การรัดหนังยาง
การรัดหนังยาง (rubber band ligation) | |
---|---|
การแทรกแซง | |
ICD-9-CM | 49.45 |
การรัดหนังยาง (อังกฤษ: rubber band ligation ตัวย่อ RBL) เป็นการรักษาโรคริดสีดวงทวารแบบภายในทุกระดับขั้นในแผนกผู้ป่วยนอก มีอุปกรณ์หลายอย่างที่แพทย์สามารถใช้เพื่อปฏิบัติการ รวมทั้งอุปกรณ์โลหะแบบดั้งเดิม, endoscopic banding, และ CRH O'Regan System โดยทั้งหมดจะรัดหนังยางที่ฐานของหัวริดสีดวงเพื่อตัดเลือดซึ่งส่งไปที่หัว ริดสีดวงก็จะหดตัวลง เนื้อเยื่อก็จะตายภายในไม่กี่วันแล้วหลุดออกเมื่อขับถ่ายตามปกติ โดยที่คนไข้อาจจะไม่สังเกตเห็นเลย
การรัดหนังยางเป็นการรักษาริดสีดวงที่นิยม เพราะมีโอกาสเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัด และใช้เวลาฟื้นตัวน้อยกว่า เป็นวิธีที่ได้ผลดีและดำเนินการได้โดยหลายวิธี ถ้าทำด้วย CRH O’Regan System มันจะสัมพันธ์กับอัตราการเกิดอีกที่ 5% ภายใน 2 ปี[1] การรักษานี้อาจทำโดยแพทย์โรคทางเดินอาหาร แพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือศัลยแพทย์ทั่วไป
ประวัติ
[แก้]เมื่อ 460 ปีก่อน ค.ศ ฮิปพอคราทีสเป็นบุคคลแรกที่ได้บันทึกการรัดหัวริดสีดวงด้วยด้าย ในประวัติแพทย์แผนปัจจุบัน การรัดหัวด้วยหนังยางเริ่มเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1958
วิธีการ
[แก้]การรัดหนังยางมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- การวินิจฉัยก่อนรักษาและการรักษาด้วยยา
- แพทย์จะวินิจฉัยริดสีดวงทวารด้วยกล้องซึ่งอาจทำโดย colonoscopy, anoscopy, หรือกล้องส่องตรวจไส้ตรง (proctoscopy)
- การเตรียมตัว
- คนไข้ไม่ต้องเตรียมตัวแต่อย่างใด
- ตำแหน่งคนไข้
- แพทย์ปกติจะให้คนไข้คุกเข่าลงที่เตียง หรือให้นอนหันหน้าไปทางซ้ายบนเตียงโดยให้งอเข่าไปทางหน้าอก (เหมือนเด็กในครรภ์)
- การรัดหนังยาง
- ถ้าใช้วิธี RBL แบบดั้งเดิม แพทย์จะสอดกล้องส่องตรวจไส้ตรง (proctoscope) เข้าไปที่ทวารหนัก แล้วใช้คีม (forceps) จับหัวริดสีดวงใส่เข้าไปในปากช่องกลมของเครื่องรัดหนังยาง (ligator) ต่อจากนั้นก็จะกดเครื่องให้ติดถึงฐานของริดสีดวงแล้วปล่อยยางรัดหัวริดสีดวง มีอุปกรณ์ที่ทำความสะอาดใช้ใหม่ได้เป็นทศวรรษ ๆ แล้ว ที่สามารถดูดหัวริดสีดวงแทนการใช้คีมแล้วใช้หนังยางรัด
- อุปกรณ์แบบ CRH O'Regan ligation system ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คีมเหมือนกัน แต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าอุปกรณ์ที่สามารถดูดหัวริดสีดวงดังที่กล่าวแล้ว ซึ่งปกติศัลยแพทย์ทั่วไปหรือศัลยแพทย์ทวารหนักจะไม่ค่อยใช้ แต่แพทย์โรคทางเดินอาหารอาจใช้เพื่อเพิ่มรายได้ อุปกรณ์จะใช้แรงดูดค่อย ๆ ช่วยให้แพทย์สามารถปล่อยหนังยางเล็กเพื่อรัดฐานของริดสีดวง[2] ปกติการรัดหนังยางจะทำ 3 ครั้งโดยใช้เวลา 2 อาทิตย์เพื่อรักษาอย่างสมบูรณ์ แพทย์อาจรัดหลายหัวพร้อมกัน ๆ โดยเฉพาะถ้าวางยาสลบ แต่การฟื้นตัวอาจนานกว่าและเจ็บกว่า
ภาวะแทรกซ้อน
[แก้]ภาวะแทรกซ้อนจากการรัดหนังยางรวมทั้ง
- เจ็บ
- เลือดออก
- ติดเชื้อและภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่เชิงกราน
- เกิดริดสีดวงแบบมีลิ่มเลือด (thrombosed hemorrhoids)
- แผลเปื่อยไม่หาย
สิ่งที่คนไข้ควรรู้หลังผ่าตัด
[แก้]- ในบางกรณี คนไข้อาจจะเลือดออกโดยเฉพาะหลังถ่ายภายในสองอาทิตย์หลังจากรัดหนังยาง (แม้นี่ก็อาจเกิดจากหัวริดสีดวงที่ไม่ได้รักษาด้วย) ซึ่งอาจเป็นหลายวัน ถ้าคิดว่าเลือดออกมาก (เช่น เลือดออกมากกว่าหนึ่งช้อนชา) หรือไม่เลิก คนไข้ควรติดต่อหมอทันที
- ถ้ารู้สึกเจ็บ สามารถทานยาพาราเซตามอลได้ แต่ไม่ควรใช้ยาไอบิวพรอเฟน[3] การแช่น้ำอุ่นประมาณ 10 นาที วันละ 2-3 ครั้งอาจช่วยได้
- ไม่ควรยกของหนักหรือทำงานที่ออกแรงวันที่รัดหนังยาง (และในบางกรณี อาจจะไม่ควรถึง 4 วัน)
- ยาระบายที่ทำอุจจาระให้อ่อนเช่น Docusate (Surfak) ควรใช้วันละครั้งเป็นเวลา 3 วัน ยาอาจหาได้ที่ร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
- คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการเบ่งถ่าย ถ้าถ่ายไม่ออก ควรจะแช่น้ำอุ่นประมาณ 10 นาที
- เพื่อไม่ให้ท้องผูก ควรจะเสริมผลิตภัณฑ์ใยอาหารทุกวัน และเพิ่มดื่มน้ำให้ถึงวันละ 8 แก้ว (คือ 2 ลิตร)
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Cleator, Iain GM; Cleator, Maria M (April 2005). "Banding Hemorrhoids using the O'Regan Disposable Bander". U.S. Gastroenterology Review.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Recovering from Hemorrhoid Banding". CRH Medical Corporation. May 8, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2017. สืบค้นเมื่อ January 26, 2018.
- ↑ Healthwise Staff (November 20, 2015). "Rubber Band Ligation for Hemorrhoids". WebMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2017.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Yale New Haven Health เก็บถาวร ตุลาคม 26, 2003 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- WebMD Health Guide เก็บถาวร เมษายน 20, 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- CRH O’Regan System
- The Long Term Results of Hemorrhoid Banding เก็บถาวร มีนาคม 22, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- https://www.fascrs.org/patients/disease-condition/hemorrhoids
- https://www.fascrs.org/patients/disease-condition/hemorrhoids