ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิลกาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: en:Nilgai
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
นิลกายเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลา[[กลางวัน]] และพักผ่อนในเวลา[[กลางคืน]]เหมือนสัตว์ในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ แต่กินอาหารหลากหลายกว่า เพราะกินทั้ง[[ต้นไม้]], ใบ[[หญ้า]], [[ใบไม้]] และ[[ผลไม้]]ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษ คือ สามารถอดน้ำได้หลายวันโดยไม่มีน้ำดื่ม แต่มักจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โดยส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นกลุ่มประมาณ 15 ตัว บางกลุ่มอาจมีถึง 20 ตัว ยกเว้นตัวที่อายุมากแล้วมักจะปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง และจะรวมตัวกันอีกทีก็ในช่วง[[ฤดูหนาว]] ซึ่งอาจจะมีจำนวนถึง 30-100 ตัว
นิลกายเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลา[[กลางวัน]] และพักผ่อนในเวลา[[กลางคืน]]เหมือนสัตว์ในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ แต่กินอาหารหลากหลายกว่า เพราะกินทั้ง[[ต้นไม้]], ใบ[[หญ้า]], [[ใบไม้]] และ[[ผลไม้]]ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษ คือ สามารถอดน้ำได้หลายวันโดยไม่มีน้ำดื่ม แต่มักจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โดยส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นกลุ่มประมาณ 15 ตัว บางกลุ่มอาจมีถึง 20 ตัว ยกเว้นตัวที่อายุมากแล้วมักจะปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง และจะรวมตัวกันอีกทีก็ในช่วง[[ฤดูหนาว]] ซึ่งอาจจะมีจำนวนถึง 30-100 ตัว


ปัจจุบัน นิลกายเป็นสัตว์ป่าสงวนของทางการอินเดีย พบจำนวนมากในที่ [[สวนลุมพินีวัน]] อันเป็นสถานที่ประสูติของ[[พระสมณโคดม|พระพุทธเจ้า]] และ[[ความเชื่อ|เชื่อ]]ว่าเป็น[[สัตว์หิมพานต์|สัตว์ในป่าหิมพานต์]]ด้วย เป็นสัตว์ที่เชื่อว่าหากใครได้พบเห็น จะพบกับความเป็นสิริมงคล
ปัจจุบัน นิลกายพบจำนวนมากในที่ [[สวนลุมพินีวัน]] อันเป็นสถานที่ประสูติของ[[พระสมณโคดม|พระพุทธเจ้า]] และ[[ความเชื่อ|เชื่อ]]ว่าเป็น[[สัตว์หิมพานต์|สัตว์ในป่าหิมพานต์]]ด้วย เป็นสัตว์ที่เชื่อว่าหากใครได้พบเห็น จะพบกับความเป็นสิริมงคล แต่นิลกายก็ถือเป็นสัตว์ที่รบกวนกินพืชผลของ[[เกษตรกร]]เสียหายได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก ทางการอินเดียจึงอนุญาตให้ล่าสัตว์ชนิดนี้ได้อย่างถูกกฎหมาย ขณะที่อีกไม่น้อยถูกรถชน นอกจากนี้ยังต้องขาดแคลนที่อยู่ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และมีศัตรูตามธรรมชาติอีกอย่างคือ[[เสือ]]และ[[สิงโตอินเดีย|สิงโต]] ทำให้ปัจจุบันเหลือปริมาณ นิลกายอยู่ไม่มากแล้ว ในอินเดียมีประมาณ 100,000 ตัวเท่านั้น ส่วนที่[[รัฐเทกซัส]]ใน[[สหรัฐอเมริกา]]ถูกนำไปเลี้ยงใน[[สวนสัตว์]]บ้าง ในธรรมชาติบ้าง ช่วงทศวรรษ 1920 เหลือปริมาณนิลกายประมาณ 1,500 ตัว<ref>[http://www.dailynews.co.th/crime/9913 สวนสัตว์เชียงใหม่ได้สมาชิกเพิ่ม จาก[[เดลินิวส์]]]</ref>


สำหรับใน[[ประเทศไทย]] นิลกายมีอยู่ที่[[สวนสัตว์เชียงใหม่]] ซึ่งได้ตกลูกในไทยมาแล้วถึง 4 ตัว นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับ[[ซาวลา]] (''Pseudoryx nghetinhensis'') ที่พบในป่าทึบของ[[เวียดนาม]]อีกด้วย<ref>[http://www.watthailumbini-th.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538911831 นิลกายสัตว์โบราณ]</ref> <ref>[http://www.thairath.co.th/content/region/234396 นิลกายตกลูก จาก[[ไทยรัฐ]]]</ref> <ref>[http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=88&i2=2 เซาลา]</ref>
สำหรับใน[[ประเทศไทย]] นิลกายมีอยู่ที่[[สวนสัตว์เชียงใหม่]] ซึ่งได้ตกลูกในไทยมาแล้วถึง 4 ตัว นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับ[[ซาวลา]] (''Pseudoryx nghetinhensis'') ที่พบในป่าทึบของ[[เวียดนาม]]อีกด้วย<ref>[http://www.watthailumbini-th.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538911831 นิลกายสัตว์โบราณ]</ref> <ref>[http://www.thairath.co.th/content/region/234396 นิลกายตกลูก จาก[[ไทยรัฐ]]]</ref> <ref>[http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=88&i2=2 เซาลา]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:50, 14 เมษายน 2555

