เส้นแบ่งเขตแดนไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติระหว่างไทย - ลาว

เส้นแบ่งเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเส้นสมมติที่กำหนดขึ้นโดยทำข้อตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบของหนังสือ สนธิสัญญา ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านนั้น ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย[1]

สำหรับจุดเริ่มต้นของการแบ่งเส้นเขตแดนนั้น เริ่มขึ้นหลังจากชาติตะวันตกเข้ามาปกครองประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศไทยในรูปแบบของอาณานิคม ทำให้ต้องมีการกำหนดเส้นแนวเขตเพื่อแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศอาณานิคมเหล่านั้นกับประเทศไทย[2] โดยประเทศไทยได้ทำหนังสือและสนธิสัญญากับประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2408 ถึงช่วง พ.ศ. 2489[1] โดยเมื่อประเทศอาณานิคมเหล่านั้นได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ ได้ถือเอาเส้นเขตแดนเหล่านั้นที่ประเทศเจ้าอาณานิคมได้เคยตกลงไว้กับประเทศไทย เป็นแนวพรมแดนสืบต่อมา[1]

สำหรับวิธีการกำหนดเขตแดนนั้นสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ ใช้วิธีการทางเรขาคณิต และใช้สภาพภูมิประเทศ[3]

การปักปันเขตแดน[แก้]

หลักเขตแดนไทย - มาเลเซีย หมายเลข 51

เนื่องจากการทำหนังสือและสนธิสัญญาในอดีตเป็นการกระทำในรูปแบบของอนาล็อก และการวาดกำหนดลงบนกระดาษ ทำให้เมื่อระยะเวลาผ่านไปแนวเขตและการแบ่งเส้นเหล่านั้นไม่มีความชัดเจน ปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาดำเนินการสำรวจและปักหลักเขตแดน (Demarcation) โดยการนำแผนที่และสนธิสัญญาที่เคยทำร่วมกันในอดีตมาตีความและพิจารณาถึงสิ่งที่ได้ให้การตกลงไว้ในอดีต หรือเรียกว่าตีความสนธิสัญญา (Interpretation of Treaties) ผ่านการประชุมคณะกรรมมาธิการเขตแดนร่วม[2] และลงพื้นที่สำรวจแนวเขตร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศไทยเป็นหน้าที่ของ กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย[2]

ปัจจุบันประเทศไทยยังคงดำเนินการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ตลอด[4] โดยประเทศไทยเคยมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างเขตแดนครั้งล่าสุดคือในระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2554 ในกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา เกี่ยวกับการตีความผลการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร ทำให้เกิดการใช้กำลังทหารปะทะกันตามแนวชายแดนจนเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งสองฝ่าย[5][6]

ประเภทของจุดผ่านแดน[แก้]

สำหรับประเทศไทย กำหนดประเภทของจุดผ่านและด่านพรมแดนในแต่ละพื้นที่ จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อหลักเขตแดนหรือสันปันน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านเขตแดนตามมาในภายหลัง โดยทั้ง 4 ประเภทนั้น[7] ประกอบไปด้วย

จุดผ่านแดนถาวร[แก้]

จุดผ่านแดนถาวรนั้น เป็นจุดผ่านแดนที่ผ่านการตกลงในระดับนโยบายของรัฐบาลของทั้งสองประเทศอย่างเป็นทางการ โดยเป็นไปตามหลักสากลในการเดินทางข้ามไปมาระหว่างกัน เพื่อประโยชน์ทั้งการสัญจรของบุคคล ยานพาหนะ และการค้าของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีปริมาณอย่างสม่ำเสมอ มีศักยภาพเพียงพอด้านการคมนาคมในทั้งสองประเทศในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะเป็นไปเพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างเมืองหลักของทั้งสองประเทศ ซึ่งรวมไปถึงการเดินทางเข้าออกของบุคคลจากประเทศที่สาม

จุดผ่านแดนชั่วคราว[แก้]

จุดผ่านแดนชั่วคราว เป็นจุดที่มีการเปิดเฉพาะกิจเพื่อเหตุจำเป็นต่าง ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงการค้าและเศรษฐกิจเป็นหลัก และพื้นที่ดังกล่าวไม่มีจุดผ่านแดนประเภทอื่น ๆ อยู่ใกล้เคียงกัน

โดยกรณีสำหรับการเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวมีหลายกรณี[8] อาทิ

  • เป็นจุดผ่านแดนชั่วราวเพื่อการท่องเที่ยว คือด่านพระเจดีย์สามองค์[9] และช่องทางขึ้นเขาพระวิหาร (ไม่สามารถเดินทางได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551)[10]
  • เป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการก่อสร้างสะพานระหว่างประเทศ ซึ่งต้องทำงานร่วมกันระหว่างประเทศในการก่อสร้าง[11]

จุดผ่อนปรนการค้า[แก้]

