กระทรวงธรรมการ (จีนโบราณ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระทรวงธรรมการ หรือ หลี่ปู้ (จีน: 礼部; พินอิน: Lǐbù) เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงในยุคจีนโบราณ[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

กระทรวงธรรมการก่อตั้งขึ้นในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ ภายหลังราชวงศ์สุย ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในหกกระทรวง ทำหน้าที่ดูแลเครื่องบรรณาการ พิธีเซ่นไหว้ พิธีกรรม การศึกษา การสอบขุนนาง

ในสมัยราชวงศ์ซ่งอยู่ภายใต้สำนักซ่างซู ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน และช่วงต้นราชวงศ์หมิงอยู่ภายใต้สำนักจงซู ต่อมาจักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้ยกเลิกตำแหน่งอัครเสนาบดี และให้กระทรวงทั้งหกปฏิบัติตามคำสั่งของจักรพรรดิโดยตรง

ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง กระทรวงธรรมการประกอบด้วย 4 กรม ดังนี้ (仪制清吏司"อี้จื้อชิงลี้ซือ")、(祠祭清吏司 "ฉื่อจี้ชิงลี้ซือ")、(主客清吏司 "จู๋เค้อชิงลี้ซือ")、(精膳清吏司 "จิงซ้านชิงลี้ซือ")

ในรัชศกซวนถงปีที่ 3 (ค.ศ.1911) กระทรวงธรรมการเปลี่ยนชื่อเป็นสภามหกรรม (典礼院 "เตี๋ยนหลี่ย่วน")

กระทรวงธรรมการราชวงศ์ถัง[แก้]

กระทรวงธรรมการของราชวงศ์ถังสืบทอดระบบเก่าของราชวงศ์สุย และเป็นหนึ่งในหกกระทรวงภายใต้สำนักซ่างซู ประกอบด้วย 4 กรม ดังนี้

  • กรมธรรมการ (礼部司 "หลี่ปู้ซือ"): รับผิดชอบงานพระราชพิธีและดนตรี โรงเรียน สถาบัน เสื้อผ้า ตราของทางราชการ ฤกษ์มงคล พิธีศพ และเรื่องอื่นๆ
  • กรมพิธีการ (祠部司 "ฉื่อปู้ซือ"): รับผิดชอบในการจัดการการบูชาบรรพบุรุษ การบูชายัญ ดาราศาสตร์ นาฬิกาน้ำ การแกะสลัก วันครบรอบการสวรรคตของจักรพรรดิและจักรพรรดินี ข้อห้ามพระอารามนาม การทำนายดวงชะตา การแพทย์ นักบวช และกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • กรมเกษตรอาหาร (膳部司 "ซ้านปู้ซือ"): รับผิดชอบการจัดหาสุราอาหาร และเก็บน้ำแข็ง
  • กรมอาคันตุกะ (主客司 "จู๋เค่อซือ"): รับผิดชอบในการจัดการต้อนรับและจัดหาสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวันแก่พระบรมราชวงศ์ เครื่องบรรณาการ

ขุนนางในกระทรวงธรรมการราชวงศ์ถัง[แก้]

  • เสนาบดีว่าการกระทรวงธรรมการ (礼部尚书"หลี่ปู้ซ่างซู") จำนวน 1 คน เป็นขุนนางขั้น 3 ชั้นเอก
  • เสนาบดีช่วยกระทรวงธรรมการ (礼部侍郎 "หลี่ปู้ซื่อหลาง") จำนวน 1 คน เป็นขุนนางขั้น 4 ชั้นเอก
  • จางวางกรม (郎中 "หลางจง") กรมละ 1 คน เป็นขุนนางขั้น 5 ชั้นรอง
  • เจ้ากรม (员外郎 "หยวนไว่หลาง") กรมละ 1 คน เป็นขุนนางขั้น 6 ชั้นรอง
  • สมุบาญชีย์ (主事 "จู่ซื่อ") กรมละ 2 คน เป็นขุนนางขั้น 8 ชั้นรอง
  • เสมียน (令史 "ลิ่งซือ") กรมละ 5 คน
  • เสมียนผู้ช่วย (书令史 "ซูลิ่งซือ") กรมละ 11 คน
  • ผู้กำกับ (亭长 "ถิ่งจาง") กรมละ 6 คน
  • ผู้ดูแล (掌固 "จางกู้") กรมละ 8 คน

อ้างอิง[แก้]

  1. 由吏部到礼部——试探开元二十四年贡举考试改革的深层原因
  • 新唐书·百官志一》:“吏部。尚书一人,正三品;侍郎二人,正四品上;郎中二人,正五品上;员外郎二人,从六品上,掌文选、勋封、考课之政。以三铨之法官天下之材,以身、言、书、判、德行、才用、劳效较其优劣而定其留入,为之注拟……其属有四:一曰吏部,二曰司封,三曰司勋,四曰考功。”
  • 《增修互注礼部韵略》版本考述——兼释元代屡刊《增修互注礼部韵略》的原因
  • 高福顺. 辽朝礼部贡院与知贡举考论。
  • 杨惠玲. 论辽的礼部贡院及科举。