่เมื่อทำการวิเคราะห์รายงานของเธอแล้ว นักวิจัยกลับมีความคิดต่าง ๆ กันเกี่ยวกับผลที่ได้ เกี่ยวกับการตีความที่ถูกต้องของสิ่งที่เมลานี่อ้าง และเกี่ยวกับความแม่นยำของการพินิจภายในของเธอ หลังจากการถกเถียงที่ไม่ได้จบลงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ นักวิจัยทั้งสองมีข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกัน คนหนึ่งมองในแง่ดี และอีกคนหนึ่งมองในแง่ร้าย ในประเด็นความแม่นยำของการพินิจภายใน[14]
องค์ประกอบของความแม่นยำ[แก้]
นิสเบ็ตต์และวิลสันมีสมมติฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความแม่นยำของการพินิจทางประชานภายในที่รายงานด้วยตนเอง คือ[8]
- ความเข้าถึงได้ง่าย (Availability) คือ สิ่งเร้าที่ชัดเจน (เนื่องจากพึ่งเกิดขึ้นหรือว่าน่าจดจำ) ที่สามารถระลึกถึงได้ง่ายกว่า ก็จะได้รับพิจารณาว่าเป็นเหตุของการตอบสนองที่เกิดขึ้นหรือไม่
- ความพอเป็นไปได้ (Plausibility) คือ สิ่งเร้าที่เราเห็นว่า มีโอกาสเพียงพอที่จะเป็นเหตุของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะมีอิทธิพลต่อการรายงานถึงสิ่งเร้านั้นว่าเป็นเหตุ
- การย้ายออกไปตามเวลา (Removal in time) คือ การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ยิ่งผ่านมาแล้วนานเท่าไร ก็จะเข้าถึงได้ยากขึ้น คือระลึกถึงได้อย่างแม่นยำน้อยลงเท่านั้น
- กลไกการตัดสินใจ (Mechanics of judgment) มีองค์ประกอบทางการตัดสินใจที่เราไม่รู้ว่ามีอิทธิพลต่อเรา ทำให้การรายงานตนมีความคลาดเคลื่อน
- สิ่งแวดล้อม (Context) การเพ่งเล็งใส่ใจในสิ่งแวดล้อมของวัตถุ จะทำให้เขวไปจากการประเมินวัตถุนั้น ๆ และสามารถทำให้เราเชื่ออย่างผิด ๆ ว่า สิ่งแวดล้อมของวัตถุเป็นตัวแทนของวัตถุนั้น
- การไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ (Nonevents) คือ การไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์จะมีความชัดเจนน้อยกว่า แล้วเข้าถึงได้ยากมากกว่า ทำให้การไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์มีอิทธิพลน้อยมากต่อการรายงานตน
- พฤติกรรม (ของผู้อื่น)ที่ไม่ใช้เสียง (Nonverbal behavior) คือ แม้ว่าเราจะได้รับข้อมูลมหาศาลเกี่ยวกับคนอื่นโดยพฤติกรรมที่ไม่ใช้เสียง แต่สมรรถภาพการสื่อสารที่ดีของคำพูด และความยากลำบากในการแปลพฤติกรรมอื่น ๆ ให้เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับคำพูด ทำให้มีการรายงานถึงพฤติกรรมเหล่านี้น้อยกว่า
- ความแตกต่างกันระหว่างขนาดของเหตุและผล คือ ดูเหมือนว่า การสมมุติว่า เหตุที่มีขนาดหนึ่ง จะสามารถทำให้เกิดผลที่มีขนาดใกล้ ๆ กัน จะเป็นเรื่องที่เป็นไปโดยธรรมชาติ ดังนั้น เราอาจจะไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลที่มีขนาดต่างกัน (เช่นไม่สามารถเชื่อมโยงการเริ่มใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นเรื่องเล็กน้อย ว่าเป็นเหตุของความเปลี่ยนแปลงที่กว้างขวางซับซ้อนที่เป็นผลในสิ่งแวดล้อม)
ความไม่รู้ตัวในเรื่องความคลาดเคลื่อน[แก้]
นอกจากนั้นแล้ว นิสเบ็ตต์และวิลสันยังมีสมมติฐานที่อธิบายว่าทำไม่เราถึงไม่รู้ตัวถึงความคลาดเคลื่อนที่มีในการพินิจภายใน คือ[8]
- ความสับสนระหว่างส่วนประกอบ (เช่นความรู้สึก) และกระบวนการของจิตใจ คือ เราปกติจะไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการที่เป็นเหตุของการตัดสินใจโดยตรง แต่จะสามารถระลึกถึงขั้นตอนในระหว่างอย่างหนึ่ง แต่ว่า ขั้นตอนที่ระลึกได้ก็ยังเป็นส่วนประกอบของจิตใจ ไม่ใช่กระบวนการ ความสับสนระหว่างส่วนประกอบและกระบวนการทางจิตใจทำให้เราเชื่อว่า เราสามารถเข้าใจกระบวนการตัดสินใจของตนเอง (แต่ว่า มีการวิจารณ์นักวิจัยทั้งสองว่า ไม่ได้ให้คำนิยามที่ชัดเจนเกี่ยวกับความแตกต่างกัน ระหว่างส่วนประกอบและกระบวนการทางจิตใจ)
- ความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเฉพาะอย่างต่อสิ่งเร้าที่เคยมีมาก่อน คือ ความเชื่อว่า เรามีปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อสิ่งเร้า (คือเรารู้ว่าสิ่งเร้าเช่นนี้ ปกติจะทำให้เกิดปฏิกิริยาในเราอย่างนี้ แต่ในเหตุการณ์มีความผิดปกติ) ซึ่งเป็นเรื่องที่พยากรณ์ไม่ได้โดยบุคคลอื่น ดูเหมือนจะสนับสนุนความสามารถในการพินิจภายในจริง ๆ แต่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและปฏิกิริยา (คือค่าความแปรปรวนร่วมเกี่ยวเชิงบวก) อาจจะไม่มีจริง ๆ และปฏิกิริยาที่ไม่สมกับค่าความแปรปรวนร่วมเกี่ยวเป็นเรื่องที่เกิดน้อยมาก เนื่องจากความแปรปรวนร่วมเกี่ยวที่มีเนื่องจากเหตุการณ์ผิดปกติ เป็นเรื่องที่มีน้อย
