ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิบัติต่อผู้หญิงของตอลิบาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาชิกตำรวจศาสนาของตอลิบานตีผู้หญิงชาวอัฟกันในคาบูลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2001 ภาพนี้มาจากสมาคมปฏิวัติสตรีแห่งอัฟกานิสถาน (Revolutionary Association of the Women of Afghanistan) สามารถพบได้ใน pz.rawa.org/rawasongs/movie/beating.mpg

ขณะที่ยังมีอำนาจในประเทศอัฟกานิสถาน กลุ่มตอลิบานกลายเป็นที่โด่งดังไปทั่วโลกจากความเกลียดชังและความรุนแรงต่อสตรี พวกเขากล่าวถึงแรงจูงใจนี้ไว้ว่า พวกเขาจะสร้าง "สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ซึ่งความบริสุทธิ์และศักดิ์ศรีของสตรีอาจมีความศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง"[1] โดยอิงจากความเชื่อพัชตูนวะลีในเรื่องการอาศัยในพูร์ดาฮ์[2] ตั้งแต่กลุ่มตอลิบานยึดครองประเทศอัฟกานิสถานส่วนใหญ่ใน ค.ศ. 2021 ก็มีความกังวลต่อสิ่งนี้มากขึ้น[3]

สตรีในประเทศอัฟกานิสถานถูกบังคับให้สวมบุรเกาะอ์ในที่สาธารณะตลอดเวลา เพราะโฆษกตอลิบานคนหนึ่งกล่าวว่า "ใบหน้าของผู้หญิงเป็นต้นกำเนิดของความชั่วร้าย" สำหรับชายที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนาง[4] ในการแบ่งแยกอย่างเป็นระบบ บางครั้งเรียกอีกชื่อว่าการแบ่งแยกเพศ (gender apartheid) ได้แก่ ห้ามไม่ให้ผู้หญิงไปทำงาน พวกเธอจะไม่ได้รับการศึกษาจนกว่าจะอายุ 8 ขวบ ก่อนจะถึงอายุนั้น พวกเธออนุญาตให้เรียนอัลกุรอานเท่านั้น[5]: 165 

ผู้หญิงที่แสวงหาการศึกษาจะถูกบังคับให้เข้าเรียนในโรงเรียนใต้ดิน ซึ่งถ้าถูกจับได้ พวกเธอและครูมีความเสี่ยงที่จะถูกประหารชีวิต[6][7] พวกเธอถูกห้ามไม่ให้ไปพบหมอชายเว้นแต่จะไปพร้อมกับพี่เลี้ยงชาย ซึ่งอาจไม่ได้รับการรักษาอาการเจ็บป่วย พวกเธอเผชิญกับการเฆี่ยนตีและการประหารชีวิตในที่สาธารณะจากการละเมิดกฎของตอลิบาน[8][9] กลุ่มตอลิบานอนุญาตและบางครั้งส่งเสริมให้แต่งงานกับหญิงที่อายุ 16 ปี แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรายงานว่า ร้อยละ 80 ของการแต่งงานในประเทศเป็นการบังคับสมรส[10]

นโยบายเรื่องเพศ

[แก้]
หญิงชาวอัฟกันสวมบุรเกาะอ์

ตั้งแต่อายุ 8 ขวบขึ้นไป ผู้หญิงในประเทศอัฟกานิสถานจะถูกห้ามไม่ให้สัมผัสโดยตรงกับชายอื่นใดนอกจาก"ญาติสายโลหิต"ใกล้ชิด, สามี หรือญาติโดยการสมรส (ดูมะฮ์ร็อม)[11] ข้อห้ามอย่างอื่นของผู้หญิง มีดังนี้:

