ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
สมาชิกของกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
รายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ที่ว่าการศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
วาระ4 ปีและติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ
ตราสารจัดตั้งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518
ตำแหน่งก่อนหน้าผู้ว่าราชการนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
ผู้ประเดิมตำแหน่งชำนาญ ยุวบูรณ์
สถาปนา1 มกราคม พ.ศ. 2516 (51 ปี)
เงินตอบแทน113,560 บาท[1]
เว็บไซต์www.bangkok.go.th

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งนี้จัดตั้งขึ้นจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 (สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร) และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ผู้ดำรงตำแหน่งมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี (หรือบางช่วงมาจากคำสั่งของคณะรัฐประหาร)

ผู้ดำรงตำแหน่งคนที่ 17 และคนปัจจุบัน คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[2]

อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[3] ในมาตรา 49 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. กำหนดนโยบาย บริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
  2. สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
  3. แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการ เพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ
  4. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
  5. วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานคร เป็นไปโดยเรียบร้อย
  6. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
  7. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (เช่น การเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 50 การเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 98 เป็นต้น)
    และตามที่กฎหมายอื่นกำหนดไว้ (เช่น อำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี ตามมาตรา 50 เป็นต้น)

รายชื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา กำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2556, เล่ม 130 ตอนที่ 70 ก หน้า 4, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556.
  2. "กทม.ติดประกาศนโยบาย "ชัชชาติ" 214 ข้อ สั่งห้ามถ่ายรูปหน้าห้อง ผู้ว่าฯ". www.thairath.co.th. 2022-05-31.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528, เล่ม 102 ตอนที่ 115 ก ฉบับพิเศษ หน้า 1, 31 สิงหาคม พ.ศ. 2528.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]