กฎบัตรสหประชาชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฎบัตรสหประชาชาติ
Charter of the United Nations
UN Charter signing ceremony
วันลงนาม26 มิถุนายน พ.ศ. 2488
ที่ลงนามซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
วันมีผล24 ตุลาคม พ.ศ. 2488
เงื่อนไขให้สัตยาบันโดยจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศภาคีอื่น ๆ
ภาคี193
ผู้เก็บรักษาสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส อาหรับ จีน รัสเซีย

กฎบัตรสหประชาชาติ (อังกฤษ: Charter of the United Nations)คือ ข้อตกลงที่บรรดาประเทศผู้ก่อตั้งและร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ให้สัตยาบันเข้าผูกพัน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานและบริหารงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ ถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นตราสารก่อตั้งที่สถาปนาองค์การให้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ

ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติจึงก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ซึ่งเป็นวันที่ประเทศจีน ประเทศฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ได้มีการให้สัตยาบันต่อกฎบัตรสหประชาชาติ โดยทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติอย่างเคร่งครัด ยกเว้นเพียงแต่นครรัฐวาติกันที่เป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ซึ่งเป็นข้อยกเว้น

แหล่งข้อมูลอื่น