นิลกาย
นิลกายตัวผู้
ตัวเมียและลูก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Bovinae
สกุล: Boselaphus
Blainville, 1816
สปีชีส์: B.  tragocamelus
ชื่อทวินาม
Boselaphus tragocamelus
(Pallas, 1766)

นิลกาย (อังกฤษ: Nilgai, Blue bull, เบงกอล: নীলগাই, ฮินดี: नीलगाय, ชื่อวิทยาศาสตร์: Boselaphus tragocamelus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae)

จัดเป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boselaphus[2]

มีรูปร่างลักษณะคล้ายวัวผสมกับม้า ตัวผู้มีลักษณะเด่น ที่ สีลำตัวเมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มขึ้นเรื่อย ๆ หรือสีเทาปนดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ถือเป็นแอนทีโลปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยมีส่วนสูงวัดถึงไหล่ประมาณ 1.2-1.5 เมตร และยาว 1.8-2 เมตร หางยาว 40-45 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยมีน้ำหนักประมาณ 120-140 กิโลกรัม ลำตัวใหญ่ แต่มีขาเล็กเรียว ตัวผู้มีเขาเล็ก ๆ โค้งไปข้างหน้าเล็กน้อย ยาวประมาณ 21-25 เซนติเมตร มีขนแข็งยาวขึ้นจากส่วนหัวไล่ไปถึงกลางหลังทั้งสองเพศ ขณะที่ตัวเมียมีสีออกน้ำตาลแดง

นิลกาย เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในราบตอนเหนือของอินเดียและทางภาคตะวันออกของปากีสถาน ชอบอยู่ตามที่ราบและเนินเขาที่มีไม้พุ่มเตี้ยมากกว่าอยู่ในป่าทึบ

นิลกายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 18 เดือน ซึ่งหลังผสมพันธุ์แล้ว มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกคราวละ 2 ตัวหรือมากได้ถึง 3 ตัว น้ำหนักตัวเมื่อเกิดใหม่ราว 13-16 กิโลกรัม มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 21 ปี

นิลกายเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางวัน และพักผ่อนในเวลากลางคืนเหมือนสัตว์ในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ แต่กินอาหารหลากหลายกว่า เพราะกินทั้งต้นไม้, ใบหญ้า, ใบไม้ และผลไม้ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษ คือ สามารถอดน้ำได้หลายวันโดยไม่มีน้ำดื่ม แต่มักจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โดยส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นกลุ่มประมาณ 15 ตัว บางกลุ่มอาจมีถึง 20 ตัว ยกเว้นตัวที่อายุมากแล้วมักจะปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง และจะรวมตัวกันอีกทีก็ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอาจจะมีจำนวนถึง 30-100 ตัว

ปัจจุบัน นิลกายพบจำนวนมากในที่ สวนลุมพินีวัน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า และเชื่อว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ด้วย เป็นสัตว์ที่เชื่อว่าหากใครได้พบเห็น จะพบกับความเป็นสิริมงคล แต่นิลกายก็ถือเป็นสัตว์ที่รบกวนกินพืชผลของเกษตรกรเสียหายได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก ทางการอินเดียจึงอนุญาตให้ล่าสัตว์ชนิดนี้ได้อย่างถูกกฎหมาย ขณะที่อีกไม่น้อยถูกรถชน นอกจากนี้ยังต้องขาดแคลนที่อยู่ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และมีศัตรูตามธรรมชาติอีกอย่างคือเสือและสิงโต ทำให้ปัจจุบันเหลือปริมาณ นิลกายอยู่ไม่มากแล้ว ในอินเดียมีประมาณ 100,000 ตัวเท่านั้น ส่วนที่รัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกาถูกนำไปเลี้ยงในสวนสัตว์บ้าง ในธรรมชาติบ้าง ช่วงทศวรรษ 1920 เหลือปริมาณนิลกายประมาณ 1,500 ตัว[3]

สำหรับในประเทศไทย นิลกายมีอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งได้ตกลูกในไทยมาแล้วถึง 4 ตัว นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับซาวลา (Pseudoryx nghetinhensis) ที่พบในป่าทึบของเวียดนามอีกด้วย[4] [5] [6]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Boselaphus tragocamelus ที่วิกิสปีชีส์