ศานติ เทวี
ศานติ เทวี | |
---|---|
เกิด | 11 ธันวาคม ค.ศ. 1926 เดลี ประเทศอินเดีย |
เสียชีวิต | 27 ธันวาคม ค.ศ. 1987 | (61 ปี)
สัญชาติ | อินเดีย |
มีชื่อเสียงจาก | คำอ้างว่ากลับชาติมาเกิด |
ศานติ เทวี (อักษรโรมัน: Shanti Devi, 11 ธันวาคม 1926 – 27 ธันวาคม 1987) หรือที่อ้างว่าในชาติก่อนคือ ลุคฑี เทวี (อักษรโรมัน: Lugdi Devi; 18 มกราคม 1902 – 4 ตุลาคม 1925) เป็นสตรีชาวอินเดียที่อ้างว่าสามารถระลึกชาติได้และกลายมาเป็นประเด็นของการศึกษาการกลับชาติมาเกิด มหาตมา คานธี ผู้นำทางการเมืองของอินเดียเคยตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เธอกล่าวอ้าง[1]
คำกล่าวอ้างเรื่องกลับขาติมาเกิด
[แก้]ศานติ เทวี เกิดในนครเดลี[2] ขณะเป็นเด็กหญิง ในทศวรรษ 1930s เธอเริ่มกล่าวอ้างว่าสามารถจดจำอดีตชาติได้ เมื่ออายุราวสี่ขวบ เธอเคยบอกกับพ่อแม่ว่าบ้านแท้จริงของเธอยู่ในมถุรา ราว 145 กิโลเมตรจากเดลี เธออ้างว่าเธออาศัยอยู่กับสามีของเธอที่นั่น
เธอหนีออกจากบ้านเมื่ออายุหกขวบเพื่อกลับไปตามหาบ้านแท้จริงในมถุรา เธอระบุว่าเธอเสียชีวิตขณะกำลังคลอดลูก และในการพูดคุยกับครูในโรงเรียนที่สัมภาษณ์เธอเกี่ยวกับคำกล่าวอ้างเหล่านี้ เธอพูดโดยใช้คำและสำเนียงแบบมถุรา รวมถึงระบุว่าสามีของเธอชื่อ "เกทาร นาถ" (Kedar Nath) ครูในโรงเรียนตามหาจนเจอพ่อค้าชื่อเดียวกันในมถุราที่พึ่งสูญเสียภรรยาที่ชื่อว่า ลุคฑี เทวี ไปเมื่อเก้าปีก่อน หลังเธอคลอดบุตรได้สิบวัน เกทาร นาถ เดินทางมายังเดลีเพื่อพบกับศานติโดยแกล้งหลอกว่าเป็นพี่น้องของเกทาร แต่ศานติจดจำเกทารและบุตรได้ทันที ข้อมูลส่วนบุคคลของทั้งเกทาร ลุคฑี และบุตรชายล้วนตรงกับที่เธออ้างทั้งหมด นำไปสู่ความเชื่อว่าเธอคือลุคฑี เทวี ที่กลับชาติมาเกิด[3]
เรื่องนี้มาถึงหูของมหาตมา คานธี ซึ่งให้ความสนใจและตั้งคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งเดินทางกับศานติไปหมู่บ้านเดิมของลุคฑีในมทุรา เธอจดจำสมาชิกในครอบครัวได้ทันที รวมถึงยังพบว่าเกทาร นาถ ไม่ทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้ขณะลุคฑีเสียชีวิตหลายประการ คณะกรรมการตีพิมพ์รายงานในปี 1936 ว่าศานติ เทวี คือลุคฑี เทวี ที่กลับชาติมาเกิด[3]
อย่างไรก็ตาม พาล จันท์ นหตา (Bal Chand Nahata) ได้ตีพิมพ์หลังสือเป็นภาษาฮินดีในชื่อ "ปุนารชันมะ กี ปรรยโลจนะ" (Punarjanma Ki Paryalochana) ซึ่งระบุว่าคำกล่าวอ้างและหลักฐานเหล่านี้ไม่พิสูจน์ได้ว่าลุคฑีกลับชาติมาเกิดเป็นศานติจริง ๆ[4] ต่อมาอินทระ เสน ศิษยานุศิษย์ของศรีอรวินท์ โฆษ เขียนบทความออกมาโต้เถียงคำกล่าวอ้างของพาล[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dimri, Bipin (2022-03-19). "The Lives of Shanti Devi: Proof of Reincarnation?". Historic Mysteries (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-23. สืบค้นเมื่อ 2022-03-22.
- ↑ K. S. Rawat; T. Rivas (July 2005), "The Life Beyond: Through the eyes of Children who Claim to Remember Previous Lives", The Journal of Religion and Psychical Research, 28 (3): 126–136, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-25
- ↑ 3.0 3.1 L. D. Gupta, N. R. Sharma, T. C. Mathur, An Inquiry into the Case of Shanti Devi, International Aryan League, Delhi, 1936
- ↑ Nahata, Bal Chand. Punarjanma Ki Paryyalochana. Calcutta: Buddiwadi Songh. (Undated.)
- ↑ Sen, Indra. "Shantidevi Further Investigated". Proceedings of the India Philosophical Congress. 1938
บรรณานุกรม
[แก้]- L. D. Gupta, N. R. Sharma, T. C. Mathur, An Inquiry into the Case of Shanti Devi, International Aryan League, Delhi, 1936
- Nahata, Bal Chand, (undated). Punarjanma Ki Paryyalochana. Calcutta: Buddiwadi Songh (Undated.)
- Sen, Indra. "Shantidevi Further Investigated". Proceedings of the India Philosophical Congress. 1938
- Bose, Suskil C. A Case of Reincarnation , Calcutta: Satsang, 1952
- Sture Lönnerstrand, Shanti Devi: En berättelse om reinkarnation. Stockholm 1994. ISBN91-514-0277-7
- K. S. Rawat, T. Rivas (July 2005), ”The Life Beyond: Through the eyes of Children who Claim to Remember Previous Lives”, The Journal of Religion and Psychical Research 28 (3): 126-136, arkiverad från ursprungsadressen den 2012-05-25