ยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หีบห่อยา

ยา ตามกฎหมายว่ายา หมายถึง (๑) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, (๓) วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือ (๔) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์

ทั้งนี้ยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์ ได้ตัดโอนไปอยู่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร

ประเภทของยา[แก้]

แบ่งตาม พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม[1]

  • ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่าปลอดภัยเพียงพอ หรือโอกาสเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีน้อย ให้วางจำหน่ายได้โดยทั่วไป และผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อด้วยตนเองตามอาการเจ็บป่วย โดยยาสามัญประจำบ้านได้นั้นต้องมีตำรับยา สรรพคุณ ขนาด วิธีใช้ คำเตือนการเก็บรักษา และขนาดบรรจุตามที่กำหนด เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยการกำหนดว่ายาใดจะเป็นยาสามัญประจำบ้าน จะดำเนินการประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยยาสามัญประจำบ้าน
  • ยาอันตราย เป็นยาที่ต้องขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันภายใต้การควบคุมและส่งมอบยาให้แก่ผู้บริโภคโดยเภสัชกรเท่านั้น โดยการกำหนดว่ายาใดจะเป็นยาอันตราย จะดำเนินการประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยยาอันตราย
  • ยาควบคุมพิเศษ เป็นยาที่เภสัชกรจะจ่ายได้ ก็ต่อเมื่อมีการนำใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาซื้อยา กลุ่มนี้เป็นยาที่มีความเป็นพิษภัยสูงหรืออาจก่ออันตรายต่อสุขภาพได้ง่าย จึงเป็นต้องมีการพิจารณาทวนสอบร่วมกันระหว่างวิชาชีพเวชกรรมและวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ยา โดยการกำหนดว่ายาใดจะเป็นยาควบคุมพิเศษ จะดำเนินการประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยยาควบคุมพิเศษ
  • ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ เป็นยาที่ต้องจำหน่ายในร้านขายยา โดยอาจจำหน่ายในร้านยา ประเภท ขย.1 หรือ ขย.2 ก็ได้ อย่างไรก็ดี ไม่ได้มีประกาศเฉพาะให้กำหนดเป็นยาในกลุ่มนี้ ยากลุ่มนี้จึงเป็นยาที่ไม่ได้มีประกาศเฉพาะให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน ยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษ

ประเภทสถานที่ด้านยา[แก้]

  1. สถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบัน
  2. สถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน
  3. สถานที่นำหรือสั่งยาแผนปัจจุบัน


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]