กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ
กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ
ประเทศ ไทย
บทบาทป้องกันประเทศจากภัยคุกคามทางทะเล[1][2]
การสงครามทุ่นระเบิด[1]
วางทุ่นระเบิด[1]
กวาดทุ่นระเบิด[1]
สกัดกั้นการค้ายาเสพติดผิดกฎหมาย[1]
ต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด[1]
ต่อต้านการก่อการร้าย[1]
กองบัญชาการตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 10290
คำขวัญทำศึกทุ่นระเบิด เปิดวิถีนาวา ขวางมรรคาไพรี[1]
วันสถาปนา22 ธันวาคม พ.ศ. 2485; 81 ปีก่อน (2485-12-22)[1][2][3]
ปฏิบัติการสำคัญสงครามโลกครั้งที่สอง[1][2]
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลเรือตรี วิชชุ ดำรง
ผบ. สำคัญพลเรือตรี ลือชัย รุดดิษฐ์[1][4][5]
พลเรือตรี ชาติชาย ศรีวรขาน[2][6][7]
พลเรือตรี เชษฐา ใจเปี่ยม[4][8]
พลเรือตรี วิชชุ ดำรง

กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ (อักษรย่อ: กทบ.กร.;[1] อังกฤษ: Mine Squadron, Royal Thai Fleet) เป็นกองเรือที่มีบทบาทสำคัญในการสงครามทุ่นระเบิดของกองทัพเรือไทย[2][9][10] พลเรือตรี[11] วิชชุ ดำรง[12]รองผู้บัญชาการได้แก่ นาวาเอก วิชาญ วันทนียกุล และ นาวาเอก สุชาต นุชนารถ

ประวัติ[แก้]

ปี พ.ศ. 2446 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมทหารเรือได้กำหนดให้มี "กองทุ่นระเบิด"[1][2]

จากนั้น ในปี พ.ศ. 2485 สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เรือดำน้ำสหรัฐได้เข้ามาวางทุ่นระเบิดบริเวณเกาะริ้น, เกาะคราม และเกาะสีชัง ส่งผลให้เรือซิดนีย์มารูของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับประเทศไทยในขณะนั้น ได้รับความเสียหายอย่างหนัก รวมถึงเรือสินค้าและเรือประมงไม่กล้าออกทะเล[1][2][3]

กองทัพเรือไทยจึงลงคำสั่งให้เรือหลวงจวง (ลำเก่า) กับเรือประมงจำนวนหนึ่งเป็นหมู่เรือกวาดทุ่นระเบิด โดยออกปฏิบัติการวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ถึงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 นับเป็นการกวาดทุ่นระเบิดครั้งแรก ที่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จึงได้มีการถือเอาวันที่ 22 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองเรือทุ่นระเบิด[1][2][3]

ต่อมา เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองได้เข้ามาวางทุ่นระเบิดในแม่น้ำเจ้าพระยา ทางกองทัพเรือไทยจึงได้ลงคำสั่งจัดตั้งกองกวาดทุ่นระเบิดในแม่น้ำเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2487[1]

ครั้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ชื่อ "กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ" ได้ปรากฏครั้งแรกเมื่อย้ายกองเรือจากกรุงเทพมหานคร ไปรวมอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[1][2]

การฝึก[แก้]

การฝึกสำคัญ อาทิ การฝึกความพร้อมรบร่วมกันทางทะเล (อังกฤษ: Cooperation Afloat Readiness and Training; อักษรย่อ: CARAT) และการฝึกผสมต่อต้านทุ่นระเบิดภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (อังกฤษ: Western Pacific Mine Countermeasure Exercise; อักษรย่อ: WP MCMEX) ที่กองเรือทุ่นระเบิดได้จัดหมู่เรือ เพื่อร่วมฝึก ณ ประเทศสิงคโปร์[1][13]

ในปี พ.ศ. 2562 กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ได้ทำการฝึกวางทุ่นระเบิดทอดประจำที่ ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน เอ็มไอ 9 (Mi9) จำนวน 2 ลูก นับเป็นครั้งแรกของกองทัพเรือที่จุดระเบิดทุ่นระเบิดจริงในทะเลฝั่งอันดามัน โดยเป็นทุ่นระเบิดที่กองทัพเรือผลิตใช้เอง[14]

กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]

เมื่อครั้งอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 กองเรือทุ่นระเบิดได้ส่งกำลังเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[1] นอกจากนี้ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ และการประปานครหลวง ได้ร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 450 ต้น[15]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2556 : โล่ประกาศเกียรติคุณ ประเภทบุคคลดีเด่น ด้านการป้องกันยาเสพติด ประจำปี 2556 จากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[16]
  • พ.ศ. 2560 : เรือหลวงลาดหญ้า ได้รับรางวัลเรือพร้อมรบสูงสุด ประจำปี 2560 สาขาสงครามทุ่นระเบิด[17]
  • พ.ศ. 2560 : รางวัลดีเด่น ผลงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหารด้านยุทโธปกรณ์ – จากทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน ในงานนาวีวิจัย 2017[18][19]

ยุทโธปกรณ์[แก้]

เรือในปัจจุบัน[แก้]