- ความแตกต่างระหว่างการให้ทฤษฎีเหตุผลของวัฒนธรรมต่าง ๆ คือ ความแตกต่างกันตามธรรมชาติที่มีอยู่ในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทำให้เราให้ทฤษฎีเหตุผล (คือคำอธิบายเหตุของการกระทำของเรา) ต่าง ๆ กันในสิ่งเร้าแต่ละอย่าง ดังนั้น บุคคลภายนอกวัฒนธรรมของเราย่อมไม่สามารถที่จะแยกแยะเหตุของการกระทำเท่ากับบุคคลในวัฒนธรรมนั้น ๆ ทำให้บุคคลในวัฒนธรรมผู้ทำการพินิจภายในปรากฏเหมือนว่า ตนมีความสามารถในการเข้าใจกระบวนการตัดสินใจมากกว่าผู้อื่น
- ความรู้เกี่ยวกับการใส่ใจและความตั้งใจ คือ เราอาจจะรู้ว่าตนไม่ได้ใส่ใจสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ หรืออาจจะไม่ได้ตั้งใจที่จะกระทำสิ่งหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่คนอื่นไม่มี ทำให้เหมือนกับเป็นการพินิจภายในที่ตรงกับความจริง แต่ว่า นักวิจัยทั้งสองให้ข้อสังเกตว่า ความจริงแล้ว ความรู้เช่นนี้อาจจะทำให้เราเข้าใจผิด โดยเฉพาะในกรณีที่การใส่ใจ/ความตั้งใจนั้นไม่ได้มีอิทธิพลจริง ๆ อย่างที่เราคิด
- ข้อมูลป้อนกลับที่มีไม่พอ คือ โดยธรรมชาติแล้ว เป็นเรื่องยากที่จะคัดค้านความเป็นจริงของข้อมูลที่ได้จากการพินิจภายในในชีวิตประจำวัน เพราะว่าโดยปกติไม่สามารถทดสอบได้ และคนอื่น ๆ ก็มักจะไม่ตั้งความสงสัยในการพินิจภายในของเรา นอกจากนั้นแล้ว ถ้าทฤษฎีเหตุผลสามารถคัดค้านได้โดยความจริง เป็นเรื่องง่ายที่เราจะอ้างเหตุผลอื่น ๆ ว่า ทำไมหลักฐานความจริงที่มีอยู่ไม่ได้คัดค้านทฤษฎีของเราได้จริง ๆ
- แรงจูงใจอื่น ๆ คือ การตั้งความสงสัยในสมรรถภาพของตนเองในการเข้าใจเหตุการกระทำของตน เป็นเหมือนกับถูกคนอื่นคุกคามข่มขู่อัตตาและความรู้สึกว่า เราสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยพิจารณาเรื่องนี้ แต่จะพิทักษ์ความเชื่อว่า เราสามารถทำการพินิจภายในที่ตรงกับความจริง
ความบอดต่อการเลือก[แก้]
นักวิจัยกลุ่มหนึ่งที่ได้แรงจูงใจจากงานของนิสเบ็ตต์และวิลสัน ได้ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ร่วมการทดลอง เกี่ยวกับความชอบใจของตนโดยใช้เทคนิคใหม่ คือ มีการให้ผู้ร่วมการทดลองดูรูปบุคคลสองรูป แล้วถามว่า คนไหนสวยหรือหล่อกว่า หลังจากนั้น ก็จะให้ผู้ร่วมการทดลองดูรูปที่ "เลือก" อย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง แล้วให้อธิบายเหตุการตัดสินเลือกรูปของตน แต่ว่า ในการทดลองส่วนหนึ่ง ผู้ทำการทดลองจริง ๆ แล้วจะให้ผู้ร่วมการทดลองดูรายละเอียดอีกทีของรูปที่ตนไม่ได้เลือก โดยสลับรูปที่อยู่ในมือโดยใช้เทคนิคของนักมายากล[15] ผู้ร่วมการทดลองโดยมากสังเกตไม่ได้ว่า รูปที่กำลังดูจริง ๆ แล้ว ไม่ใช่รูปที่ตนเองเลือกไม่กี่วินาทีก่อน แต่ว่า ผู้ร่วมการทดลองเป็นจำนวนมากจะกุคำอธิบายว่า ทำไมถึงชอบใจรูปนั้น ยกตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่งกล่าวว่า "ผมชอบรูปนี้เพราะว่าผมชอบคนมีผมสีทอง" ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว ตนเลือกเอารูปผู้หญิงมีผมสีเข้ม แต่ผู้ทำการทดลองยื่นรูปหญิงผมสีทองให้ (ว่าเป็นรูปที่เขาเลือก)[9] เพราะฉะนั้น คำอธิบายของผู้ร่วมการทดลองต้องเป็นเรื่องที่กุขึ้น เพราะว่า เป็นคำอธิบายการกระทำที่ความจริงแล้วตนไม่ได้ทำ[16]
แม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองประมาณ 70% จะถูกหลอก คือไม่มีความสงสัยอะไรเลยว่าได้มีอะไรแปลก ๆ เกิดขึ้น แต่ว่า คำให้การของผู้ร่วมการทดลองที่ถูกหลอกร้อยละ 84 หลังจากผ่านการทดลองแล้วกลับบอกว่า ตนคิดว่าจะสามารถตรวจจับการเปลี่ยนรูปอย่างนี้ได้ถ้าทำต่อหน้า นักวิจัยได้บัญญัติคำว่า "choice blindness" (ความบอดต่อการเลือก) ว่าหมายถึง ความล้มเหลวในการตรวจจับความไม่ตรงกัน (ระหว่างสิ่งที่ตนเลือก กับสิ่งที่กล่าวถึงในภายหลัง)[17]
งานทดลองที่ติดตามมาอีกงานหนึ่ง ให้คนที่กำลังช็อปปิ้งอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตชิมรสชาติของแยมสองอย่าง แล้วให้อธิบายว่าทำไมจึงเลือกแยมชนิดนั้นในขณะที่ชิมแยมที่ "เลือก" อีก ซึ่งผู้ทำการทดลองสับเปลี่ยน นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีอีกงานทดลองหนึ่งที่ทำโดยใช้การชิมชาอีกด้วย[18] และก็ยังมีงานทดลองแบบเดียวกับอีกงานหนึ่ง ที่ให้ผู้ร่วมการทดลองเลือกวัตถุสองอย่างที่แสดงในสไลด์ของไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ แล้วให้อธิบายเหตุผลที่เลือก ทั้ง ๆ ที่ความจริงได้มีการสับเปลี่ยนสิ่งที่ตนเลือกแล้ว[19]
งานวิจัยอีกงานหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ก็ยังแสดงหลักฐานคัดค้านความคิดว่า ผู้ร่วมการทดลองสามารถเข้าใจโดยการพินิจภายในว่า ลักษณะอะไรในคนอื่นเป็นตัวดึงดูดความสนใจของตน คือนักวิจัยตรวจสอบรายงานของผู้ร่วมการทดลองว่า อะไรเป็นตัวดึงดูดความสนใจของตนในเพศตรงกันข้าม ผู้ชายมักจะรายงานว่า รูปร่างความสวยงามเป็นเรื่องสำคัญ ในขณะที่ผู้หญิงมักจะรายงานว่า ความสามารถในการหารายได้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่ว่า ผลจากรายงานไม่สามารถใช้พยากรณ์การเลือกคู่ออกเดตได้ และไม่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมเกี่ยวกับคู่ที่เลือกหนึ่งเดือนหลังจากนั้น[20]
โดยสอดคล้องกับทฤษฎีความบอดต่อการเลือก นักวิจัยพบว่า เราสามารถถูกหลอกให้เชื่อได้ง่าย ๆ โดยใช้ตัวเตือนความจำที่ผิด ๆ ว่าเราได้เลือกอะไรสิ่งหนึ่งที่ความจริงแล้วไม่ได้เลือก มีผลเป็นการแสดง choice-supportive bias (ความเอนเอียงสนับสนุนการเลือก) ในความทรงจำไม่ว่าจะเชื่อว่าได้เลือกอะไร[21]
คำวิจารณ์[แก้]
ยังไม่ชัดเจนว่า การค้นพบเกี่ยวกับความบอดต่อการเลือกมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงหรือไม่ เพราะว่า เรามีเวลามากกว่าที่จะคิดถึงและใช้ข้อมูลเกี่ยวกับใบหน้าที่เห็น (แทนที่จะเป็นรูป)[22] นักวิชาการท่านหนึ่งบ่งว่า
แม้ว่าทฤษฎี (คำอธิบาย) ที่ไม่ได้อาศัยประสบการณ์จะเป็นองค์ประกอบสำคัญของคำอธิบายเหตุการกระทำของเรา แต่ไม่ใช่เป็นองค์ประกอบเดียวที่มีอิทธิพล เหมือนอย่างที่นิสเบ็ตต์และวิลสันได้ตั้งสมมติฐานไว้ตั้งแต่ต้น (คือ) ผู้กระทำจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่คนอื่นไม่มี รวมทั้งการเข้าถึงโดยการพินิจภายในในระดับหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่เป็นเหตุในประเด็น และเกี่ยวกับกระบวนการทางความคิด และมีข้อมูลที่ดีกว่า (คนอื่น) เกี่ยวกับความแปรปรวนร่วมเกี่ยวระหว่างสิ่งเร้า-ปฏิกิริยา ในเรื่องพฤติกรรมของตนเอง[23]
การเปลี่ยนทัศนคติ[แก้]
งานวิจัยที่ให้ผู้ร่วมการทดลองพินิจในภายในเพื่อหาเหตุ (ในการชอบ การเลือก หรือว่า การเชื่อ ในบางสิ่งบางอย่าง) บ่อยครั้งจะเห็นความเกี่ยวเนื่องกันของทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ร่วมการทดลองที่ลดลงหลังจากการพินิจภายในนั้น[24] ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1984 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนว่า ตนมีความสนใจเกี่ยวกับเกมปริศนาที่ได้รับในระดับไหน แต่ก่อนที่จะให้คะแนน มีการให้กลุ่มหนึ่งคิดถึงและเขียนเหตุผลที่ชอบหรือไม่ชอบเกมปริศนา ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ต้องทำ หลังจากนั้น ก็จะมีการบันทึกเวลาที่ผู้ร่วมการทดลองใช้เล่นแก้ปัญหาปริศนา ปรากฏว่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ให้และเวลาที่เล่นของกลุ่มทดลอง มีระดับที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมมาก[25]
งานทดลองที่ติดตามมาตรวจดูว่า ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ๆ หรือไม่ คือ ในงานนี้ ผู้ร่วมการทดลองล้วนแต่มีแฟนที่ไปมาหาสู่กันอย่างสม่ำเสมอแล้ว มีการให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนว่า ตนเข้ากันได้ดีกับแฟนในระดับไหน มีการให้กลุ่มหนึ่งทำรายการเหตุผลว่าทำไมตนจึงมีความรู้สึกเช่นนั้น ๆ กับแฟน ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ต้องทำ อีกหกเดือนต่อมา มีการเช็คผู้ร่วมการทดลองว่ายังมีแฟนคนเดียวกันหรือไม่ กลุ่มที่มีการพินิจภายในมีความสอดคล้องกันระหว่างทัศนคติ-พฤติกรรม ซึ่งก็คือระดับสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ให้และการมีแฟนคนเดียวกัน ในระดับที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ผลงานทดลองแสดงว่า การพินิจภายในไม่ใช่เพียงแต่เป็นตัวพยากรณ์ที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ว่า การพินิจภายในเองอาจจะมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ฉันแฟนนั้น[25]
ผู้ทำงานวิจัยมีทฤษฎีว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีเหตุมาจากผู้ร่วมการทดลองเปลี่ยนทัศนคติ เมื่อต้องอธิบายเหตุผลความรู้สึกของตน โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ระดับสหสัมพันธ์ระหว่างองค์สองอย่างนี้ลดลง ผู้ทำงานวิจัยมีสมมติฐานว่า การเปลี่ยนทัศนคติเป็นผลจากองค์ประกอบหลายอย่างคือ
- ความต้องการจะเลี่ยงความรู้สึกว่าเหลวไหลที่ไม่รู้แม้เพียงว่าทำไมตนจึงรู้สึกอย่างนี้
- ความโน้มเอียงในการอ้างเหตุที่ต้องเป็นเรื่องสมเหตุสมผล แม้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องความรู้สึกทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น
- การไม่รู้จักความเอนเอียงทางจิตต่าง ๆ
- และความเชื่อว่า เหตุผลที่ตนคิดต้องตรงกับทัศนคติที่ตนมี
