การกลับชาติมาเกิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การกลับชาติมาเกิดในศิลปะฮินดู
ในศาสนาเชน หลังจากเสียชีวิตแล้ว วิญญาณจะเดินทางไปยังหนึ่งในสี่โลก โดยขึ้นอยู่กับผลกรรมที่ก่อมาตอนที่ยังมีชีวิตอยู่

การกลับชาติมาเกิด (อังกฤษ: reincarnation) บางทีเรียก การเกิดใหม่ (rebirth) หรือ การเวียนว่ายตายเกิด (transmigration)[1][2] เป็นความเชื่อทางปรัชญาหรือทางศาสนาว่า สภาวะไร้รูปร่างของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มชีวิตใหม่ในสภาพหรือรูปร่างอื่นหลังจากถึงแก่ความตายและมีการเปลี่ยนผ่านในทางชีวะแล้ว

การกลับชาติมาเกิดเป็นความเชื่อหลักในกลุ่มไสยศาสตร์และในศาสนาแบบอินเดีย ซึ่งได้แก่ ศาสนาเชน, ศาสนาพุทธ, ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดู ถึงแม้บางกลุ่มในศาสนาฮินดูไม่เชื่อเรื่องนี้ แต่ก็เชื่อในชีวิตหลังความตาย[2][3][4][5] การกลับชาติมาเกิดยังพบในศาสนายูดายออร์ทอดอกซ์หลายสาย และพบในความเชื่อบางประการของกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ (ในรูปแบบที่แตกต่างกัน)[6] รวมถึงชนพื้นเมืองออสเตรเลียบางส่วน (แต่ส่วนใหญ่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายหรือโลกของวิญญาณ)[7] ชาวกรีกหลายคนในประวัติศาสตร์ เช่น พีทาโกรัส, โสกราตีส และเพลโต เชื่อเรื่องการเกิดใหม่ หรือเมเทมไซโคซิส (metempsychosis)[8] การกลับชาติมาเกิดยังเป็นความเชื่อในศาสนาสมัยใหม่ส่วนใหญ่ ถึงแม้ประชากรส่วนใหญ่ในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามไม่เชื่อเรื่องนั้น แต่มีบางกลุ่มในศาสนาเหล่านั้นเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดใหม่ เช่น ลัทธิแคทาร์, อะละวีย์, ดรูซ[9] และโรซิครูเชียน[10] ความสัมพันธ์ในทางประวัติศาสตร์ ระหว่างนิกายดังกล่าว กับความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดซึ่งมีลักษณะแบบนีโอเพลโตนิซึม, ออร์ฟิซึม, เฮอร์เมติซิซึม ศาสนามาณีกีและไญยนิยมในสมัยโรมัน รวมถึงกลุ่มศาสนาแบบอินเดีย ได้กลายเป็นหัวเรื่องการศึกษาวิจัยในยุคปัจจุบัน[11] นอกจากนี้ ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือยังเริ่มสนใจการกลับชาติมาเกิด และมีงานเขียนร่วมสมัยหลายเรื่องที่เอ่ยถึงการกลับชาติมาเกิด[12]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Norman C. McClelland 2010, pp. 24–29, 171.
  2. 2.0 2.1 Mark Juergensmeyer & Wade Clark Roof 2011, pp. 271–272.
  3. Stephen J. Laumakis 2008, pp. 90–99.
  4. Rita M. Gross (1993). Buddhism After Patriarchy: A Feminist History, Analysis, and Reconstruction of Buddhism. State University of New York Press. pp. 148. ISBN 978-1-4384-0513-1.
  5. Flood, Gavin D. (1996), An Introduction to Hinduism, Cambridge University Press
  6. Gananath Obeyesekere, Imagining Karma: Ethical Transformation in Amerindian, Buddhist, and Greek Rebirth. University of California Press, 2002, page 15.
  7. Crawley
  8. see Charles Taliaferro, Paul Draper, Philip L. Quinn, A Companion to Philosophy of Religion. John Wiley and Sons, 2010, page 640, Google Books
  9. Hitti, Philip K (2007) [1924]. Origins of the Druze People and Religion, with Extracts from their Sacred Writings (New Edition). Columbia University Oriental Studies. 28. London: Saqi. pp. 13–14. ISBN 0-86356-690-1
  10. Heindel, Max (1985) [1939, 1908] The Rosicrucian Christianity Lectures (Collected Works): The Riddle of Life and Death. Oceanside, California. 4th edition. ISBN 0-911274-84-7
  11. An important recent work discussing the mutual influence of ancient Greek and Indian philosophy regarding these matters is The Shape of Ancient Thought by Thomas McEvilley
  12. "Popular psychology, belief in life after death and reincarnation in the Nordic countries, Western and Eastern Europe" (PDF). (54.8 KB)

สารานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]