ภาพ ที่มา ชื่อ ประเภท เข้าประจำการ หมายเหตุ
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี เรือหลวงท่าดินแดง[5] เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง[5] มกราคม พ.ศ. 2543
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี เรือหลวงลาดหญ้า[1] เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง[20] มีนาคม พ.ศ. 2542 ได้รับรางวัลเรือพร้อมรบสูงสุด สาขาสงครามทุ่นระเบิด[17]
 ไทย เรือ ท.12[5] เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น[5] 6 ตุลาคม พ.ศ. 2537
 ไทย เรือ ท.11[5] เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น[5] 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2537


ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี เรือหลวงหนองสาหร่าย[13] เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง[13] 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี[20] เรือหลวงบางระจัน[20] เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง[20] 29 เมษายน พ.ศ. 2530 มีแผนปลดประจำการในปีงบประมาณ 2560–2561[1]
 ไทย[21] เรือหลวงถลาง[2] เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด[22] 25 มิถุนายน พ.ศ. 2523 หมายเลข 261[23] มีแผนปลดประจำการในปีงบประมาณ 2563[1]

เรือในอดีต[แก้]

ภาพ ที่มา ชื่อ ประเภท เข้าประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา[24] เรือหลวงโพสามต้น[25] เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่ง[24] 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[24] ไม่ทราบ[26] ชื่อเดิมคือเรือหลวงมินสเทรล (HMS Minstrel)[26]
ได้รับเชิญสวนสนามทางเรือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[24]
 ไทย เรือหลวงจวง (ลำเก่า)[1] เรือน้ำ ไม่ทราบ ไม่ทราบ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 22 ธ.ค.วัน'กองเรือทุ่นระเบิด' - คมชัดลึก
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 ครบ 70 ปี'กองเรือทุ่นระเบิด'ขวางไพรี - คมชัดลึก
  3. 3.0 3.1 3.2 วันคล้ายวันสถาปนากองเรือทุ่นระเบิด - ข่าวออนไลน์
  4. 4.0 4.1 กองทัพเรือ โดยกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ทดลองใช้งานทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 ทัพเรือไทย เจ๋ง สร้างทุ่นระเบิด : INN News[ลิงก์เสีย]
  6. TIPMSE ร่วมกับกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการร้าน 0 บาท” เคลื่อนที่
  7. กปน. ร่วมแสดงความยินดี ผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด - การประปานครหลวง[ลิงก์เสีย]
  8. เรียงคนมาเป็นข่าว : ‘สังคม’ หน้า 4 วันที่ 1 กรกฎาคม 2560
  9. กองทัพเรือ โดยกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ทดสอบยานล่าทำลายทุ่นระเบิดทำการจุดระเบิดทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน
  10. กองทัพเรือจัดใหญ่ 120 ปี ร.ศ. 112 รำลึกวีรกรรมทหารเรือไทย - ผู้จัดการ
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 15 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 39 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  13. 13.0 13.1 13.2 เอกอัครราชทูตฯ ต้อนรับ ผบ.หมู่เรือฝึกผสมต่อต้านทุ่นระเบิดภาคพื้นแปซิฟิคตะวันตก ของกองทัพเรือ และคณะ ในโอกาสที่หมู่เรือฝึกฯ เดินทางเข้าจอดเรือเพื่อร่วมการฝึก ณ ฐานทัพเรือจางี สาธารณรัฐสิงคโปร์
  14. ทร.โชว์ศักยภาพการใช้ทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำล่องหนครั้งแรก - โพสต์ทูเดย์
  15. กปน. ร่วมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ กับกองเรือยุทธการ[ลิงก์เสีย]
  16. "ทัพเรือขนปชช.-นร.-ตร. ปฏิญาณตน ไม่ยุ่งเกี่ยวยา วันยาเสพติดโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  17. 17.0 17.1 'บิ๊กชีพ'มอบรางวัล 9 เรือรบ ที่คว้าเรือพร้อมรบสูงสุดประจำปี 60 ของ ทร. - ไทยรัฐ
  18. 'บิ๊กลือ' คว้ารางวัล 'นาวีวิจัย 2017' ทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน - ไทยรัฐ
  19. ราชนาวี โชว์ศักยภาพผลงานวิจัยกองทัพเรือ – พล.ร.อ.ณะ มอบประกาศเกียรติคุณ - ข่าวสด
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 ทร.ทดสอบยานล่าทำลายทุ่นระเบิด-ตูมสนั่นกลางทะเล สำเร็จครั้งแรกในไทย
  21. “กองทัพเรือไทย” ต้อนรับเรือรบ 26 ลำ จาก 19 ประเทศ ร่วมมหกรรมทางเรือนานาชาติ
  22. ฝึกใช้ทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน - กรุงเทพธุรกิจ
  23. ต้อนรับเรือรบ 26 ลำร่วมงานมหกรรมทางเรือนานาชาติ - กรุงเทพธุรกิจ
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 เรือรบหลวงโพสามต้น อนุสรณ์ความสัมพันธ์ไทย-อังกฤษ ที่กำลังรอวันจมลงสู่ทะเลโดยสมบูรณ์
  25. บทวิเคราะห์/กองทัพผลัดใบ โฟกัส ‘บิ๊กแดง-บิ๊กลือ-บิ๊กต่าย’ จาก Foxhall-SeaHawk-Rabbit สู่ยุค Smart Soldiers Strong Army จับตา ‘บิ๊กเจี๊ยบ’ ในสถานการณ์พิเศษ
  26. 26.0 26.1 "เรือหลวงโพสามต้น - Thai Seafarer Community". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]