ไฮบริดทีโอรี

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไฮบริดทีโอรี
ภาพวาดลายฉลุของทหารที่กำลังถือธง
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด24 ตุลาคม พ.ศ. 2543
บันทึกเสียงมีนาคม – กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ที่สตูดิโอเอ็นอาร์จีเรเคิดดิงส์ ในนอร์ทฮอลลีวูด แคลิฟอร์เนีย
แนวเพลงนูเมทัล, แร็ปเมทัล, อัลเทอร์เนทีฟเมทัล
ความยาว37:45
ค่ายเพลงวอร์เนอร์บราเธอร์ส
โปรดิวเซอร์ดอน กิลมอร์
เจฟฟ์ บลู (อำนวยการผลิต)
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี
ลำดับอัลบั้มของ ลิงคินพาร์ก
ไฮบริดทีโอรี
(2543)
เมทีโอรา
(2546)เมทีโอรา2546
ซิงเกิลจากไฮบริดทีโอรี
  1. "วันสเต็ปโคลสเซอร์"
    จำหน่าย: 28 กันยายน พ.ศ. 2543
  2. "ครอว์ลิง"
    จำหน่าย: 1 มีนาคม พ.ศ. 2544
  3. "เปเปอร์คัต"
    จำหน่าย: 25 กันยายน พ.ศ. 2544
  4. "อินดิเอ็นด์"
    จำหน่าย: 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544

ไฮบริดทีโอรี (อังกฤษ: Hybrid Theory) เป็นอัลบั้มเปิดตัว ของวงดนตรีร็อกชาวอเมริกัน ลิงคินพาร์ก อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์ เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จในเชิงการค้า ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ สำหรับยอดจำหน่ายกว่า 10 ล้านชุดเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2553 เข้าสู่อันดับสองในบิลบอร์ด 200 และอยู่ในอันดับต้น ๆ ในชาร์ตอื่น ๆ ทั่วโลก โดยสามารถทะยานเข้าสู่ ท็อป 20 ของบิลบอร์ด ได้ในสัปดาห์แรก[9]

อัลบั้มนี้ได้บันทึกที่สตูดิโอเอ็นอาร์จีเรเคิดดิงส์ ในนอร์ทฮอลลีวูด รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมี ดอน กิลมอร์ เป็นโปรดิวเซอร์ เนื้อหาของเพลงในอัลบั้มส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาและประสบการณ์ในช่วงวัยรุ่นของนักร้องนำของวง เชสเตอร์ เบนนิงตัน ชื่ออัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี เป็นชื่อที่หยิบยกจากชื่อเดิมของวง เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนชื่อวงเป็น ลิงคินพาร์ค ซึ่งชื่ออัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี หมายความว่า 'ทฤษฎีลูกผสม' แสดงถึงแนวคิดในการผสมผสานแนวเพลง การนำแนวเพลงหลาย ๆ แนวเพลงมารวมเข้าด้วยกัน ได้แก่ อัลเทอร์เนทีฟเมทัล นูเมทัล ป็อป ฮิปฮอป อัลเทอร์เนทีฟ และเพิ่มโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่งเสียง ช่วยเพิ่มรูปแบบเสียงที่มีความแปลกใหม่ ทำให้เป็นแนวเพลงที่ไม่ซ้ำแบบใคร

เพลงที่ปล่อยออกมาเป็นซิงเกิล ในอัลบั้มนี้ มีทั้งหมด 4 เพลง ได้แก่ "วันสเต็ปโคลสเซอร์", "ครอว์ลิง", "เปเปอร์คัต" และ "อินดิเอ็นด์"[1] ทั้งหมดนั้นเป็นเพลงเปิดตัวของลิงคินพาร์กที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะเพลง "อินดิเอ็นด์" เป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในสี่เพลงนี้ นอกจากเพลงที่เป็นซิงเกิลอย่างเพลงอื่น ๆ ในอัลบั้มก็ได้รับความสำเร็จเช่นเดียวกัน เช่น "รันอะเวย์" "พอยส์ออฟออทอริตี" รวมถึงเพลงที่อยู่ในโบนัสแทร็กและไม่ได้ออกเป็นซิงเกิลอย่างเพลง "มายดีเซมเบอร์" ด้วย เพลงในอัลบั้มยังเป็นเพลงเด่นในสถานีวิทยุเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อกอีกด้วย ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 44 ไฮบริดทีโอรี ได้เสนอชื่อเข้าชิงในสาขาอัลบั้มเพลงร็อกยอดเยี่ยม อัลบั้มนี้ติดอันดับที่ 11 ใน 200 อัลบั้มฮอตแห่งทศวรรษ ของบิลบอร์ด ฉบับพิเศษของอัลบั้มนี้ออกจำหน่ายในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2545 ไฮบริดทีโอรีจำหน่ายได้ 27 ล้านชุดทั่วโลก ภายในหนึ่งปีครึ่งหลังจากออกจำหน่ายครั้งแรก[10] ซึ่งทำให้เป็นอัลบั้มเปิดตัวที่มียอดจำหน่ายสูงสุดแห่งศตวรรษที่ 21[11] ลิงคินพาร์กได้ทำการแสดงสดโดยเล่นเพลงทั้งหมดในอัลบั้มนี้ครบเป็นครั้งแรกที่งานดาวน์โหลดเฟสติวัล ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557[12]

ประวัติ[แก้]

วิสกีอะโกโก คลับในลอสแอนเจลิส

ลิงคินพาร์กก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เป็นวงดนตรีแนวแร็ปร็อกในชื่อ ซีโร สมากชิกในวงขณะก่อตั้งวง ได้แก่ กีตาร์นำ แบรด เดลสัน, นักร้องนำและจังหวะกีตาร์ ไมค์ ชิโนะดะ, มือกลอง รอบ บัวร์ดอน, นักเทิร์นเทเบิล โจ ฮาห์น, นักร้องนำ มาร์ก เวกฟิลด์ และกีตาร์เบส เดฟ ฟาร์เรล หลังจากที่มาร์กได้ออกจากวงในปี พ.ศ. 2542 นักร้องนำคนใหม่ เชสเตอร์ เบนนิงตัน ได้เข้าร่วมมาเป็นสมาชิกวงซีโร โดยเรื่องเริ่มต้นที่วงดนตรีเก่าที่เชสเตอร์ได้เคยทำหน้าที่เป็นนักร้องนำนั้นได้ประกาศยุบวง ทนายของเขาจึงได้แนะนำให้เขาไปหา เจฟฟ์ บลู รองประธานผู้ประสานงานฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปินแห่งซอมบามิวสิกกรุ๊ป ซึ่งในขณะนั้นเจฟฟ์กำลังมองหาสมาชิกใหม่เพิ่มในตำแหน่งนักร้องนำให้กับวงซีโร จึงให้เทปตัวอย่างของซีโรให้กับเชสเตอร์ ในเทปประกอบไปด้วยเพลงที่มีเสียงร้องของอดีตนักร้องนำของซีโร และเพลงที่มีแต่ดนตรีบรรเลง[13] แล้วเขาจึงได้แต่งคำร้องและบันทึกเสียงร้องใหม่บนเสียงดนตรีเดิมที่มีอยู่ลงเทปตัวอย่างและส่งกลับไปให้เจฟฟ์[14][15] หลังจากที่เชสเตอร์ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกในวง ซีโรก็ได้เปลี่ยนชื่อวงเป็น ไฮบริดทีโอรี และออกจำหน่ายอีพีที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อวง ไฮบริดทีโอรี แต่ไปซ้ำกับชื่อวงดนตรีของกลุ่มศิลปินดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ชาวเวลส์ ทำให้ต้องตัดสินใจเปลี่ยนชื่อวงมาเป็น "ลิงคินพาร์ก"[13][16] หลังจากนั้นตลอดปี พ.ศ. 2542 ลิงคินพาร์กได้ทำการแสดงที่วิสกีอะโกโก คลับในลอสแอนเจลิสเป็นประจำ[17]