สาระสำคัญก็คือ เราพยายามที่จะสร้างเหตุผลที่ดีเมื่อต้องอธิบายเหตุผล ซึ่งมักจะนำไปสู่การกล่อมตนเองว่า ตนจริง ๆ มีความเชื่อ (คือมีทัศนคติ) อีกอย่างหนึ่ง (ที่ไม่เข้ากับพฤติกรรม)[24]
ส่วนในงานทดลองที่ผู้ร่วมการทดลองเลือกสิ่งของที่จะเก็บไว้ ปรากฏว่ารายงานถึงความพอใจต่อสิ่งของนั้นจะลดระดับหลังจากการเลือกนั้น ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ทัศนคติมีการเปลี่ยนไปเพียงชั่วคราว แต่จะกลับไปที่ระดับเดิมเมื่อเวลาผ่านไป[26] (คือการพินิจภายในมีผลเปลี่ยนทัศนคติหรือการแสดงความชอบใจในสิ่งนั้น แต่มีผลเพียงชั่วคราว ความชอบใจในสิ่งนั้นจะกลับไปที่จุดเดิม)
การพินิจความรู้สึกภายใน[แก้]
ตรงกันข้ามกับการพินิจภายในที่อาศัยเหตุผล เมื่อผู้ร่วมการทดลองทำการพินิจความรู้สึกภายใน ปรากฏกว่า ระดับสหสัมพันธ์ของทัศนคติ-พฤติกรรมจะเพิ่มขึ้น[24] ซึ่งบอกเป็นนัยว่า การพินิจความรู้สึกภายใน ไม่ใช่เป็นกระบวนการที่ก่อโทษมากกว่าประโยชน์ (คือไม่เป็น maladaptive)
ทฤษฎีเหตุผลที่ไม่อาศัยประสบการณ์[แก้]
ในผลงานวิจัยคลาสสิกของพวกเขา นิสเบ็ตต์และวิลสันเสนอว่า เรื่องกุที่เกิดจากการพินิจภายใน มาจากทฤษฎีเหตุผลที่ไม่ได้อาศัยประสบการณ์ (คือเป็นคำอธิบายที่ไม่ได้อาศัยประสบการณ์) ซึ่งพวกเขาเสนอแหล่งกำเนิดที่เป็นไปได้ 4 อย่าง คือ[8]
- กฎที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งในวัฒนธรรม (เช่น ให้หยุดเมื่อไฟจราจรเปลี่ยนเป็นสีแดง)
- เหตุผลทางวัฒนธรรมที่ไม่ชัดแจ้ง (เช่นนักกีฬารับรองยี่ห้อ ๆ หนึ่งเพราะว่าได้รับจ้างให้ทำอย่างนั้น)
- การสังเกตการณ์ที่มีเฉพาะตน ๆ ที่นำไปสู่การสร้างทฤษฎีความแปรปรวนร่วมเกี่ยว (เช่นถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้ในเหตุการณ์นี้ ก็จะเป็นเพราะเหตุอย่างนี้)
- ความคล้ายคลึงกันอะไรบางอย่างระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่เกิดขึ้น
นิสเบ็ตต์และวิลสันให้ข้อสังเกตว่า การให้เหตุผลโดยอาศัยเหตุเหล่านี้ ไม่แน่ว่าจะนำไปสู่ความคิดผิด ๆ แต่ว่า ความคิดผิด ๆ เกิดขึ้นเพราะว่า ไม่ได้ประยุกต์ใช้องค์เหล่านี้อย่างถูกต้องในคำอธิบายเหตุผล
ในการอธิบายความเอนเอียงต่าง ๆ[แก้]
มีนักวิชาการที่เสนอว่า ความเอนเอียงหลายอย่างเกิดขึ้นเพราะการใส่ใจมากเกินไปต่อความตั้งใจที่มี ยกตัวอย่างเช่น โดยใส่ใจในความตั้งใจดีที่มีอยู่ในขณะนี้ เราอาจจะประเมินโอกาสที่จะทำผิดศีลธรรมต่ำเกินไป[27]
การสำนึกรู้ถึงความเอนเอียง[แก้]
มีปรากฏการณ์ที่รู้จักกันชัดเจนแล้วอย่างหนึ่งคือ bias blind spot (จุดบอดเรื่องความเอนเอียง) ที่เราประเมินตนเองว่า มีโอกาสที่จะมีความเอนเอียงน้อยกว่าคนอื่นในกลุ่มเดียวกัน มีนักวิชาการที่เสนอว่า ปรากฏการณ์นี้มีได้เพราะการแปลการพินิจภายในผิด[28] ในงานทดลองของนักวิชาการเหล่านั้น มีการให้ผู้ร่วมการทดลองทำการประเมินตนเองและผู้ร่วมการทดลองอื่น[29] ผู้ร่วมการทดลองปรากฏว่ามีความเอนเอียงปกติทั่ว ๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น มีการให้คะแนนตนเองมากกว่าผู้อื่นในเรื่องคุณลักษณะต่าง ๆ (แสดงว่ามีความเอนเอียงประเภท illusory superiority) ต่อจากนั้น ผู้ทำการทดลองก็อธิบายเรื่องความเอนเอียงทางประชาน และถามผู้ร่วมการทดลองว่า การประเมินของผู้ร่วมการทดลองได้รับอิทธิพลจากความเอนเอียงหรือไม่ ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนตนเองว่า มีโอกาสเสี่ยงต่อความเอนเอียงน้อยกว่าผู้ร่วมการทดลองอื่น (ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่ามีความเอนเอียงประเภท bias blind spot) และเมื่อต้องอธิบายเหตุผลการประเมินของตน ผู้ร่วมการทดลองใช้วิธีการประเมินที่ต่างกันเมื่อประเมินความเอนเอียงของตนเอง และเมื่อประเมินผู้อื่น[29]
นักวิจัยกลุ่มนี้ตีความว่า เมื่อเราจะประเมินว่าคนอื่นมีความเอนเอียงหรือไม่ เราจะสังเกตดูพฤติกรรมที่แสดงออก ในนัยตรงกันข้ามกัน เมื่อประเมินว่าเราเองมีความเอนเอียงหรือไม่ เราจะมองภายในตัวเรา สังเกตหาความคิดและความรู้สึกที่อาจมีแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความเอนเอียง แต่เนื่องจากว่า ความเอนเอียงต่าง ๆ ทำงานใต้จิตสำนึก ดังนั้น การพินิจภายในเช่นนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ แต่ว่า เรามักจะเห็นความคิดความรู้สึกเหล่านั้นว่า เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ว่า ตนเองไม่เสี่ยงต่อความเอนเอียงซึ่งไม่เหมือนกับคนอื่น[28]
จากนั้นนักวิจัยก็พยายามให้ข้อมูลผู้ร่วมการทดลองเกี่ยวกับการพินิจภายในของผู้อื่น คือ นักวิจัยอัดเสียงของผู้ร่วมการทดลองที่กล่าวเรื่องที่ตนคิดเมื่อกำลังประเมินตนเองว่า คำตอบที่ให้ในคำถามที่ผ่านมามีอิทธิพลจากความเอนเอียงหรือไม่ ผลก็คือ แม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะเชื่อว่าตนเองมีโอกาสน้อยที่จะมีความเอนเอียง แต่ว่าการรายงานการพินิจภายในของตน กลับไม่มีอิทธิพลต่อผู้อื่นเมื่อผู้อื่นประเมินความเอนเอียงของบุคคลนั้น[29]
