การปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์
การปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ (อังกฤษ: net zero emissions) สำหรับทั้งโลก หมายถึง สถานการณ์ที่การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ รวมถึงการกำจัดแก๊สเหล่านี้อยู่ในสมดุลในช่วงเวลาที่พิจารณา มักเรียกโดยย่อว่า net zero (สุทธิรวมเป็นศูนย์)[2] ในบางกรณี การปลดปล่อยมลภาวะหมายถึงแก๊สเรือนกระจกทุกชนิด แต่ในบางกรณีหมายถึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น (CO2)[2] การจะไปให้ถึงเป้าสุทธิรวมเป็นศูนย์จำเป็นต้องใช้มาตรการที่ลดการปลดปล่อยแก๊สเหล่านั้น ตัวอย่างหนึ่งได้แก่การเปลี่ยนแปลงแหล่งเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ไปใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน หน่วยงานทั้งหลายสามารถชดเชยการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมขององค์กรด้วยการซื้อเครดิตคาร์บอน
คำต่อไปนี้มักใช้แทนกัน net zero emissions (การปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์) carbon neutrality (สถานภาพเป็นกลางทางคาร์บอน) และ climate neutrality (สถานภาพเป็นกลางทางภูมิอากาศ) โดยมีความหมายเหมือนกัน[3][4][5][6]: 22–24 แต่ในบางกรณี คำเหล่านี้มีความหมายที่แตกต่างกันได้[3] เช่น มาตรฐานบางอย่างสำหรับ carbon neutral certification อนุญาตให้มีการชดเชยปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาก แต่ net zero standards กำหนดให้ต้องลดการปลดปล่อยแก๊สลงก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 จากนั้นใช้วิธีการชดเชยในส่วนไม่เกิน 10% ที่เหลือเพื่อให้สอดคลอ้งกับเป้าหมายอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5°C[7]
ในช่วยไม่กี่ปีที่ผ่านมาการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์เป็นกลไกหลักสำหรับกิจกรรมการจัดการกับปัญหาภูมิอากาศ ประเทศและองค์กรกำหนดเป้าหมายเป็นศูนย์ของตนเอง[8][9] เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 ราว 45 ประเทศได้ประกาศและกำลังพิจารณาใช้เป้าหมายการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 90 ของการปลดปล่อยมลภาวะ[10] ในจำนวนนี้มีประเทศที่เคยต่อต้านกิจกรรมการจัดการกับปัญหาภูมิอากาศในทศวรรษก่อน[11][9] เป้าหมายการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ ปัจจุบันได้ครอบคุลมร้อยละ 92 ของ GDP ร้อยละ 88 ของการปลดปล่อยมลภาวะ และร้อยละ 89 ของประชากรโลก[9] สำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เป้าหมายดังกล่าวครอบคลุม ร้อยละ 65 ของ 2,000 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดโดยรายได้[9] สำหรับบริษัทใน Fortune 500 ครอบคุลมร้อยละ 63%[12][13] เป้าหมายของบริษัทนี้เกิดจากความประสงค์ของบริษัทเองและการกำกับดูแลของรัฐบาล
คำกล่าวอ้างเรื่องการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์มีความน่าเชื่อถือแตกต่างกันอย่างมาก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีความน่าเชื่อถือต่ำ แม้ว่าจะมีการเพิ่มการปฏิบัติการและเป้าหมาย[14] ในขณะที่ ร้อยละ 61 ของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโลกอยู่ภายใต้เป้าหมายบางอย่าง เป้าหมายที่น่าเชื่อถือได้ครอบคลุมเพียงร้อยละ 7 ของการปลดปล่อยก๊าซเท่านั้น ความน่าเชื่อถือที่ตำ่สะท้อนการขาดการกำกับดูแลที่มีผลบังคับผูกพันได้จริง และยังแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนานวัตกรรมและการลงทุนที่จะทำให้การลดการใช้คาร์บอนเป็นจริงได้[15]
ถึงปัจจุบัน มี 27 ประเทศที่ได้ออกกฎหมายกำหนดเป้าหมายการปลดปล่อยมลภาวะในประเทศ โดยกฎหมายเหล่านี้มีเป้าการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์หรือสิ่งที่เทียบเท่ากัน[16] แต่ในขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทที่ประกอบการในประเทศเหล่านั้นต้องมีเป้าหมายการปลดปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์เป็นการทั่วไป หลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์กำลังพิจารณากฎหมายในลักษณะนี้[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Key findings – World Energy Outlook 2022 – Analysis". IEA (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-09-01.
- ↑ 2.0 2.1 Fankhauser, Sam; Smith, Stephen M.; Allen, Myles; Axelsson, Kaya; Hale, Thomas; Hepburn, Cameron; Kendall, J. Michael; Khosla, Radhika; Lezaun, Javier; Mitchell-Larson, Eli; Obersteiner, Michael; Rajamani, Lavanya; Rickaby, Rosalind; Seddon, Nathalie; Wetzer, Thom (2022). "The meaning of net zero and how to get it right". Nature Climate Change. 12 (1): 15–21. Bibcode:2022NatCC..12...15F. doi:10.1038/s41558-021-01245-w.
- ↑ 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:13
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:3
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:4
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:9
- ↑ "The Net-Zero Standard". Science Based Targets (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
- ↑ "Net Zero: A short history". Energy & Climate Intelligence Unit (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "Net Zero Tracker". netzerotracker.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-29. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
- ↑ "CAT net zero target evaluations". climateactiontracker.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-21.
- ↑ "CAT net zero target evaluations". climateactiontracker.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 March 2023.
- ↑ "Big companies keep increasing their climate commitments—especially when governments tell them to". Fortune (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
- ↑ "Taking stock: A global assessment of net zero targets". Energy & Climate Intelligence Unit (ภาษาอังกฤษ). 25 October 2021. สืบค้นเมื่อ 29 March 2023.
- ↑ "More companies setting 'net-zero' climate targets, but few have credible plans, report says". AP News (ภาษาอังกฤษ). 11 June 2023. สืบค้นเมื่อ 31 July 2023.
- ↑ "Get Net Zero Right" (PDF). UNFCC.
- ↑ "Evolving regulation of companies in climate change framework laws". Grantham Research Institute on climate change and the environment (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 26 July 2023.
- ↑ "Federal Act on Climate Protection Goals, Innovation and Strengthening Energy Security - Climate Change Laws of the World". climate-laws.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 July 2023.