การประพันธ์และการบันทึกเสียง[แก้]

ก่อนที่จะกลายเป็นอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี นั้น ลิงคินพาร์กได้ผลิตเทปตัวอย่าง 9 แทร็ก ในปี พ.ศ. 2542 แล้วได้นำเทปนี้ไปเสนอให้กับบริษัทบันทึกเสียงหรือค่ายเพลงไปจำนวนหลายแห่ง โดยได้บันทึกเพลงเดิมที่แตกต่างกันถึง 42 ครั้ง รวมถึงการแสดงให้กับนักประชาสัมพันธ์เพลงแห่งลอสแอนเจลิส และผู้จัดการแสดง ไมค์ กาแลกซี ที่เดอะกิกออนเมลโรส[14][18] อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้กลับมาเริ่มต้นกับค่ายเพลงขนาดใหญ่ และค่ายเพลงอิสระหลายแห่ง[13] ต่อมาลิงคินพาร์กได้เซ็นสัญญากับ วอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์ ในปี พ.ศ. 2542 เนื่องมาจากส่วนสำคัญในการผลักดันและในการให้คำแนะนำของ เจฟฟ์ บลู ซึ่งเขาได้ย้ายตามมาทำงานร่วมกับค่ายเพลงนี้ด้วย หลังจากลาออกจากซอมบามิวสิกพับลิชชิง[13][14][15]

แม้แรกเริ่มจะมีปัญหาในการค้นหาโปรดิวเซอร์ที่จะมารับผิดชอบงานให้กับอัลบั้มเปิดตัวของวงดนตรีใหม่ในค่ายเพลง แต่ในที่สุดก็ได้ ดอน กิลมอร์ ซึ่งตกลงที่จะมาร่วมเริ่มผลิตผลงานเพลงกับลิงคินพาร์ก[14] ด้วยกันกับ แอนดี วอลเลซ ที่ทำหน้าที่เป็นมิกเซอร์ ในช่วงการบันทึกเสียงนั้น เริ่มต้นขึ้นที่สตูดิโอเอ็นอาร์จีเรเคิดดิงส์ ในนอร์ทฮอลลีวูด ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 และใช้เวลาต่ออีก 4 สัปดาห์[14] ส่วนใหญ่จะนำเพลงจากเทปตัวอย่างมาบันทึกเสียงใหม่ โดยจะมีในส่วนท่อนแร็ปของไมค์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในขณะที่คำร้องท่อนคอรัสของเชสเตอร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง[19] จากการขาดหายไปของเดฟ ฟาร์เรล และไคล์ คริสเทเนอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงในการทำผลงานอีพีเมื่อปี พ.ศ. 2542 ลิงคินพาร์กจึงได้คว้าตัว สกอตต์ โคซิโอล และเอียน ฮอร์นเบ็ก มาเป็นมือกีตาร์เบส และแบรด เดลสัน ก็ได้ทำหน้าที่บันทึกเสียงกีตาร์เบสให้กับอัลบั้มนี้เกือบจะทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมี เดอะดัสต์บราเธอร์ส มาทำหน้าที่ให้จังหวะบีทให้กับเพลง "วิทยู" อีกด้วย

เชสเตอร์และไมค์เป็นผู้ประพันธ์คำร้องในอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี และได้มาจากส่วนหนึ่งของเพลงในเทปตัวอย่างในสมัยที่มี มาร์ก เวกฟิลด์ เป็นนักร้องนำ[13] ไมค์ได้แสดงลักษณะของเนื้อเพลงว่าเป็นการอธิบายความรู้สึกอันหลากหลาย รวมทั้งอารมณ์ และประสบการณ์ และเป็น “อารมณ์ในทุก ๆ วันที่คุณได้กล่าวถึงและได้นึกคิด”[20][21] ต่อมา เชสเตอร์ได้อธิบายเกี่ยวกับประสบการณ์การประพันธ์เพลงให้กับนิตยสาร โรลลิงสโตน เมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 เชสเตอร์ได้กล่าวว่า

มันง่ายที่จะหลงเชื่อสิ่งเหล่านั้น 'น่าสงสารตัวเอง' ความหมายจากเพลง 'ครอว์ลิง' มาจากความรู้สึกที่ว่า ผมไม่สามารถควบคุมตัวเอง แต่เพลงนี้มีความหมายเกี่ยวกับความรับผิดชอบกับการกระทำของคุณ ผมได้ไม่พูดคำว่า 'คุณ' ตรงไหนเลย มันนั่นเป็นเหตุผลที่ว่าผมรู้สึกอย่างไร ที่มีบางสิ่งบางอย่างจากข้างในตัวผมฉุดกระฉากตัวผมลงไป

— เชสเตอร์ เบนนิงตัน  นิตยสารโรลลิงสโตน, 2545[13]

องค์ประกอบทางดนตรีและซิงเกิล[แก้]

ดนตรีของอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี นำมาจากแรงบันดาลใจที่หลากหลาย สไตล์การร้องเพลงของเชสเตอร์ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปินต่าง ๆ เช่น ดีเพชเชโมด และ สโตนเทมเพิลไพล็อตส์[13] ลักษณะและเทคนิคการเล่นของมือกีตาร์ แบรด เดลสัน นำแบบอย่างมาจาก เดฟโทนส์, กันส์แอนด์โรสเซส,[14] ยูทู และ เดอะสมิธส์[13] ส่วนการ้องแร็ปของไมค์ ชิโนะดะ ตัวอย่างเช่นแทร็กที่เจ็ดในอัลบั้ม "บายมายเซลฟ์" มีลักษณะคล้ายกับ เดอะรูตส์ เป็นอย่างมาก เนื้อหาของเพลงในอัลบั้มมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เชสเตอร์ได้ประสบพบเจอในวัยเด็กของเขา รวมไปถึงการทารุณกรรมเด็ก ปัญหาการเสพสารเสพติดและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง[13] การหย่าร้างของพ่อแม่ของเขา การแตกแยกออกจากสังคม[22] ความผิดหวัง และผลสุดท้ายของความรู้สึก ในเรื่องความสัมพันธ์ที่เคยได้ไว้วางใจกัน แต่กลับล้มเหลวในภายหลัง[23]

อัลบั้มนี้ได้ผลิตซิงเกิลออกมาทั้งหมด 4 เพลง ได้แก่ "วันสเต็ปโคลสเซอร์" เป็นเพลงลำดับที่สองในอัลบั้ม และเป็นซิงเกิลแรก เป็นเพลงที่มีการริฟกีตาร์ และมีเสียงกลองหรือเพอร์คัชชันอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงอินโทร และช่วงเข้าสู่ท่อนบริดจ์ ด้วยเสียงกีตาร์ที่หนักแน่นและเสียงกลองที่ดุดัน[24] เพลงนี้ยังมีส่วนที่น่าสนใจในช่วงที่ร้องว่า "Shut up when I'm talkin' to you!" ซึ่งเป็นท่อนตะโกนร้องของเชสเตอร์ ด้วยความยาว 1 นาที 48 วินาที[24] มิวสิกวิดีโอของเพลง "วันสเต็ปโคลสเซอร์" ถ่ายทำที่ทางรถไฟใต้ดิน ที่ลอสแอนเจลิส[25] โดยได้เป็นเพลงที่เป็นที่รู้จักโดยทันที และได้ออกอากาศในเอ็มทีวี และเครือข่ายช่องโทรทัศน์เพลงอื่น ๆ[14] และมีตัวแทนมือเบส สกอตต์ โคซิโอล ได้มาแสดงดนตรีให้เห็นในมิวสิกวิดีโอ[25]

ซิงเกิลที่ 2 คือ "ครอว์ลิง" เป็นเพลงที่มีความหมายมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ส่วนตัวของเชสเตอร์ ในส่วนของการทารุณกรรมเด็ก ในด้านความรุนแรงทางร่างกาย ความยากลำบากในการออกจากวังวนของปัญหา และการสูญเสียที่ตามมาของการเชื่อถือตนเอง การสะท้อนแนวคิดนี้ได้แสดงออกมาทางมิวสิกวิดีโอของเพลงนี้ โดยหญิงสาวคนหนึ่ง (แสดงโดย เคตลิน โรซาเซน) ถูกทำร้ายโดยพ่อของเธอ โดยเห็นได้ในช่วงเริ่มวิดีโอ ซึ่งมีรอยฟกช้ำที่มองเห็นได้ชัด[26]

เพลง "เปเปอร์คัต" เป็นซิงเกิลที่ 3 ของอัลบั้มนี้ มีเนื้อเพลงที่อธิบายถึงความหวาดระแวง มิวสิกวิดีโอของเพลง "เปเปอร์คัต" แสดงให้เห็นลิงคินพาร์กเล่นดนตรีในห้องโถงที่อยู่ตรงข้ามกับห้องมืดสนิท โดยมีผนังกั้นระหว่างกลาง ซึ่งเป็นการอธิบายความหมายของเพลงนี้ ความเป็นเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นในมิวสิกวิดีโอ และมีเอฟเฟ็กพิเศษที่ใช้ในการสร้างให้น่าขนลุก เช่น "นิ้วยืดได้" ของไมค์ ชิโนะดะ และ "หน้าบูดเบี้ยว" ของร็อบ บัวร์ดอน[27]

ซิงเกิลที่ 4 จากอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี คือเพลง "อินดิเอ็นด์" ซึ่งเป็นที่เด่นชัดคือมีเสียงเปียโนที่เล่นโดยไมค์ และท่อนแร็ปของเขาที่อยู่ในท่อนแรกของเพลง และมีเสียงร้องเชสเตอร์มาร่วมด้วยในท่อนคอรัส แนวคิดของเพลงมาจากความล้มเหลวของคนคนหนึ่ง และเครื่องหมายของความสัมพันธ์ที่สิ้นสุดลง มิวสิกวิดีโอของเพลง "อินดิเอ็นด์" ได้ถ่ายทำในที่ต่าง ๆ พร้อมกับทัวร์ออซซ์เฟสต์ปี พ.ศ. 2554 และกำกับโดย นาธาน "คาร์มา" ค็อกซ์ และโจ ฮาห์น ดีเจของลิงคินพาร์ก คนที่กำกับมิวสิกวิดีโอหลาย ๆ วิดีโอให้ลิงคินพาร์ก (สองคนนี้ได้กำกับมิวสิกวิดีโอของเพลง "เปเปอร์คัต")[28][29] เบื้องหลังของวิดีโอเพลง "อินดิเอ็นด์" ได้ถ่ายทำที่ทะเลทรายในแคลิฟอร์เนีย และถ่ายทำการแสดงดนตรีของวงที่สตูดิโอในลอสแอนเจลิส ด้วยเอฟเฟ็กส์อันโดดเด่นจากภาพที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้น มิวสิกวิดีโอได้ชนะในงานประกาศผลรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ ประจำปี พ.ศ. 2545 สาขาวิดีโอเพลงร็อกยอดเยี่ยม[30]

เพลง "พอยส์ออฟออทอริตี" เป็นเพลงลำดับที่ 4 ในอัลบั้ม มีมิวสิกวิดีโอรวมอยู่ในผลงานดีวีดีชุดแรกของวง แฟรตปาร์ตีแอตเดอะแพนเค้กเฟสติวัล ร็อบ บัวร์ดอน มือกลองของวง อธิบายถึงกระบวนการบันทึกของเพลงนี้ว่า "แบรดแต่งริฟ แล้วก็ให้ไมค์นำมาตัดต่อลงในคอมพิวเตอร์ ทำให้แบรดต้องเรียนรู้ในส่วนของเขาจากคอมพิวเตอร์" ในเรื่องของเพลง แบรดได้ยกย่องทักษะของไมค์ และบอกว่าเขาเป็น "อัจฉริยะ" และ "มีความสามารถเหมือนเทรนต์ เรซเนอร์"[13] ในการแสดงสดของเพลงนี้ เมื่อไมค์แร็ปเนื้อเพลงที่ว่า "Forfeit the game" เป็นครั้งที่ 3 ของเพลง เชสเตอร์จะแร็ปท่อนนี้ไปพร้อมกับไมค์ด้วย