เมื่อถามว่า การมีความเอนเอียงมีลักษณะอย่างไร ผู้ร่วมการทดลองมักจะกำหนดความเอนเอียงโดยความคิดและแรงจูงใจที่ตนได้พินิจพิจารณา เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับตนเอง แต่จะกำหนดโดยพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้อื่น ส่วนในผู้ร่วมการทดลองที่มีการห้ามไม่ให้ใช้การพินิจภายใน การประเมินความเอนเอียงของตนจะตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น[29]
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีงานทดลองอื่น ๆ ที่แสดงว่า เราไม่สามารถสำนึกถึงความเอนเอียงที่เราเองมี เช่น ในงานทดลองของนิสเบ็ตต์และวิลสัน ซึ่งแสดงว่าเรามีความเอนเอียงในการที่จะเลือกสินค้าขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่วางแสดงสินค้า เช่นการทดลองที่แสดงถุงเท้าพบว่า ผู้บริโภคมีความเอนเอียงที่จะเลือกถุงเท้าด้านขวาสุดมากกว่าถุงเท้าด้านซ้ายสุดเป็นอัตราส่วนถึง 4 ต่อ 1 แต่เมื่อมีการถามผู้บริโภคว่า ตนมีความเอนเอียงเช่นนี้หรือไม่ ผู้บริโภคจะบอกว่าไม่มี ซึ่งขัดกับข้อมูลที่ได้ในการทดลอง[8]:243 ซึ่งอาจจะบ่งถึงการการพินิจภายในที่ไม่แสดงความคิดและแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดความเอนเอียง
การสำนึกรู้การปรับตัวคล้อยตามสังคม[แก้]
ในปี ค.ศ. 2007 มีงานวิจัยที่ศึกษาการกำหนดรู้การปรับตัวคล้อยตามสังคม (conformity) คือ ผู้ร่วมการทดลองรายงานว่า ตนเองสามารถอดทนต่อแรงกดดันในการปรับตัวให้คล้อยตามกับสังคมมากกว่าคนในกลุ่มเดียวกัน โดยสาระก็คือ ผู้ร่วมการทดลองเห็นตนเองว่า เป็นผู้เดียวในกลุ่มบุคคลที่ถูกชักจูงได้ง่าย การแปลการพินิจภายในผิดดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์นี้ เมื่อประเมินว่าคนอื่นเกิดการชักจูงเพราะแรงกดดันทางสังคมหรือไม่ ผู้ร่วมการทดลองจะพิจารณาแต่พฤติกรรมของบุคคลนั้น ยกตัวอย่างเช่น จะอธิบายความคิดเห็นทางการเมืองของคนอื่นว่า เป็นไปตามกลุ่มสังคมอย่างไร แต่ว่าเมื่อประเมินการปรับตัวคล้อยตามสังคมของตนเอง ผู้ร่วมการทดลองเห็นว่าการพินิจภายในของตนนั้นเชื่อถือได้ คือในใจของตนเอง ตนจะไม่พบเหตุจูงใจที่จะปรับตัว และดังนั้น ก็จะประเมินตนว่าไม่ได้รับอิทธิพลจากสังคม[30]
การสำนึกรู้การควบคุมตนเองและเจตจำนงเสรี[แก้]
ศาสตราจารย์จิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ดร. แดเนียล เว็กเนอร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอ้างว่า การแปลการพินิจภายในผิดมีผลต่อความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ เช่น การเคลื่อนย้ายวัตถุโดยใจ (psychokinesis)[31] เขาให้ข้อสังเกตว่า ในชีวิตประจำวันของเรา เจตนา (เช่นเพื่อที่จะเปิดไฟ) จะตามมาด้วยการกระทำ (เช่นการกดสวิตช์ไฟ) อย่างเชื่อถือได้ แต่ว่า กระบวนการที่เชื่อมต่อเหตุการณ์ทั้งสองความจริงแล้ว ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยจิตเหนือสำนึก ดังนั้น แม้ว่าผู้ร่วมการทดลองอาจจะรู้สึกว่าตนได้ทำการพินิจเจตจำนงภายในของตนโดยตรง แต่ว่า จริง ๆ แล้ว ประสบการณ์ความรู้สึกว่าตนได้ทำการควบคุม ความจริงมาจากการอนุมานความสัมพันธ์ระหว่างความคิดและการกระทำ นี้เป็นทฤษฎีที่เรียกว่า "apparent mental causation" (การมีใจเป็นเหตุให้เกิดผลโดยประจักษ์)[31] แต่ว่า กระบวนการที่ตรวจจับว่าตนเป็นเหตุของการกระทำหนึ่ง ๆ หรือไม่ ความจริงเชื่อถือไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดแล้ว อาจทำให้เกิดการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเหตุการณ์ภายนอกเกิดตาม หรือเกิดตรงกับ ความคิดของเรา ทั้ง ๆ ที่ความคิดนั้นจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นเหตุให้เหตุการณ์ภายนอกนั้นเกิดขึ้น[31]
เพื่อเป็นหลักฐาน ดร. เว็กเนอร์ได้ยกชุดการทดลองเกี่ยวกับความคิดเชิงไสยศาสตร์ (magical thinking) ที่ผู้ร่วมการทดลองถูกหลอกให้คิดว่า ตนมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ภายนอก ในงานทดลองหนึ่ง ซึ่งให้ผู้ร่วมการทดลองดูนักกีฬาบาสเกตบอลทำการชู้ตลูกโทษ ถ้ามีการให้ผู้ร่วมการทดลองสร้างมโนภาพของนักกีฬาทำการชู้ตลูกโทษ ผู้ร่วมการทดลองจะรู้สึกว่าตนมีอิทธิพลต่อการชู้ตลูกโทษได้สำเร็จเพียงอาศัยความคิดนั้น[32]
ถ้าการแปลการพินิจภายในผิดมีผลให้เกิดความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยถึงเจตจำนงเสรีจริง ๆ เราก็ควรที่จะอ้างถึงเจตจำนงเสรีในตนเองมากกว่าผู้อื่น ซึ่งเป็นคำพยากรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากผลงานวิจัยสามงาน คือ
- เมื่อถามนักศึกษามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการเลือกตัดสินใจในชีวิตของตนเองและของเพื่อนร่วมห้อง นักศึกษาพิจารณาว่า การเลือกตัดสินใจของตนเองนั้น พยากรณ์ได้ยากกว่า (เพราะความเสรีของเจตจำนง)
- พนักงานร้านอาหารกล่าวถึงชีวิตของผู้ร่วมงานว่า มีกำหนดจำกัดมากกว่า (คือมีทางเลือกที่เป็นไปได้น้อยว่า) ของตนเอง
- เมื่อชั่งอิทธิพลต่าง ๆ ต่อพฤติกรรม นักศึกษาให้ความสำคัญกับความต้องการและเจตจำนงสำหรับพฤติกรรมของตน แต่จะใช้ลักษณะนิสัยเพื่อพยากรณ์พฤติกรรมของผู้อื่น[33]
แต่ว่า ให้สังเกตว่า มีงานวิจัยที่วิจารณ์ความผิดพลาดของข้ออ้างที่ ดร. เว็กเนอร์ให้เกี่ยวกับความสำคัญของการแปลการพินิจภายในผิด ต่อความรู้สึกถึงเจตจำนงเสรี[34]
คำวิจารณ์[แก้]
มีงานวิจัยที่เสนอว่า ผู้ร่วมการทดลองสามารถประเมินเวลาในการตอบสนองของตนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งแสดงถึงการรู้ "กระบวนการทางจิตใจ" ของตน แม้ว่า จะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความใส่ใจและทรัพยากรทางประชานอื่น ๆ สูง (คือไม่สามารถทำได้ถ้าถูกกวนสมาธิเมื่อต้องทำการประเมิน) นักวิจัยของงานนี้เชื่อว่า การประเมินที่แม่นยำเช่นนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การตีความที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ (post-hoc interpretation) เท่านั้น แต่อาจจะเป็นกระบวนการที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่คนอื่นไม่มี (privileged information)[35][36] นอกจากนั้นแล้ว การฝึกสติ (Mindfulness traning) สามารถเพิ่มสมรรถภาพของการพินิจภายในได้ในสถานการณ์บางอย่าง[37][38][39]
งานของนิสเบ็ตต์และวิลสันยังได้รับการวิจารณ์จากนักวิชาการอื่น ๆ อีกหลายคนรวมทั้งนักจิตวิทยาทรงอิทธิพล ศ. ดร. เฮอร์เบิร์ต ไซมอน และ ศ. ดร. เค แอนเดอร์ส เอริคสัน[40]
การแก้ไขความเอนเอียง[แก้]
งานวิจัยที่ตรวจสอบผลของการให้ข้อมูลแก่ผู้ร่วมการทดลองเกี่ยวกับความเอนเอียงใต้สำนึก ต่อการให้คะแนนตนเองว่าเสี่ยงต่อความเอีนเอียงแค่ไหน แสดงว่า ผู้ที่ได้รับข้อมูลจะไม่ปรากฏ bias blind spot (จุดบอดเรื่องความเอนเอียง) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
ซึ่งให้ความหวังว่า เมื่อทราบเรื่องความเอนเอียงใต้จิตสำนึกเช่นการแปลการพินิจภายในผิด เราจะสามารถหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ประกอบด้วยความเอนเอียงบางอย่าง หรือว่าอย่างน้อยที่สุด ก็จะให้รู้ว่าตนนั้นมีความเอนเอียง
แต่ว่า มีงานวิจัยอื่น ๆ ที่มีผลที่ขัดแย้งกัน
งานปริทัศน์งานหนึ่งเสนอว่า งานวิจัยที่เพียงแต่ให้คำเตือนว่า เรามีความเอนเอียงใต้จิตสำนึก จะไม่สามารถแก้ไขความเอนเอียงได้
ส่วนงานวิจัยที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเอนเอียงและเน้นความเป็นไปใต้จิตสำนึกของความเอนเอียง จะสามารถแก้ความเอนเอียงได้
ดังนั้น ความรู้ว่า ความเอนเอียงสามารถเกิดขึ้นได้ใต้จิตสำนึก เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการแก้ปัญหาเรื่องความเอนเอียง[4]
นอกจากนั้นแล้ว วิลสันยังได้พยายามหาวิธีแก้การแปลการพินิจภายในผิด คือ ในหนังสือ Strangers to ourselves (การเป็นคนแปลกหน้าต่อตนเอง) เขาเสนอว่า การสังเกตพฤติกรรมของตนมากกว่าความคิด อาจจะเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหานี้[ต้องการอ้างอิง]
เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]
- ↑ "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" และของ introspection ว่า "การพินิจภายใน"
- ↑ Wilson 2002, p. 167
- ↑ 3.0 3.1 White, Peter A. (1988). "Knowing more about what we can tell: 'Introspective access' and causal report accuracy 10 years later". British Journal of Psychology. British Psychological Society. 79 (1): 13–45. doi:10.1111/j.2044-8295.1988.tb02271.x.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ 4.0 4.1 Pronin, Emily (2009). "The Introspection Illusion". ใน Mark P. Zanna (บ.ก.). Advances in Experimental Social Psychology, แม่แบบ:Dabbr 41. Vol. 41. Academic Press. pp. 52–53. doi:10.1016/S0065-2601(08)00401-2. ISBN 978-0-12-374472-2.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ Shermer, Michael (2007). The Mind of the Market: Compassionate Apes, Competitive Humans, and Other Tales from Evolutionary Economics. Times Books. p. 72. ISBN 978-0-8050-7832-9.