จุดผ่อนปรนการค้า เป็นจุดที่เปิดเพื่อจุดประสงค์ในด้านการค้าและเศรษฐกิจโดยเฉพาะ โดยจะต้องมีความจำเป็นต่อประชาชนในพื้นที่ชายแดนในบริเวณดังกล่าวทั้งสองประเทศ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ของประชาชนทั้งสองประเทศ[12]

จุดผ่อนปรนพิเศษ[แก้]

จุดผ่อนปรนพิเศษ เป็นจุดที่ต้องผ่านการตกลงในระดับนโยบายของรัฐบาลของทั้งสองประเทศเช่นเดียวกัน แต่บริเวณนั้นยังไม่มีศัยกภาพมากพอที่จะเปิดจุดผ่านแดนถาวรได้ โดยกำหนดเงื่อนไขเป็นรายกรณีพิเศษภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายของทั้งสองประเทศรองรับซึ่งไม่จำเป็นต้องครบถ้วนแบบเดียวกับจุดผ่านแดนถาวร เพื่อไม่ให้เสียประโยชน์และโอกาสของประเทศที่จะได้รับระหว่างดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดจุดผ่านแดนถาวรในอนาคต ปัจจุบันมีเพียงแค่แห่งเดียวคือด่านสิงขร

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - พม่า[แก้]

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - พม่ามีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 2,401 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเภท เส้นเขตแดน ความยาว (กม.) จังหวัด ด่านพรมแดน
1 ร่องน้ำลึก แม่น้ำรวก 59 เชียงราย
แม่น้ำสาย จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย
จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย 2
สะพานข้ามแม่น้ำสาย 1
สะพานข้ามแม่น้ำสาย 2
2 สันปันน้ำ ทิวเขาแดนลาว 632 เชียงราย
เชียงใหม่
แม่ฮ่องสอน
ทิวเขาถนนธงชัยเหนือ
ทิวเขาถนนธงชัยตะวันตก
3 แนว 2 ฝั่ง แม่น้ำสาละวิน 127 แม่ฮ่องสอน
4 แนว 2 ฝั่ง แม่น้ำเมย 345 ตาก จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย
สะพานมิตรภาพไทย–พม่า 1
สะพานมิตรภาพไทย–พม่า 2
ห้วยวาเลย์ 44
5 สันปันน้ำ ทิวเขาถนนธงชัยกลาง 127 ตาก
กาญจนบุรี
แนวเส้นตรง 63
6 สันปันน้ำ ทิวเขาตะนาวศรี 865 กาญจนบุรี จุดผ่านแดนถาวรพุน้ำร้อน
จุดผ่อนปรนทางการค้าด่านพระเจดีย์สามองค์
ราชบุรี
เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ จุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร
ชุมพร
ระนอง
7 ร่องน้ำลึก คลองกระ 139 ระนอง
แม่น้ำกระบุรี จุดผ่านแดนถาวรระนอง
รวม 2,401

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - ลาว[แก้]

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - ลาวมีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 1,810 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเภท เส้นเขตแดน ความยาว (กม.) จังหวัด ด่านพรมแดน
1 ร่องน้ำลึก แม่น้ำโขง 97 เชียงราย จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ (เชียงแสน-ต้นผึ้ง)
จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
2 สันปันน้ำ ทิวเขาหลวงพระบาง 505 เชียงราย
พะเยา
น่าน จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น (ห้วยโก๋น - น้ำเงิน)
อุตรดิตถ์ จุดผ่านแดนถาวรภูดู่[13]
พิษณุโลก
3 ร่องน้ำลึก แม่น้ำเหืองงา 19 พิษณุโลก
4 ร่องน้ำลึก แม่น้ำเหือง 134 เลย จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหือง
สะพานมิตรภาพน้ำเหือง (ท่าลี่–แก่นท้าว)
จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากห้วย (ท่าลี่-แก่นท้าว)
5 ร่องน้ำลึก แม่น้ำโขง 858 เลย จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงคาน (เชียงคาน-สานะคาม)
จุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่ (ปากชม-สานะคาม)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 7 (เลย–แขวงเวียงจันทน์) (โครงการ)
หนองคาย สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)
จุดผ่านแดนถาวรท่าเสด็จ (ยกเลิกแล้ว)[14]
บึงกาฬ จุดผ่านแดนถาวรบ้านบึงกาฬ (บึงกาฬ-ปากซัน)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ) (โครงการ)
นครพนม จุดผ่านแดนถาวรท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองนครพนม
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)
มุกดาหาร จุดผ่านแดนถาวรอำเภอเมืองมุกดาหาร
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)
อำนาจเจริญ
อุบลราชธานี จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากแซง (นาตาล-ละคอนเพ็ง)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง) (โครงการ)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 8 (อุบลราชธานี–จำปาศักดิ์) (โครงการ)
6 สันปันน้ำ ทิวเขาพนมดงรัก 197 อุบลราชธานี จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก
รวม 1,810