งานศิลปะ[แก้]

ด้วยอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี ที่เป็นอัลบั้มแรกของลิงคินพาร์ก ไมค์ ชิโนะดะ ที่เคยทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ ก่อนที่จะมาเป็นนักดนตรีอาชีพ เขากล่าวว่าวงได้ดูหนังสือหลายเล่มเพื่อหาวิธีการนำเสนอผลงานที่เป็นครั้งแรกของวง และแนวคิดที่ได้คือ รูปทหารมีปีก ตามที่ไมค์ได้เข้าใจ ส่วนของเชสเตอร์ เบนนิงตัน มีแนวคิดคือ รูปทหารที่มีปีกของแมลงปอ ซึ่งอธิบายถึงการผสมผสานองค์ประกอบทางดนตรีทั้งหนักและเบา โดยใช้รูปทหารแทนความหนักลำบาก และความอ่อนบางแทนปีกของแมลงปอ[31] หน้าปกอัลบั้มยังมีเนื้อเพลงเลือน ๆ ของเพลงในอัลบั้มเป็นพื้นหลังด้วย โดยเนื้อเพลงของเพลง "วันสเต็ปโคลสเซอร์" เป็นที่มองเห็นเด่นชัดที่สุด และยังมีรูปทหารที่แตกต่างจากนี้อีก โดยสามารถเห็นในรูปหน้าปกซิงเกิลต่าง ๆ ของอัลบั้มนี้ รวมทั้งภาพปกอัลบั้มของ รีแอนิเมชัน ซึ่งเป็นอัลบั้มรีมิกซ์ของ ไฮบริดทีโอรี แต่จะแสดงเป็นรูปทหารในรูปแบบหุ่นยนต์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับโมบิลสูทกันดั้ม หุ่นยนต์ต่อสู้ในอะมิเมะซีรีส์ กันดั้มวิง ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยความนิยมสูงในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะอัลบั้มออกจำหน่าย

การออกจำหน่าย[แก้]

อัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี ออกจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ตามด้วยการออกอากาศเพลง "วันสเต็ปโคลสเซอร์" ทางวิทยุ[1] ในสัปดาห์แรก ไฮบริดทีโอรี จำหน่ายได้ 50,000 ชุด[32] เข้าสู่ชาร์ตบิลบอร์ด 200 ของสหรัฐอเมริกาในอันดับที่ 16 ในปลายปี พ.ศ. 2543[33] และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำโดยอาร์ไอเอเอ หลังจากที่ออกจำหน่ายได้ 5 สัปดาห์[14] ในปี พ.ศ. 2544 ไฮบริดทีโอรี จำหน่ายได้ 4.8 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา ทำให้เป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงสุดแห่งปี[34][35] และในต้นปี พ.ศ. 2545 ได้มีการประมาณไว้ว่าอัลบั้มจะมียอดจำหน่ายปีละ 100,000 ชุด[13] ปีต่อ ๆ มา อัลบั้มนี้ยังคงมียอดจำหน่ายที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับรางวัลแผ่นเสียงเพชรโดยอาร์ไอเอเอในปี พ.ศ. 2548 สำหรับการจัดส่งจำหน่าย 10 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา[36] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 อัลบั้มนี้มียอดจำหน่ายถึง 10,222,000 ชุดในสหรัฐอเมริกา[37]

ซิงเกิลทั้งสี่จากอัลบั้มนี้ได้ออกจำหน่ายตลอดปี พ.ศ. 2544 (รวมทั้ง "พอยส์ออฟออทอริตี" ที่ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลโปรโมต) และมีสามซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จในชาร์ตโมเดิร์นร็อกแทร็กของบิลบอร์ด ในสหรัฐอเมริกา[38] โดยเพลง "อินดิเอ็นด์" เป็นซิงเกิลในอัลบั้มที่ติดชาร์ตในอันดับที่สูงที่สุด คืออันดับ 1 ในชาร์ตโมเดิร์นร็อกแทร็ก และปรากฏบนชาร์ตประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ความสำเร็จของซิงเกิล "อินดิเอ็นด์" เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการติดชาร์ตของอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี โดยติดอันดับที่ 2 ในชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในต้นปี พ.ศ. 2545 ตามหลังอัลบั้ม เวทเทอด์ ของวงครีด และอัลบั้ม เจทูดาแอล–โอ!: เดอะรีมิกซ์ ของเจนนิเฟอร์ โลเปซ อัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี เป็นอัลบั้มการแสดงดนตรียอดเยี่ยมอันดับที่ 11 ในบิลบอร์ด 200 ในช่วงทศวรรษนั้น และอัลบั้มนี้ได้เข้าสู่สิบอันดับแรกในชาร์ตในสัปดาห์ที่ 38 นาน 34 สัปดาห์ และอยู่บนชาร์ตเป็นเวลา 105 สัปดาห์ (ประมาณ 2 ปี) และกลับมาขึ้นชาร์ตอีกครั้งในอันดับที่ 167 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[39] อัลบั้มนี้ยังได้ติดชาร์ตในอีก 11 ประเทศในอันดับที่สูงพอสมควร และติดสิบอันดับแรกในชาร์ตของสหราชอาณาจักร, สวีเดน, นิวซีแลนด์, ออสเตรีย, ฟินแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์[40] ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 44 ในปี พ.ศ. 2545 ลิงคินพาร์กได้ชนะในสาขาการแสดงเพลงฮาร์ดร็อกยอดเยี่ยมสำหรับเพลง "ครอว์ลิง" และได้เข้าชิงเพิ่มเติมในสาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และสาขาอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม โดยแพ้ให้กับอลิเชีย คียส์ และอัลบั้ม ออลแดตยูแคนต์ลีฟบีไฮด์ ของวงยูทู[41]

หลังจากความสำเร็จของอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี ลิงคินพาร์กได้รับเชิญให้ไปแสดงตามคอนเสิร์ตทัวร์ต่าง ๆ ได้แก่ ออซเฟสต์, แฟมิลีแวลูส์ทัวร์, ออลโมสต์อะคูสติกคริสต์มาส ของเคอาร์โอคิว-เอฟเอ็ม, และทัวร์ที่วงก่อตั้งขึ้นเอง พรอเจกต์เรโวลูชัน ซึ่งมีศิลปินแสดงหลัก คือ ลิงคินพาร์ก และวงดนตรีอื่น เช่น ไซเพรสฮิลล์ และอะดีมา[13][15] ในเวลานั้น ลิงคินพาร์กได้ชักชวนให้ฟีนิกซ์ มือกีตาร์เบสของวงกลับเข้าร่วมงานด้วยกัน[13] ลิงคินพาร์กได้จัดเก็บข่าวสารของวงออนไลน์ในเว็บไซต์ของวงตลอดช่วงการเดินทางออกทัวร์ปี พ.ศ. 2544 และ 2545 ที่สมาชิกวงแต่ละคนต่างก็ได้ทำบันทึกไว้ ถึงแม้ว่าบันทึกนี้จะไม่มีในเว็บไซต์ของวงแล้ว แต่ก็ยังสามารถหาได้ในเว็บไซต์ของแฟนคลับ[42] โดยลิงคินพาร์กได้ออกแสดงคอนเสิร์ตทั้งหมด 324 ครั้งในปี พ.ศ. 2544[13]