- ↑ Pronin 2009, p. 5 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFPronin2009 (help)
- ↑ Wilson, Timothy D. (2004). "Self-Knowledge: Its Limits, Value, and Potential for Improvement". Annual Review of Psychology. 55 (1): 507. doi:10.1146/annurev.psych.55.090902.141954. PMID 14744224.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthor=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Nisbett, Richard E. (1977). "Telling more than we can know: Verbal reports on mental processes". Psychological Review. 84: 231–259.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthor=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) reprinted in Hamilton, David Lewis, บ.ก. (2005). Social cognition: key readings. Psychology Press. ISBN 978-0-86377-591-8. - ↑ 9.0 9.1 9.2 Johansson, Petter (2006). "How something can be said about telling more than we can know: On choice blindness and introspection". Consciousness and Cognition. Elsevier. 15 (4): 673–692. doi:10.1016/j.concog.2006.09.004. PMID 17049881.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 10.0 10.1 Wilson 2002, pp. 104–106
- ↑ Wilson, Timothy D. (2004). "Self-Knowledge: Its Limits, Value, and Potential for Improvement". Annual Review of Psychology. 55 (1): 493–518. doi:10.1146/annurev.psych.55.090902.141954. PMID 14744224.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthor=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Wilson, Timothy D. (2008-08-22). "The Unseen Mind". Science. American Association for the Advancement of Science. 321 (5892): 1046–1047. doi:10.1126/science.1163029. PMID 18719269.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthor=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Aronson, E; Wilson, T; Akert, R; Fehr, B (2013). Social Psychology (3 ed.). pp. [, โปรดขยายความ], .
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Schwitzgebel; Hurlburt (2007). Describing Inner Experience?. MIT Press. ISBN 978-0-262-08366-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-12. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
- ↑ Johansson, Petter (2005-10-07). "Failure to Detect Mismatches Between Intention and Outcome in a Simple Decision Task". Science. 310 (5745): 116–119. doi:10.1126/science.1111709. PMID 16210542. สืบค้นเมื่อ 2009-07-02.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Silver, Jonathan (2005-12-07). "Can't Face the Choice". Journal Watch Psychiatry. Massachusetts Medical Society. 2005 (1207): 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-07. สืบค้นเมื่อ 2009-07-02.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ Johansson, Petter (2008). "Reply to commentary by Moore and Haggard". Consciousness and Cognition. Elsevier. 15 (4): 697–699. doi:10.1016/j.concog.2006.10.001.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Hall, L.; Johansson, P.; Tärning, B.; Sikström, S.; Deutgen, T. (2010). "Magic at the marketplace: Choice blindness for the taste of jam and the smell of tea". Cognition. 117 (1): 54–61. doi:10.1016/j.cognition.2010.06.010. ISSN 1873-7838. PMID 20637455.
- ↑ Hall, Lars. "Using choice blindness to study decision making and introspection" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-07-02.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Eastwick, Paul W. (2008-02). "Sex differences in mate preferences revisited: Do people know what they initially desire in a romantic partner?". Journal of Personality and Social Psychology. American Psychological Association. 94 (2): 245–264. doi:10.1037/0022-3514.94.2.245. ISSN 1939-1315. PMID 18211175.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthor=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Henkel, L.A. (2007). "Memory attributions for choices: How beliefs shape our memories". Journal of Memory and Language. 57 (2): 163–176. doi:10.1016/j.jml.2006.08.012.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthor=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Johansson, Petter; Hall, Lars; Sikstrom, Sverker (2008). "From Change Blindness to Choice Blindness" (PDF). Psychologia. 51 (2): 142–155. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
- ↑ Kaszniak, A. W. (2002). "How well can we know ourselves? — Further Exploration of Introspection". Psychology of Consciousness Class Notes. University of Arizona. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Wilson, Timothy (1989). "Introspection, attitude change, and attitude-behavior consistency: The disruptive effects of explaining why we feel the way we do". Advances in Experimental Social Psychology: 287–343.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 25.0 25.1 Wilson, Timothy (1984). "Effects of analyzing reasons on attitude-behavior consistency". Journal of Personality and Social Psychology. 47: 5–16.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Wilson, Timothy (1993). "Introspecting about reasons can reduce post-choice satisfaction". Personality and Social Psychology Bulletin. 19 (3): 331–339.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Pronin, Emily (2007-01). "Perception and misperception of bias in human judgment". Trends in Cognitive Sciences. Elsevier. 11 (1): 37–43. doi:10.1016/j.tics.2006.11.001. ISSN 1364-6613. PMID 17129749.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 28.0 28.1 Gilovich, Thomas (2005). "Shallow Thoughts About the Self: The Automatic Components of Self-Assessment". ใน Alicke, Mark D; Dunning, David A; Krueger, Joachim I (บ.ก.). The Self in Social Judgment. Studies in Self and Identity. New York: Psychology Press. p. 77. ISBN 978-1-84169-418-4.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์) - ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 Pronin, Emily (2007-07). "Valuing thoughts, ignoring behavior: The introspection illusion as a source of the bias blind spot". Journal of Experimental Social Psychology. Elsevier. 43 (4): 565–578. doi:10.1016/j.jesp.2006.05.011. ISSN 0022-1031.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthor=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Pronin, Emily (2007). "Alone in a Crowd of Sheep: Asymmetric Perceptions of Conformity and Their Roots in an Introspection Illusion". Journal of Personality and Social Psychology. American Psychological Association. 92 (4): 585–595. doi:10.1037/0022-3514.92.4.585. ISSN 0022-3514. PMID 17469946.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 31.0 31.1 31.2 Wegner, Daniel M. (2008). "Self is Magic". ใน Baer, John; Kaufman, James C; Baumeister, Roy F (บ.ก.). Are we free?: psychology and free will (PDF). New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-518963-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-02.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์) - ↑ Pronin, Emily (2006). (2006).pdf "Everyday Magical Powers: The Role of Apparent Mental Causation in the Overestimation of Personal Influence" (PDF). Journal of Personality and Social Psychology. American Psychological Association. 91 (2): 218–231. doi:10.1037/0022-3514.91.2.218. ISSN 0022-3514. PMID 16881760. สืบค้นเมื่อ 2009-07-03.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ตรวจสอบค่า|url=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)[ลิงก์เสีย] - ↑ Pronin 2009, pp. 42–43 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFPronin2009 (help)
- ↑ e.g. criticism by H. Andersen in his paper with the title 'Two Causal Mistakes in Wegner's Illusion of Conscious Will' ; Also as a criticism, read "On the alleged illusion of conscious will' by Van Duijn and Sacha Bem. Other papers can be found).
