โกร่งบดยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกร่งบดยา

โกร่งบดยา (อังกฤษ: mortar and pestle, ความหมาย: ครก และ สาก) โกร่งบดยาคือเครื่องมือที่เภสัชกรใช้บดยาและปรุงยาซึ่งประกอบด้วยตัวโกร่ง (mortar) และลูกบด (pestle) โดยทั่วไปโกร่งจะมีลักษณะเหมือนชามคอนข้างหนาปากกว้าง ภายในผิวเรียบมัน ส่วนใหญ่โกร่งบดยาจะทำด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน(porcelain) ใช้สำหรับใส่วัสดุที่จะบด ลูกบดมีลักษณะเป็นแท่งใช้สำหรับทุบและบดวัสดุที่ต้องการให้ละเอียดและผสมเข้ากันส่วนมากจะทำด้วยไม้ โกร่งจึงเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่ประจำร้านขายยาในเวลาต่อมา

โกร่งในภูมิภาคต่างๆ[แก้]

โดยทั่วไปจะใช้โกร่งในการทำครัวหรือปรุงอาหารซึ่งจะมีความหลากหลายตามภูมิภาคดังนี้

ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[แก้]

ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะใช้โกร่งในการทำครัวโดยเฉพาะการบดพริกหรือชาวบ้านเรียก"ตำน้ำพริก" จะใช้โกร่งที่ทำด้วยหินแกรนิต(Granite) ซึ่งมีการทำกันมากในภาคตะวันออกของไทยโดยเฉพาะที่อ่างศิลาจังหวัดชลบุรี

ประเทศญี่ปุ่น[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่นใช้ในการปรุงอาหารเช่นกันถ้ามีขนาดใหญ่จะทำด้วยไม้ (wooden mallets) ใช้สำหรับทำโมจิ โกร่งและลูกบดในขนาดปกติของญี่ปุ่นจะเรียกสุริบะชิ(suribachi) และสุริโกะงิ(surikogi)

ประเทศแถบอเมริกา[แก้]

ในประเทศแถบอเมริกาชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกาใช้โกร่งหินในการบดผลโอ๊กและเมล็ดของมัน