ฉบับพิเศษ[แก้]

ฉบับพิเศษของอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี ที่ประกอบด้วยซีดีจำนวนสองแผ่น ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2545 ในเอเชีย[43] แผ่นแรกประกอบด้วยอัลบั้มฉบับมาตรฐาน และแผ่นที่สองประกอบด้วยการแสดงสดของเพลง "เปเปอร์คัต", "พอยส์ออฟออทอริตี" และ "อะเพลซฟอร์มายเฮด" บันทึกที่ด็อกแลนส์อาเรนา สำหรับบีบีซีเรดิโอ 1 และยังมีเพลงสตูดิโอ 2 เพลง ได้แก่ "มายดีเซมเบอร์" เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาหลังจากออกอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี เพื่อรวมอยู่ในซีดี "สลิมซานตา" ของเคอาร์โอคิว และอีกเพลงคือ "ไฮโวลเทจ" เพลงที่ทำขึ้นใหม่จากเพลงเดิมที่รวมอยู่ในอีพี ไฮบริดทีโอรี

ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ลิงคินพาร์กได้ออกจำหน่ายซีดีบันทึกการแสดงสดจากการแสดงที่งานดาวน์โหลดเฟสติวัลปี 2557 ชื่ออัลบั้มว่า "ไฮบริดทีโอรี: ไลฟ์แอตดาวน์โหลดเฟสติวัล 2014" ซึ่งลิงคินพาร์กเล่นเพลงครบทุกเพลงในอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี

การตอบรับ[แก้]

อัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี ได้รับการวิจารณ์โดยนักวิจารณ์เพลงในด้านบวกเป็นส่วนมาก สเตฟานี ดิกคิสัน จากป็อปแมทเทอส์ ได้ให้ความเห็นว่าลิงคินพาร์กเป็น "กลุ่มดนตรีที่มีความสามารถเหนือกว่าวงดนตรีฮาร์ดร็อกสมัยนี้มาก" และบอกอีกว่า "เพลงของลิงคินพาร์กจะต้องเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจด้วยเสียงดนตรีอันท้าทายที่เป็นตัวของพวกเขา" นิตยสาร คิว ให้ดาวแก่อัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี 4 จาก 5 ดาว[5] โรเบิร์ต คริสต์เกา จาก เดอะวิลเลจวอยซ์ เขียนบทวิจารณ์ว่า "ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในสิ่งที่หนุ่มขี้โมโหรู้สึก" และให้ดาวแก่อัลบั้มนี้ "อันดับความนิยมในระดับชมเชย 2 ดาว" และกล่าวถึงเพลง "เปเปอร์คัต" และ "พอยส์ออฟออทอริตี" ว่าเป็นจุดเด่นของอัลบั้มอีกด้วย[44] เจนนี เอลลิชู จาก โรลลิงสโตน ให้ดาวแก่อัลบั้มนี้ 2 ดวงครึ่ง และให้ความเห็นว่าอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี เป็น "อัลบั้มที่มีศักยภาพมากเท่าเทียมกับอัลบั้มของลิมป์บิซกิต หรือคอร์น" และเรียกมันว่าเป็นอัลบั้มที่ "สะท้อนให้เห็นถึงความผิดหวังของชีวิต"[6]

วิลเลียม รูห์ลมันน์ นักวิจารณ์จาก ออลมิวสิก กล่าวว่า "ลิงคินพาร์กเป็นวงดนตรีที่เพิ่งจะเริ่มทำผลงานดนตรี แต่พวกเขาประสบความสำเร็จด้วยแนวดนตรีอันแรงกล้าในตัวของพวกเขา" และเรียกเพลง "วันสเต็ปโคลสเซอร์" ว่าเป็น "สัญลักษณ์แห่งการทุ่มเท" โดยอ้างถึงเนื้อเพลงในท่อนคอรัสของเพลง[1] โยฮัน วิปส์สัน จาก เมโลดิก ได้ยกย่องการผลิตของดอน กิลมอร์ และให้คำอธิบายไว้ว่า "เป็นอัลบั้มที่เอาความรู้สึกจากการทำร้ายและความโกรธที่ได้เจอมาทำเป็นท่วงทำนอง"[3] โนล การ์ดเนอร์ จาก เอ็นเอ็มอี ให้คะแนนแก่อัลบั้มนี้ 6 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน[45] ไทเลอร์ ฟิชเชอร์ จาก สปุตนิกมิวสิก ให้คะแนนแก่อัลบั้มนี้ 3.0 คะแนนจากเต็ม 5 คะแนน และบอกว่า "ไฮบริดทีโอรีเป็นอัลบั้มที่ออกมาในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศตวรรษพอดี" แต่กล่าวถึงการริฟกีตาร์ว่า "ยังขาดรสชาติและยังไม่แปลกใหม่"[7] ไมค์ รอสส์ จาก แจม! เปิดเผยว่าอัลบั้มนี้เป็นการผสมผสานของความยอดเยี่ยมของฮิปฮอปกับเฮฟวีเมทัล และกล่าวว่า "...พวกเขาแร็ปได้จริง พวกเขาโยกหัวเหวี่ยงความป่าเถื่อนออกมาได้จริง แต่งเนื้อเพลงด้วยความเฉลียวฉลาด และเป็นหนึ่งในวงดนตรีแร็ปเมทัลหน้าใหม่ที่ดีที่สุด ที่ผมเคยได้ยินมา"[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ลิงคินพาร์กได้ออกจำหน่ายอัลบั้มที่มีชื่อว่า รีแอนิเมชัน ประกอบด้วยเพลงรีมิกซ์จากเพลงในอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี และนำมาทำใหม่โดยศิลปินแนวนูเมทัล และอันเดอร์กราวด์ฮิปฮอป[46] ผู้มีส่วนร่วมในอัลบั้มนี้ ได้แก่ แบล็ก ทอต, แฟโรห์ มอนช์, โจนาธาน เดวิส, สตีเฟน คาร์เพนเตอร์, และ แอรอน ลูอิส อัลบั้มรีมิกซ์นี้มีความเกี่ยวข้องถึงการทดลองเสียงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีคลาสสิก เช่น เครื่องสาย และเปียโน พร้อมกับองค์ประกอบที่เหมือนกันของอิเล็กทรอนิกาจากอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี โดยเห็นได้ชัดในอัลบั้ม เมทีโอรา สตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ของวงที่มีองค์ประกอบดนตรีดังกล่าวเข้าไปร่วมด้วย[47] ขณะที่ไมค์อธิบายถึงความแตกต่างของเสียงดนตรีระหว่าง ไฮบริดทีโอรี และ เมทีโอรา ว่า "องค์ประกอบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีอยู่ในตัวของวงเองอยู่แล้ว แค่เราหยิบมันออกมาทำให้มันโดดเด่นขึ้นเท่านั้น"[48]