- ↑ Sébastien, Marti; Sackur, Jérôme; Sigman, Mariano; Dehaene, Stanislas (2010). "Mapping introspection's blind spot: Reconstruction of dual-task phenomenology using quantified introspection". Cognition. 115 (2): 303–313.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Guggisberg, Adrian G; Dalal, Sarang S; Schnider, Armin; Nagarajan, Srikantan S (2011). "The neural basis of event-time introspection". Consciousness and Cognition. 20 (4): 1899–1915.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Djikic, Maja; Langer, Ellen J.; Fulton Stapleton, Sarah (2008-06). "Reducing Stereotyping Through Mindfulness: Effects on Automatic Stereotype-Activated Behaviors" (PDF). Journal of Adult Development. 15 (2): 106–111. doi:10.1007/s10804-008-9040-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Roberts-Wolfe, Douglas; Sacchet, Matthew D; Hastings, Elizabeth; Roth, Harold; Britton, Willoughby (2012). "Mindfulness Training Alters Emotional Memory Recall Compared to Active Controls: Support for an Emotional Information Processing Model of Mindfulness". Hum Neurosci. 6 (15). doi:10.3389/fnhum.2012.00015. PMC 3277910. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) Full ArticlePDF - ↑ Chiesa, Alberto; Calati, Raffaella; Serretti, Alessandro (2011-04). "Does mindfulness training improve cognitive abilities? A systematic review of neuropsychological findings" (PDF). Clinical Psychology Review. 31 (3): 449–464. doi:10.1016/j.cpr.2010.11.003. PMID 21183265. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Ericsson, Herbert A.; Simon (1980-05). "Verbal reports as data". Psychological Review. 87 (3): 215–251. doi:10.1037/0033-295X.87.3.215.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
ข้อมูลอื่น[แก้]
- หนังสือ
- Pronin, Emily (2009). "The Introspection Illusion". ใน Mark P. Zanna (บ.ก.). Advances in Experimental Social Psychology, Vol. 41. Vol. 41. Academic Press. pp. 1–67. doi:10.1016/S0065-2601(08)00401-2. ISBN 978-0-12-374472-2.
{{cite book}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Wilson, Timothy D. (2002). "Strangers to ourselves: discovering the adaptive unconscious". Belknap Press of Harvard University Press. ISBN 978-0-674-00936-3.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help);|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Goldman, Alvin I. (1993). "The Psychology of Folk Psychology". ใน Goldman, Alvin I. (บ.ก.). Readings in philosophy and cognitive science (2 ed.). MIT Press. pp. 347–380. ISBN 978-0-262-57100-5.
- Gopnik, Alison (1993). "How We Know Our Own Minds: The Illusion of First-person Knowledge of Intentionality". ใน Goldman, Alvin I. (บ.ก.). Readings in philosophy and cognitive science (2 ed.). MIT Press. pp. 315–346. ISBN 978-0-262-57100-5.
- Wilson, Timothy D. (2003). "Knowing When to Ask: Introspection and the Adaptive Unconscious". ใน Anthony Jack, Andreas Roepstorff (บ.ก.). Trusting the subject?: the use of introspective evidence in cognitive science. Imprint Academic. pp. 131–140. ISBN 978-0-907845-56-0.
- วารสาร
- Pronin, Emily (2004). "Objectivity in the Eye of the Beholder: Divergent Perceptions of Bias in Self Versus Others". Psychological Review. American Psychological Association. 111 (3): 781–799. doi:10.1037/0033-295X.111.3.781. ISSN 0033-295X. PMID 15250784.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - Gibbs Jr., Raymond W. (2006). "Introspection and cognitive linguistics: Should we trust our own intuitions?". Annual Review of Cognitive Linguistics. John Benjamins Publishing Company. 4 (1): 135–151. doi:10.1075/arcl.4.06gib. ISSN 1572-0268.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - Johansson, Petter (2008). "From Change Blindness to Choice Blindness". Psychologia. Psychologia Society. 51 (2): 142–155. doi:10.2117/psysoc.2008.142. ISSN 1347-5916.
{{cite journal}}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
- เว็บไซต์
- Choice Blindness Video on BBC Horizon site
- Choice Blindness Lab เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Lund University
- ‘Choice blindness’ and how we fool ourselves by Ker Han, MSNBC.com, October 7, 2005
- Choice blindness: You don't know what you want (Opinion column by Lars Hall and Petter Johansson) New Scientist. April 18, 2009
- “People Always Follow the Crowd. But Not Me!”: The Introspection Illusion เก็บถาวร 2012-03-02 ที่ archive.today blog post by Dr. Giuseppe Spezzano, November 4, 2009