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - กัมพูชา[แก้]

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - กัมพูชามีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 798 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเภท เส้นเขตแดน ความยาว (กม.) จังหวัด ด่านพรมแดน
1 สันปันน้ำ
แนวหลักเขตประเทศ
ทิวเขาพนมดงรัก 364 อุบลราชธานี
ศรีสะเกษ จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ
สุรินทร์ จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม
บุรีรัมย์ จุดผ่อนปรนช่องสายตะกู
2 ลำน้ำสายต่างๆ คลองบะอาว 216 สระแก้ว
คลองแผง
แนวเส้นตรง
คลองละลมละสือ
คลองลึก จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก
สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (อรัญประเทศ–ปอยเปต)
คลองพรมโหด สะพานมิตรภาพไทย–กัมพูชา (บ้านหนองเอี่ยน–สตึงบท)
คลองน้ำใส[15] จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน
คลองด่าน จันทบุรี จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม
จุดผ่อนปรนบ้านซับตารี
จุดผ่อนปรนบ้านสวนส้ม
แนวเส้นตรง จุดผ่อนปรนบ้านบึงชะนังล่าง
คลองโป่งน้ำร้อน
คลองตะเคียน จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด
ทิวเขาพนมคอสวาย
ห้วยสวาย
แม่น้ำไพลิน
3 สันปันน้ำ ทิวเขาบรรทัด 160 ตราด จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก
4 แนวเส้นตรง - 1 ตราด
รวม 798

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - มาเลเซีย[แก้]

เส้นแบ่งเขตแดนไทย - มาเลเซียมีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 647 กิโลเมตร[1] ซึ่งประกอบไปด้วย

ลำดับ ประเภท เส้นเขตแดน ความยาว (กม.) จังหวัด ด่านพรมแดน
1 สันปันน้ำ ทิวเขาสันกาลาคีรี 552 สตูล ด่านวังประจัน
สงขลา ด่านปาดังเบซาร์
ด่านสะเดา
ยะลา ด่านเบตง
นราธิวาส ด่านสุไหง-โกลก
2 ร่องน้ำลึก แม่น้ำโก-ลก 95 นราธิวาส สะพานมิตรภาพไทย–มาเลเซีย 1
สะพานมิตรภาพไทย–มาเลเซีย 2
รวม 647

ข้อพิพาทเขตแดน[แก้]

ประเทศไทยกับกัมพูชาเคยพิพาทกันเรื่องเขตแดนเนื่องจากยึดถือเอกสารคนละฉบับ นำไปสู่คดีปราสาทพระวิหาร และกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา ช่วงปี 2551–2554

ประเทศไทยกับลาวเคยพิพาทกันเรื่องเขตแดนนำไปสู่สมรภูมิบ้านร่มเกล้า

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". www.saranukromthai.or.th.
  2. 2.0 2.1 2.2 "เจาะลึกภารกิจงานด้านเขตแดนไทย เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง 'แม่น้ำโขง' พรมแดนไทย-ลาว". The Cloud. 2021-07-15.
  3. appsthailand. "ข้อมูลเขตแดน". treaties.mfa.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-19. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
  4. "การประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างกรมสนธิสัญญาและกฎหมายและหัวหน้าห้องการคณะกรรมการชายแดนแห่งชาติ สปป. ลาว". กระทรวงการต่างประเทศ.
  5. "ย้อนรอยศึก 'เขาพระวิหาร' สงครามสุดท้ายไทย-เขมร!?!". www.thairath.co.th. 2015-02-06.
  6. "แฉไทยซัดเขมร ตาย 64 รถถังพังนับสิบ". www.thairath.co.th. 2011-02-06.
  7. "หลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติในการพิจารณาการเปิด - ระงับหรือปิดจุดผ่านแดนประเภทต่าง". ryt9.com.
  8. "ข้อมูลช่องทางผ่านแดนและความตกลงเรื่องการสัญจรข้ามแดน". www.fad.moi.go.th.
  9. "ด่านเจดีย์สามองค์วุ่นอีก! ม็อบเมียนมา ประท้วงคดีเกาะเต่าประชิดหน้าด่าน". www.thairath.co.th. 2015-12-28.
  10. อาณาเขตชายแดนจังหวัดศรีสะเกษที่ติดกับกัมพูชา เก็บถาวร 2016-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (sisaket.go.th)
  11. "ครม. รับทราบเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5". www.thairath.co.th. 2022-04-05.
  12. "ค้าชายแดนและค้าผ่านแดนไตรมาสแรกสดใส โตกว่า 19.31%". bangkokbiznews. 2021-05-03.
  13. "จุดผ่านแดนถาวรภูดู่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  14. ตลาดท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย
  15. "แม่ทัพภาค 1 ดูความพร้อมจุดผ่อนปรนบ้านเขาดิน ก่อนผลักดันเป็นด่านถาวรแห่งที่ 2 ของสระแก้ว". mgronline.com. 2017-05-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]