การได้รับเกียรติ[แก้]

อัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี กลายเป็นอัลบั้มที่มักจะต้องติดอยู่ในรายชื่อที่รวบรวมโดยสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และในสื่ออื่น ๆ โดยในปี พ.ศ. 2555 ร็อกซาวด์ ได้จัดให้อัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี เป็นอัลบั้มเพลงโมเดิร์นคลาสสิกยอดเยี่ยมของ 15 ปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2556 เลาด์ไวร์ ได้จัดให้อยู่ในอันดับที่ 10 ในรายชื่ออัลบั้มเปิดตัวแนวฮาร์ดร็อกยอดเยี่ยม[49] และการจัดอันดับที่สำคัญของอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี แสดงให้เห็นในตารางด้านล่าง[50]

สิ่งพิมพ์ ประเทศ รางวัล ปี อันดับ
เดอะวิลเลจวอยซ์ สหรัฐอเมริกา แพซซ์แอนด์จ็อป[51] 2001 159
คลาสสิกร็อก สหราชอาณาจักร 100 อัลบั้มเพลงร็อกที่ดีที่สุดตลอดกาล[52] 2005 72
หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล สหรัฐอเมริกา เดอะดีฟินิทีฟ 200[53] 2007 84
เอสลิ เจซินท์ สหรัฐอเมริกา 1001 อัลบั้มที่คุณต้องฟังก่อนตาย[54] 2006 *
เรเคิดคอลเลกเตอร์ สหราชอาณาจักร ยอดเยี่ยมแห่งปี 2001[55] 2001 *
ร็อกซาวด์ ฝรั่งเศส 150 อัลบั้มเพลงยอดเยี่ยมในยุคนี้[56] 2006 58
ร็อกซาวด์ สหรัฐอเมริกา 101 อัลบั้มเพลงโมเดิร์นคลาสสิกของ 15 ปีที่ผ่านมา[57] 2012 1
ร็อกฮาร์ด เยอรมนี 500 อัลบั้มเพลงร็อกและเมทัลที่ดีที่สุดตลอดกาล[58] 2005 421
เคอร์แรง! สหราชอาณาจักร 50 อัลบั้มเพลงร็อกยอดเยี่ยมในคริสต์ทศวรรษ 2000[59] 2014 8

* หมายถึง รายการที่ไม่ได้จัดอันดับ

รายชื่อเพลง[แก้]

ไฮบริดทีโอรี – ฉบับมาตรฐาน
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."Papercut"Linkin Park3:04
2."One Step Closer"Linkin Park2:35
3."With You"
  • Linkin Park
  • Michael Simpson
  • John King
3:23
4."Points of Authority"Linkin Park3:20
5."Crawling"Linkin Park3:29
6."Runaway"
  • Linkin Park
  • Mark Wakefield
3:03
7."By Myself"Linkin Park3:09
8."In the End"Linkin Park3:36
9."A Place for My Head"
  • Linkin Park
  • Mark Wakefield
  • Dave Farrell
3:04
10."Forgotten"
  • Linkin Park
  • Mark Wakefield
  • Dave Farrell
3:14
11."Cure for the Itch"Linkin Park2:37
12."Pushing Me Away"Linkin Park3:11
ความยาวทั้งหมด:37:45
โบนัสแทร็กในฉบับญี่ปุ่น
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
13."My December"Mike Shinoda4:20
14."High Voltage"Linkin Park3:45
15."One Step Closer" (video)Linkin Park2:55
โบนัสแทร็กในไอทูนส์
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
13."My December"Mike Shinoda4:22
14."High Voltage"Linkin Park3:47
15."Papercut" (บันทึกสดที่บีบีซี 1)Linkin Park3:09
โบนัสแทร็กในฉบับพิเศษร้านไอทูนส์ 2013
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
13."High Voltage" (Live)Linkin Park3:38
14."My December"Mike Shinoda4:19
15."Points of Authority" (Crystal Method Remix)Linkin Park4:56
16."Papercut" (Live at Milton Keynes)Linkin Park3:50
แผ่นโบนัสในฉบับพิเศษ
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."Papercut" (Live at Docklands Arena, London)Linkin Park3:13
2."Points of Authority" (Live at Docklands Arena, London)Linkin Park3:30
3."A Place for My Head" (Live at Docklands Arena, London)
  • Linkin Park
  • Mark Wakefield
  • Dave Farrell
3:11
4."My December"Mike Shinoda4:20
5."High Voltage"Linkin Park3:45
โบนัสไวนิลผลิตใหม่ปี 2013[60][61][62]
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."One Step Closer"Linkin Park2:39
2."My December"Mike Shinoda4:21
ไฮบริดทีโอรี – ไลฟ์แอตดาวน์โหลดเฟสติวัล 2014
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."Papercut"Linkin Park3:13
2."One Step Closer"Linkin Park3:13
3."With You"
  • Linkin Park
  • Michael Simpson
  • John King
3:34
4."Points of Authority"Linkin Park5:00
5."Crawling"Linkin Park3:29
6."Runaway"
  • Linkin Park
  • Mark Wakefield
3:16
7."By Myself"Linkin Park3:24
8."In the End"Linkin Park3:40
9."A Place for My Head"
  • Linkin Park
  • Mark Wakefield
  • Dave Farrell
3:44
10."Forgotten"
  • Linkin Park
  • Mark Wakefield
  • Dave Farrell
3:26
11."Cure for the Itch"Linkin Park2:50
12."Pushing Me Away"Linkin Park3:29
ไฮบริดทีโอรี – ไลฟ์อะราวด์เดอะเวิลด์
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."Papercut" (Live from Paris, 2010)3:08
2."One Step Closer" (Live from Frankfurt, 2008)4:13
3."Points of Authority" (Live from Sydney, 2007)4:07
4."Crawling" (Live from Athens, 2009)4:41
5."In the End" (Live from Melbourne, 2010)3:33
6."A Place for My Head" (Live from Koln, 2008)3:57
7."Cure for the Itch" (Live from Perth, 2007)1:43
8."Pushing Me Away" (Live from Dallas, 2007)3:41

