การส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
A still from a live feed of a fish tank with multiple stream encoding qualities
ภาพนิ่งจากการส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสดของตู้ปลา Schou FishCam
การตั้งค่าการส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสด

การส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสด (อังกฤษ: live streaming) หมายถึง สื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องออนไลน์ที่บันทึกและออกอากาศพร้อมกันในเวลาจริง มักเรียกกันง่าย ๆ ว่า สตรีม หรือ ไลฟ์สด แต่คำว่า "สตรีม" นี้มีความคลุมเครือ เนื่องจาก "สตรีมมิง" หรือการส่งต่อเนื่อง อาจหมายถึงสื่อใด ๆ ที่ส่งและเล่นพร้อมกันโดยไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์ทั้งหมด สื่อที่ไม่ได้ถ่ายทอดสด เช่น วีดิทัศน์ตามคำขอ วิดีโอบล็อก และวิดีโอในยูทูบ จะถูกส่งต่อเนื่องทางเทคนิค แต่จะไม่ส่งต่อเนื่องแบบสด

การส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสดครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่สื่อสังคม วิดีโอเกม ไปจนถึงกีฬาอาชีพ แพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยเฉพาะเฟซบุ๊กไลฟ์ รวมถึงการส่งต่อเนื่องในเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดตามกำหนดเวลาและกิจกรรมของคนดัง รวมถึงการส่งต่อเนื่องระหว่างผู้ใช้เช่นเดียวกับในการโทรศัพท์ภาพ เว็บไซต์อย่างทวิทช์ กลายเป็นทางออกยอดนิยมสำหรับการรับชมผู้คนเล่นวิดีโอเกม เช่น อีสปอร์ต เกมรูปแบบเล็ทส์เพลย์ หรือเกมวิ่งเร็ว การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในแอปพลิเคชันทั่วไป

การโต้ตอบของผู้ใช้ผ่านห้องสนทนาถือเป็นองค์ประกอบหลักของการส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสด แพลตฟอร์มต่าง ๆ มักจะมีความสามารถในการพูดคุยกับผู้ออกอากาศหรือมีส่วนร่วมในการสนทนาในแชท ตัวอย่างที่ชัดเจนของการเชื่อมต่อผู้ชมคือการทดลองทางสังคม ทวิทช์เพลย์สโปเกมอน ที่ผู้ชมร่วมมือกันเพื่อเล่นเกม โปเกมอน ให้เสร็จสมบูรณ์โดยพิมพ์คำสั่งที่สอดคล้องกับตัวควบคุมการป้อนเข้า ห้องสนทนาจำนวนมากยังมีบริการสัญรูปอารมณ์ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสื่อสารกับผู้ส่งเนื้อหาต่อเนื่องแบบสด

สื่อสังคม[แก้]

ในด้านสื่อสังคม คำว่า "สื่อสด" หมายถึงสื่อใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่อง เพื่อสร้างเครือข่ายสื่อผสมสดที่ใช้ร่วมกันระหว่างผู้คน บริษัท และองค์กรต่าง ๆ ไบรอัน เครเมอร์ นักการตลาดสื่อสังคม อธิบายว่าการส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสดเป็น "เครื่องมือทางการตลาดและการสื่อสารที่สำคัญ ราคาไม่แพง ช่วยให้ตราสินค้าเข้าถึงผู้ชมออนไลน์" ผู้ใช้สามารถติดตาม "แชร์" วิดีโอสดของเพื่อน รวมทั้ง "แชร์" เกี่ยวกับเนื้อหาหรือรายการอย่างเฉพาะเจาะจง สามารถแชร์สื่อสดผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันอินเทอร์เน็ตใดก็ได้ ดังนั้นเมื่อผู้คนเรียกดูเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งพวกเขาอาจพบสตรีมสื่อสดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่พวกเขามองหาอยู่[1]

สื่อสดอาจรวมถึงการรายงานข่าวกิจกรรมต่าง ๆ เช่น คอนเสิร์ต หรือการรายงานข่าวสดที่ดูได้โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์หรือโปรแกรมประยุกต์ ในที่นี้จะกล่าวถึงสื่อสังคมยอดนิยม 2 แห่ง คือเฟซบุ๊กวอตช์ และยูทูบไลฟ์

เฟซบุ๊กวอตช์[แก้]

เฟซบุ๊กเปิดตัวการส่งวิดีโอผ่านสัญญาณต่อเนื่องในชื่อเฟซบุ๊กวอตช์ แก่บุคคลบางกลุ่มในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 และเผยแพร่สู่สาธารณะในเดือนมกราคม ค.ศ. 2017[2][3] เฟซบุ๊กวอตช์เป็นบริการวิดีทัศน์ตามคำขอที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแบ่งปันเนื้อหาแบบสด ๆ ช่วยให้ผู้คนสามารถอัปโหลดวิดีโอของตนที่ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ มากมาย รวมถึงสุขนาฏกรรม ละคร และรายการข่าว เฟซบุ๊กไลฟ์อนุญาตให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กใส่ "ปฏิกิริยา" ของตนเองเมื่อมีคนแพร่ภาพ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เฟซบุ๊กวอตช์ประสบความสำเร็จอย่างมากเนื่องจากมีการแนะนำเนื้อหาให้กับผู้ใช้ตามอัลกอริทึมที่กำหนดว่าผู้ใช้ต้องการรับชมอะไรมากที่สุด[4]

ยูทูบไลฟ์[แก้]

ยูทูบถูกซื้อโดยกูเกิลในปี ค.ศ. 2006 และต่อมาทั้งคู่ก็ได้ประกาศแอปส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสด ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นในการออกอากาศได้ สามารถบันทึกการส่งต่อเนื่องสดบนยูทูบได้ และผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ผ่านแอปพลิเคชัน[5] มานูเอล บรอนสไตน์ หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคของยูทูบกล่าวว่า การส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสดเปิดโอกาสให้ผู้สร้างได้ "สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากขึ้นกับแฟน ๆ"[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kramer, Bryan. "How Live-Streaming is Going to Crush it in 2016". SocialMediaToday. สืบค้นเมื่อ September 30, 2016.
  2. Bell, Karissa (28 มกราคม 2016). "Facebook is finally bringing live streaming to everyone". Mashable. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2016.
  3. Greenberg, Julia. "Zuckerberg Really Wants You to Stream Live Video on Facebook". WIRED (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2016.
  4. Laukkonen, Jeremy. "Facebook Watch: What is it and how to use it". Life Wire.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Pierce, David. "YouTube Is the Sleeping Giant of Livestreaming". WIRED (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2016.