  • ผู้หญิงไม่ควรปรากฏตัวในที่สาธารณะโดยไม่มีญาติสายโลหิตหรือไม่สวมบุรเกาะอ์
  • ผู้หญิงไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูงเพราะไม่มีชายใดควรได้ยินเสียงฝีเท้าของสตรี เนื่องจากทำให้เขาตื่นเต้น
  • ผู้หญิงถูกห้ามไม่ให้พูดเสียงดังในที่สาธารณะ เพราะไม่มีคนแปลกหน้าคนใดควรได้ยินเสียงผู้หญิง[12]
  • หน้าต่างในที่อยู่อาศัยชั้นแรกและชั้นสองจะถูกทาสีหรือแปะทับ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มองเห็นผู้หญิงจากถนน
  • ภาพถ่าย ภาพยนตร์ และภายแสดงผู้หญิงในหนังสือพิมพ์ หนังสือ ร้านค้า หรือบ้านจะถูกแบน
  • การเปลี่ยนชื่อสถานที่ใด ๆ ก็ตามที่มีคำว่า "ผู้หญิง" เช่น "สวนสตรี" จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "สวนน้ำพุ"[13]
  • ผู้หญิงถูกห้ามไม่ให้พบอยู่บนระเบียงอพาร์ตเมนต์หรือบ้าน
  • ห้ามผู้หญิงปรากฎตัวในวิทยุ โทรทัศน์ หรืองานรวมตัวสาธารณะใด ๆ ก็ตาม[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dupree, Nancy Hatch (1998). "Afghan Women under the Taliban". ใน Maley, William (บ.ก.). Fundamentalism Reborn? Afghanistan and the Taliban. New York: New York University Press. pp. 145–166. ISBN 0-8147-5585-2.
  2. Marsden, Peter (1998). "The gender policies of the Taliban". The Taliban: War, Religion and the New Order in Afghanistan. London: Zed Books. pp. 88–101. ISBN 1-85649-522-1.
  3. Trofimov, Yaroslav (15 August 2021). "Afghanistan Government Collapses as Taliban Take Kabul". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2021. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021.
  4. Gohari, M. J. (1999). "Women and the Taliban Rule". The Taliban: Ascent to Power. Karachi: Oxford University Press. pp. 108–110. ISBN 0-19-579560-1.
  5. Israr, Hasan (2011). The Conflict Within Islam: Expressing Religion Through Politics. Bloomington: iUniverse. ISBN 978-1-4620-8301-5.
  6. Synovitz, Ron (31 March 2004). "Afghanistan: Author Awaits Happy Ending To 'Sewing Circles Of Herat'". Radio Free Europe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2004. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021.
  7. Lamb, Christina (13 November 2005). "Woman poet 'slain for her verse'". The Sunday Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021.
  8. The Taliban's War on Women: A Health and Human Rights Crisis in Afghanistan (PDF). Physicians for Human Rights. 1998. ISBN 1-879707-25-X. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021.[ต้องการเลขหน้า]
  9. "100 Girls' Schools In Afghan Capital Are Ordered Shut". The New York Times. 17 June 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2021. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021.
  10. "A Woman Among Warlords: Women's Rights in the Taliban and Post-Taliban Eras". PBS. 11 September 2007. สืบค้นเมื่อ 14 October 2014. The Taliban’s policies also extended to matrimony, permitting and in some cases encouraging the marriages of girls under the age of 16. Amnesty International reported that 80 percent of Afghan marriages were considered to be by force.
  11. Griffin, Michael (2001). Reaping the Whirlwind: The Taliban movement in Afghanistan. London: Pluto Press. pp. 6–11, 159–165. ISBN 0-7453-1274-8.
  12. "Some of the restrictions imposed by Taliban in Afghanistan". Revolutionary Association of the Women of Afghanistan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 1 November 2015.
  13. Nordland, Rod (20 June 2010). "Working to Help a Haven for Afghan Women Blossom". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2021. สืบค้นเมื่อ 9 January 2011.
  14. "AccountSupport". สืบค้นเมื่อ 1 November 2015.[ลิงก์เสีย]

อ่านเพิ่ม

[แก้]