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ชาร์ตและการรับรอง[แก้]

ซิงเกิล[แก้]

ปี เพลง อันดับสูงสุด
US
[38]
US Mod.
[38]
US Main.
[38]
UK
SWE
NZ
AUT
FRA
NLD
2000 "วันสเต็ปโคลสเซอร์" 75 5 4 24 46 38 57
2001 "ครอว์ลิง" 79 5 3 16 27 37 8 45
"เปเปอร์คัต" 32 14 43 39
"อินดิเอ็นด์" 2 1 3 8 3 10 6 40 5

  • "–" หมายถึง ซิงเกิลที่ไม่ติดชาร์ต หรือไม่ได้ออกจำหน่ายในประเทศนั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Ruhlmann, William. "Hybrid Theory – Linkin Park". AllMusic. สืบค้นเมื่อ September 17, 2018.
  2. 2.0 2.1 Ross, Mike. "Canoe – Jam! Music – Artists – Album Review: Hybrid Theory". Jam!. สืบค้นเมื่อ September 9, 2009.
  3. 3.0 3.1 Wippsson, Johan. "Hybrid Theory". Melodic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-09. สืบค้นเมื่อ May 7, 2014.
  4. Gardner, Noel (January 13, 2001). "Linkin Park: Hybrid Theory". NME: 35. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2016. สืบค้นเมื่อ September 9, 2009.
  5. 5.0 5.1 "Linkin Park: Hybrid Theory". Q (172): 111. January 2001.
  6. 6.0 6.1 Diehl, Matt (December 7, 2000). "Linkin park: Hybrid Theory: Music Review: Rolling Stone". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ September 9, 2009.
  7. 7.0 7.1 "Sputnikmusic review". Sputnikmusic. สืบค้นเมื่อ September 9, 2009.
  8. Cohen, Ian (2007-07-03). "Linkin Park – Hybrid Theory – The Diamond – Stylus Magazine". Stylus Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-04. สืบค้นเมื่อ September 9, 2009.
  9. "2000 charts". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 16 September 2007.
  10. "Linkin Park Announced As Saturday Headliner". Download News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 2013-11-05.
  11. Lewis, Randy (April 8, 2009). "Hybrid Theory'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 2, 2009.
  12. "Linkin Park To Perform Entire 'Hybrid Theory' Album At U.K.'S Download Festival". Blabbermouth.net. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
  13. 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 Fricke, David. “Rap Metal Rulers”, Rolling Stone No. 891, March 14, 2002
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 14.7 "Everybody loves a success story". The LP Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-07. สืบค้นเมื่อ 2007-08-08.
  15. 15.0 15.1 15.2 Sculley, Alan. "Linkin Park interview with Rhythm". Madison.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  16. Tyrangiel, Josh (2002-01-28). "Linkin Park biography describing origin of name". Time.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2007-08-14.
  17. "Linkin Park biography". VH1.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-05. สืบค้นเมื่อ 2007-08-14.
  18. "Complete Linkin Park discography". The LP Association. สืบค้นเมื่อ 2007-08-09.
  19. "Linkin Park demos". The LP Association. สืบค้นเมื่อ 2007-08-19.
  20. BBC Radio 1, Evening Session Interview with Steve Lamacq, June 13, 2001
  21. "BBC Session Interview". LP Times. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  22. "Chester Bennington biography". The LP Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-16. สืบค้นเมื่อ 2007-08-19.
  23. "Sharpened review". Sharpened.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-13. สืบค้นเมื่อ 2007-08-19.
  24. 24.0 24.1 "Sputnikmusic review". Sputnikmusic. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  25. 25.0 25.1 "One Step Closer video info". Forfeit the Game. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-14. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  26. "Crawling video info". Forfeit the Game. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  27. "Papercut video secrets". Forfeit the Game. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  28. "An interview with bassist Phoenix". Rough Edge. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  29. "In the End facts". Song Facts. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  30. "MTV Video Music Awards History". Rock on the Net. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  31. "Bennington talks about the hybrid theory soldier". สืบค้นเมื่อ 2009-08-12.
  32. "Linkin Park - Million Sellers! | News". Nme.Com. 2003-03-28. สืบค้นเมื่อ 2013-09-05.
  33. "2000 charts". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ September 16, 2007.
  34. Sanneh, Kelefa (2002-03-31). "MUSIC; New Ideas From the Top of the Charts". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-12-16.
  35. "Hybrid Theory tops best-sellers of 2001". MTV.com. สืบค้นเมื่อ September 16, 2007.
  36. "Gold and Platinum: Diamond Certified Albums". RIAA. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  37. Grein, Paul (June 23, 2014). "USA: Top 20 New Acts Since 2000". Yahoo! Music.
  38. 38.0 38.1 38.2 38.3 "Linkin Park single chart history". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2007-10-20.
  39. "Decade Charts". Billboard. สืบค้นเมื่อ January 1, 2010.
  40. "Linkin Park international charts". Rockdetector.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ September 16, 2007.
  41. "Linkin Park at Yahoo! Music". Yahoo! Music. สืบค้นเมื่อ September 16, 2007.
  42. "Linkin Park touring journal". Forfeit the Game. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  43. "Hybrid Theory (Special Edition)". Hyangmusic.com. 2001-02-26. สืบค้นเมื่อ 2011-08-28.
  44. "Robert Christgau: CG: Linkin Park". Robert Christgau. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  45. "One feels tempted to retreat to a cave and listen to Kyuss. Forever". NME. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.
  46. "Reanimation review". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  47. "Meteora overview". musicOMH.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-13. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  48. "Mike Shinoda interview". musicOMH.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-13. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  49. Chad Childers (2013-06-06). "No. 10: Linkin Park, 'Hybrid Theory' – Best Debut Hard Rock Albums". Loudwire.com. สืบค้นเมื่อ 2013-07-14.
  50. "Hybrid Theory's accolades". Acclaimed Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-16. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
  51. "Pazz & Jop Critics Poll of 2001". The Village Voice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
  52. "Classic Rock – The 100 Greatest Rock Albums of All-Time". สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
  53. "The Definitive 200". Rock and Roll Hall of Fame. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-13. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18.
