กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรัก
อาร์มประจำกองกำลัง | |
ชื่อย่อ | UNGCI |
---|---|
ก่อตั้ง | พฤษภาคม พ.ศ. 2534 – พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 |
ประเภท | พิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สินของสหประชาชาติ |
สถานะตามกฎหมาย | สิ้นสุด |
องค์กรปกครอง | สหประชาชาติ |
กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรัก (อังกฤษ: United Nations Guards Contingent in Iraq: UNGCI) มาจากข้อมติสหประชาชาติที่ 706/1991 และ 712/1991 โดยมุ่งเน้นไปที่การรักษาความปลอดภัยเส้นทางการสนับสนุนด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ[1] ให้แก่ประชาชนชาวอิรัก หลังจากที่คูเวตได้รับการปลดปล่อย และระหว่างที่มีการคว่ำบาตรทางการค้าต่อรัฐบาลอิรัก กองกำลังนี้มีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546
รูปแบบการปฏิบัติงานคือการวางกำลังกองกำลังทหารและตำรวจจากชาติต่าง ๆ รักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยสำหรับเจ้าหน้าที่พลเรือนในโครงการ รวมไปถึงการทำงานขององค์การด้านมนุษยธรรมในการแจกจ่ายอาหารและเวชภัณฑ์
ประวัติ
[แก้]หลังจากการสิ้นสุดลงของสงครามอ่าวในปี พ.ศ. 2534 คณะมนครีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้เสนอให้จัดกองกำลังรักษาความปลอดภัยของสหประชาชาติเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ทางตอนเหนือของอิรักเพื่อปฏิบัติการแทนกองกำลังของฝ่ายพันธมิตรที่ถอนกำลังออกมาและดูแลความปลอดภัยให้กับชาวเคิร์ด และได้มีการจัดตั้งสำนักงานและศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติในอิรัก (United Nations Sub-offices and Humanitarian Center) ซึ่งอยู่ในความดูแลของโครงการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับอิรัก-คูเวต ในพื้นที่ชายแดนอิรักและอิหร่าน และพื้นที่อิรักและตรุกี[1]
ต่อมาข้อตกลงในการจัดตั้งกองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรัก (UNGCI) ได้ข้อสรุปในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 โดยหลังจากนั้นไม่นาน กองกำลังรักษาความปลอดภัยกลุ่มแรกก็ได้เดินทางไปยังอิรักเพื่อกระจายกำลังไปประจำการเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับองค์การที่มีส่วนร่วมในการบรรเทาทุกข์
ในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2534 ภารกิจของกองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรักมีกำลังพลถึงระดับ 500 นายที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนิวยอร์ก สหประชาชาติในเจนีวา สหประชาชาติในเวียนนา และสหประชาชาติในเคนยา โดยกองกำลังระดับชาติผระมาณชาติละ 50 นาย ถูกส่งมาจากประเทศออสเตรีย บังคลาเทศ เชโกสโลวะเกีย เดนมาร์ก ฟิจิ กานา กรีซ เนปาล ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และไทย
หลังจากการฝึกในกรุงแบกแดดช่วงสั้น ๆ กองกำลังรักษาความปลอดภัยกลุ่มแรกได้ย้ายไปประจำการที่อัรบีลและดะฮูก (ทางตอนเหนือของอิรัก) และได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการส่วนใหญ่ในเคอร์ดิสถานภายในสามภูมิภาค (ดะฮูก อัรบีล และสุไลมานิยาห์) แม้ว่าจะมีการปฏิบัติการบางส่วนในทางใต้ของประเทศในเมืองบัสรา
ปฏิบัติการ
[แก้]กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรัก ใช้งบประมาณในการปฏิบัติการต่อปีประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยมีเพียงหัวหน้าของหน่วยเท่านั้นที่ได้รับงบประมาณโดยตรงของกองกำลัง โดยทหารที่ปฏิบัติการที่เหลือจะได้รับเพียงค่าตอบแทนจากเบี้ยเลี้ยงรายวัน[2]
กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรักมีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมในเขตการปกครองในภาคเหนือทั้ง 3 เขตผ่านการให้คำแนะนำและการประเมินด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการขยายขอบเขตการบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ และการให้การคุ้มกันและปกป้องบุคลากรและทรัพย์สินของสหประชาชาติ[2]
นอกจากนี้กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรักยังเป็นหน่วยเดียวที่ให้บริการทางการแพทย์ (รวมไปถึงการอพยพฉุกเฉินทางการแพทย์) ให้กับบุคลากรของสหประชาชาติในภูมิภาค รวมไปถึงการวางโครงข่ายการสื่อสารให้กับหน่วยงานของสหประชาชาติในเขตการปกครองทั้ง 3 เขต และตรวสอบความปลอดภัยรายวันให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ต่างชาติกว่า 500 คนปฏิบัติงานอยู่ใน 3 เขตการปกครอง [2]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ภารกิจดำเนินต่อไปภายใต้การสนับสนุนของโครงการ "น้ำมันแลกอาหาร" และในช่วงท้ายของภารกิจกองกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนสนับสนุนที่กำลังจะถูกตัดลดลง โดยถูกระบุไว้ในข้อหารือของ เบนอน วี. เซวาน ผู้อำนวยการบริหารโครงการอิรัก ในการหารืออย่างไม่เป็นทางการต่อสภาความมั่นคง[2]
ภารกิจของกองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรัก (UNGCI) สิ้นสุดลง หลังจากการถอนตัวของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติในอิรักเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546[3]
การส่วนร่วมของประเทศไทย
[แก้]ประเทศไทยได้ส่งกองกำลังเข้าร่วมจำนวน 2 ผลัด ผลัดละ 50 นาย โดยเป็นกำลังทหารจากทั้ง 3 เหล่าทัพของกองทัพไทย โดยผ่านความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2534 [1]
- กำลังผลัดแรก ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2534 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2535 มีพันตรี สุภัทร ทิพย์มงคล เป็นหัวหน้าชุด ซึ่งผลัดแรกมีกำลังจำนวน 50 นายจาก[1]
- กองบัญชาการทหารสูงสุด 1 นาย
- กองทัพบก 29 นาย
- กองทัพเรือ 10 นาย
- กองทัพอากาศ 10 นาย
- กำลังผลัดที่สอง ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ถึงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2537 (เดินทางกลับก่อนกำหนดคือ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เนื่องจากสหประชาชาติมีงบประมาณไม่เพียงพอ จึงต้องลดจำนวนกำลังพล) มีพันเอก มานิจ บุญโปร่ง เป็นหัวหน้าชุด ซึ่งผลัดสองมีกำลังจำนวน 50 นายจาก[1]
- กองบัญชาการทหารสูงสุด 5 นาย
- กองทัพบก 25 นาย
- กองทัพเรือ 10 นาย
- กองทัพอากาศ 10 นาย
เหรียญสหประชาชาติ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 หลักนิยมกองทัพไทยสายุทธการด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ (ใช้เพื่อพลาง) พ.ศ. 2552 (PDF). กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. 2552.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Office of the Iraq Programme Oil for Food". www.un.org.
- ↑ "UN Office of the Iraq Program - Oil for Food: About the Program". www.un.org.