  54. Dimery, Robert (February 7, 2006). "1001 Albums You Must Hear Before You Die". New York, NY: Universe. p. 910. ISBN 0-7893-1371-5.
  55. "A Selection of Lists from Record Collector Magazine". Rocklist.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18.
  56. "Les 150 Albums De La Génération". Acclaimed Music. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18.
  57. "Exclusive: Rock Sound's 101 Modern Classic Albums! | News | Rock Sound". Rocksound.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ 2012-06-24.
  58. [...], Rock Hard (Hrsg.). [Red.: Michael Rensen. Mitarb.: Götz Kühnemund] (2005). Best of Rock & Metal die 500 stärksten Scheiben aller Zeiten. Königswinter: Heel. p. 41. ISBN 3-89880-517-4.
  59. Emily 50 BEST ROCK ALBUMS OF THE 2000′S Kerrang October 8, 2014. October 20, 2014.
  60. http://www.discogs.com/Linkin-Park-Hybrid-Theory/release/4484533
  61. http://audioinkradio.com/2013/03/linkin-park-hybrid-theory-vinyl-record-store-day/
  62. http://lpcatalog.com/item/2000_hybrid-theory/vinyl/0093624947752_eu
  63. "Australiancharts.com – Linkin Park – Hybrid Theory". Hung Medien.
  64. "Austriancharts.at – Linkin Park – Hybrid Theory" (ภาษาเยอรมัน). Hung Medien.
  65. "Ultratop.be – Linkin Park – Hybrid Theory" (ภาษาดัตช์). Hung Medien.
  66. "Ultratop.be – Linkin Park – Hybrid Theory" (ภาษาฝรั่งเศส). Hung Medien.
  67. "Linkin Park Chart History (Canadian Albums)". Billboard.
  68. "Danishcharts.dk – Linkin Park – Hybrid Theory". Hung Medien.
  69. "Dutchcharts.nl – Linkin Park – Hybrid Theory" (ภาษาดัตช์). Hung Medien.
  70. "Lescharts.com – Linkin Park – Hybrid Theory". Hung Medien.
  71. "Linkin Park: Hybrid Theory" (ภาษาฟินแลนด์). Musiikkituottajat – IFPI Finland. สืบค้นเมื่อ 2013-08-31.
  72. "Longplay-Chartverfolgung at Musicline" (ภาษาเยอรมัน). Musicline.de. Phononet GmbH.
  73. Mahasz. "MAHASZ – Magyar Hanglemezkiadók Szövetsége". Mahasz. สืบค้นเมื่อ 2012-06-16.
  74. "Italiancharts.com – Linkin Park – Hybrid Theory". Hung Medien.
  75. "Charts.nz – Linkin Park – Hybrid Theory". Hung Medien.
  76. "Norwegiancharts.com – Linkin Park – Hybrid Theory". Hung Medien.
  77. "Swedishcharts.com – Linkin Park – Hybrid Theory". Hung Medien.
  78. "Swisscharts.com – Linkin Park – Hybrid Theory". Hung Medien.
  79. "Linkin Park | Artist | Official Charts". UK Albums Chart.
  80. "Linkin Park Chart History (Billboard 200)". Billboard.
  81. The first is the list of the best-selling domestic albums of 2001 in Finland, the second is that of the foreign albums:
  82. "Discos de oro y platino" (ภาษาสเปน). Cámara Argentina de Productores de Fonogramas y Videogramas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2011. สืบค้นเมื่อ April 17, 2020.
  83. "ARIA Charts – Accreditations – 2006 Albums" (PDF). Australian Recording Industry Association.
  84. "Austrian album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory" (ภาษาเยอรมัน). IFPI Austria.
  85. "Ultratop − Goud en Platina – albums 2008". Ultratop. Hung Medien.
  86. "Brazilian album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory" (ภาษาโปรตุเกส). Pro-Música Brasil.
  87. "Canadian album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory". Music Canada.
  88. "Danish album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory". IFPI Danmark. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018. Scroll through the page-list below until year 2018 to obtain certification.
  89. 89.0 89.1 "Linkin Park" (ภาษาฟินแลนด์). Musiikkituottajat – IFPI Finland.
  90. "Certifications Albums Platine - année 2006". Syndicat National de l'Édition Phonographique. Disque en France. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-30. สืบค้นเมื่อ October 23, 2019.
  91. "Gold-/Platin-Datenbank (Linkin Park; 'Hybrid Theory')" (ภาษาเยอรมัน). Bundesverband Musikindustrie. สืบค้นเมื่อ January 22, 2019.
  92. "Adatbázis – Arany- és platinalemezek – 2002" (ภาษาฮังการี). MAHASZ.
  93. "Italian album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory" (ภาษาอิตาลี). Federazione Industria Musicale Italiana. สืบค้นเมื่อ February 12, 2018. Select "Tutti gli anni" in the "Anno" drop-down menu. Select "Hybrid Theory" in the "Filtra" field. Select "Album e Compilation" under "Sezione".
  94. "Japanese album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ October 23, 2019. Select 2002年5月 on the drop-down menu
  95. "Certificaciones" (ภาษาสเปน). Asociación Mexicana de Productores de Fonogramas y Videogramas. Type Linkin Park in the box under the ARTISTA column heading and Hybrid Theory in the box under the TÍTULO column heading.
  96. "Dutch album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory" (ภาษาดัตช์). Nederlandse Vereniging van Producenten en Importeurs van beeld- en geluidsdragers. Enter Hybrid Theory in the "Artiest of titel" box.
  97. "New Zealand album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory". Recorded Music NZ.
  98. "Wyróżnienia – Platynowe płyty CD - Archiwum - Przyznane w 2002 roku" (ภาษาโปแลนด์). Polish Society of the Phonographic Industry.
  99. Salaverrie, Fernando (September 2005). Sólo éxitos: año a año, 1959–2002 (PDF) (ภาษาสเปน) (1st ed.). Madrid: Fundación Autor/SGAE. p. 965. ISBN 84-8048-639-2. สืบค้นเมื่อ 20 June 2019.
  100. "Guld- och Platinacertifikat − År 2001" (PDF) (ภาษาสวีเดน). IFPI Sweden. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-17.
  101. International Federation of the Phonographic Industry – Sweden (2001). "Swedish Certification for 2001" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ สิงหาคม 11, 2006. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2009.
  102. "The Official Swiss Charts and Music Community: Awards (Linkin Park; 'Hybrid Theory')". IFPI Switzerland. Hung Medien.
  103. Jones, Alan (26 May 2017). "Official Charts Analysis: Ed Sheeran back on top of the albums chart". Music Week. Intent Media. สืบค้นเมื่อ 26 May 2017.
  104. "British album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory". British Phonographic Industry. Select albums in the Format field. Select Platinum in the Certification field. Type Hybrid Theory in the "Search BPI Awards" field and then press Enter.
  105. Stutz, Colin (July 24, 2017). "Linkin Park's 'Hybrid Theory' Producer Calls Working With Chester Bennington a 'Dream Come True". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 26, 2017.
  106. "American album certifications – Linkin Park – Hybrid Theory". Recording Industry Association of America.
  107. "IFPI Platinum Europe Awards – 2009". International Federation of the Phonographic Industry. 2005-09-01. สืบค้นเมื่อ 2013-08-31.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]